ปัจจัยที่กำหนดการสมรส
Determinants of Marriage
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรุณี ปัญญสวัสดิ์สุทธิ์
ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Asst. Professor Arunee Punyasavatsut (Ph.D.)์
Department of Economics, Faculty of Economics, Kasetsart University
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการสมรสของประชากรไทยเพศชายและเพศหญิงแยกกัน โดยใช้ข้อมูลซึ่งรวบรวมจากรายงานการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนของสำนักงานสถิติแห่งชาติ และหน่วยงานอื่นๆ ของภาครัฐบาล โดยข้อมูลมีลักษณะเป็นข้อมูลพาแนลของ 77 จังหวัด ระหว่าง พ.ศ. 2556–2559 ทั้งนี้ ปัจจัยที่คาดว่าจะมีผลกระทบต่ออัตราการสมรส ได้แก่ (1) ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ คือ อัตราส่วนเพศ (2) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจส่วนบุคคล ได้แก่ ค่าจ้าง และระดับการศึกษา (3) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคม ได้แก่ สัดส่วนของอัตราการว่างงานในเพศชายต่อเพศหญิง และสัดส่วนคนจน และ (4) ปัจจัยด้านสาธารณสุข ได้แก่ สุขภาพจิต (วัดจากอัตราผู้ป่วยโรคซึมเศร้า) สุขภาพกาย (วัดจากอัตราผู้พิการ) และภาวะอ้วนลงพุง ผลการคาดประมาณสมการปัจจัยที่กำหนดอัตราการสมรสของเพศชาย พบว่า ค่าจ้างของเพศชาย ระดับการศึกษาของเพศชาย อัตราการว่างงานโดยเปรียบเทียบของทั้งสองเพศ อัตราผู้ป่วยโรคซึมเศร้า และความแตกต่างของท้องถิ่น (ผู้ชายในจังหวัดทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอัตราการสมรสสูงกว่าภาคกลาง) มีผลกระทบต่ออัตราการสมรสของเพศชาย โดยที่ทิศทางของผลกระทบเป็นไปตามสมมติฐานทุกปัจจัย ยกเว้นอัตราผู้ป่วยโรคซึมเศร้าซึ่งผลการคาดประมาณตรงข้ามกับสมมติฐาน เนื่องจากข้อจำกัดในการรวบรวมข้อมูล ส่วนปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่ออัตราการสมรสของเพศหญิง ได้แก่ อัตราส่วนเพศ อัตราการว่างงานโดยเปรียบเทียบ อัตราผู้ป่วยโรคซึมเศร้า และความแตกต่างของท้องถิ่น (ผู้หญิงในจังหวัดทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอัตราการสมรสสูงกว่าภาคกลาง) โดยที่ทิศทางของผลกระทบเป็นไปตามสมมติฐานทุกปัจจัย ยกเว้นอัตราผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเช่นเดียวกัน
คำสำคัญ : การสมรส, ทฤษฎีการสมรส, กลุ่มอาการอ้วนลงพุง, ข้อมูลพาแนล
|
Abstract
The objective of this research is to study the determinants of marriage of Thai population, male and female separately. The study employs the data from the Socio-Economic Surveys by The National Statistical Office and other state departments. It is a panel data set of 77 provinces during 2013–2016. The factors that are hypothesized to affect the marriage rates are categorized as follows: (1) demographic factor, i.e., sex ratio; (2) individual economic status, i.e., wage and education; (3) socioeconomic factors, i.e., relative unemployment rate of male to female and poverty incidence; and (4) health factors, i.e., mental health, which is measured by percentages of depressive disorder patients, physical health, which is approximated by percentages of disables, and patients suffering from metabolic syndrome. The estimation results show that male wage rate, male education, relative unemployment rate, percentages of depressive disorder patients, and regional dummy variables affect male marriage rate. The North and Northeast regions male marriage rates are higher than Central region. The directions of effects of all independent variables, except depressive disorder patient factor, are as hypothesized. In case of the depressive disorder patient factor, the complete data are not available. In case of the determinants of female marriage rate, it is found that sex ratio, relative unemployment rate, percentages of depressive disorder patients, and regional dummy variables affect female marriage rate. The North and Northeast regions female marriage rates are higher than Central region. The directions of their effects, except those of depressive disorder patient factor, are as hypothesized.
Keywords:
Marriage, Theory of Marriage, Metabolic Syndrome, Panel Data
-----------------------------------------
Corresponding Author E-mail : fecoand@ku.ac.th |