 |
|
วารสาร HR Intelligence
วารสาร HR Intelligence ฉบับนี้เป็นวารสารปีที่ 17 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน พ.ศ. 2565) ซึ่งผมในฐานะบรรณาธิการได้เข้ามาปฏิบัติหน้าที่เป็นฉบับที่ 3 และเป็นฉบับสุดท้ายด้วยไม่สามารถปฏิบัติงานได้เต็มเวลาโดยจะมีบรรณาธิการท่านใหม่เข้ามารับผิดชอบต่อในฉบับต่อไป ฉบับนี้มีบทความวิจัยและบทความวิชาการรวม 7 บทความที่ผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิให้ผ่านเกณฑ์คุณภาพวิชาการเพื่อใช้ในการเผยแพร่ได้ ดูราวกับว่าสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา (Covid-19) ทั่วโลกที่เราเผชิญอยู่มาตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2562 จนถึงปัจจุบันเริ่มคลี่คลาย หลายประเทศมีมาตรการผ่อนปรนรวมถึงประเทศไทยในเดือนหน้าเริ่มให้ใส่หน้ากากโดยสมัครใจ ร้านอาหารเปิดขายสุราได้ถึงดึกดื่น เป็นต้น หวังใจว่าเราจะได้ใช้ชีวิตตามปกติแต่เป็นชีวิตตามปกติใหม่ที่ต้องปรับตัวและป้องกันเตรียมรับมือการระบาดซ้ำหรือการอุบัติขึ้นมาใหม่ของโรคอื่น ๆ ที่ไม่ทราบว่าจะมาอีกเมื่อไรและรุนแรงแค่ไหน |
 |
|
counter
|
|

|
|
วารสาร HR intelligence ปีที่ 17 ฉบับที่ 1
(มกราคม – มิถุนายน 65)
บทความวิจัย
• การสำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ต่อแผนการบริหารจัดการวัคซีน
โควิด-19 ของภาครัฐ
ณัฐวุฒิ ตินทุกะสิริ
• ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อบ้านจัดสรรในเขตกรุงเทพมหานครในช่วงสถานการณ์ การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19
นัฐกมล บุญแก้ว
บทความวิชาการ
• การสนทนากลุ่มแบบออนไลน์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19
ศาสตราจารย์ (พิศิษฐ์) ดร.จำเนียร จวงตระกูล,
รองศาสตราจารย์รัญจวน ประวัติเมือง,
รองศาสตราจารย์ ดร. กล้าหาญ ณ น่าน,
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ลัดดาวัลย์ สำราญ,
พิบูลย์ ธาระพุทธิ, สุมณฑา ตันวงศ์วาล,
ดร.สุเนตร มีนสุข, ดร.บวรนันท์ ทองกัลยา
• เกินกว่า 80 ปีแล้วที่มีการใช้วงจรคุณภาพพีดีซีเอ ในระบบการผลิตสินค้าและการบริการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทรงพลธนฤทธ์ มฤครัฐอินแปลง
• วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจย้ายประเทศของกลุ่มคนรุ่นใหม่ กรณีศึกษา
กลุ่มเฟซบุ๊กโยกย้ายมาส่ายสะโพกโยกย้าย
นันทิดา ไชยพงค์, ศุภกร มาเม้า,
กนกพร โพธิ์พล, กันต์ณัฏฐา กาญจนะ,
กานต์พิชชา อินทร์อรัฏญ, ณัฏฐา ปิยมาตย์,
ธีรภัทร แก้วคนฑา, ภูษิต ภูมีคำ
• พัฒนาการโครงสร้างการบริหารองค์กรตำรวจไทยในระหว่าง พ.ศ. 2535 – 2564
ดร.ชัยยุทธ ถาวรานุรักษ์
• ความท้าทายใหม่ของการจัดการทุนมนุษย์ภาครัฐจากวิถีชีวิตใหม่สู่วิถีชีวิตถัดไปภายหลัง สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
รองศาสตราจารย์ ดร.กมลพร สอนศรี,
สิทธิศักดิ์ ไชยสุข
|
|