วารสาร HRintelligence ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2549

  การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศและการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศไทย
  รศ.ดร.สมชาย สุขสิริเสรีกุล

บทคัดย่อ
          การวิจัยนี้ ได้ศึกษาผลของทรัพยากรมนุษย์ด้านการศึกษา ที่มีต่อความสามารถในการแข่งขันและการเติบโตของหน่วยธุรกิจในประเทศไทย โดยใช้วิธี Labor Productivity and Cost of Production criterion แบบจำลองความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศกำหนดว่าหากหน่วยธุรกิจมีความสามารถในการแข่งขันแล้ว ส่วนต่างระหว่างราคาผลผลิตและต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต้องมีค่ามากกว่าศูนย์ และหากหน่วยธุรกิจมีการเติบฌตแล้ว รายรับต้องเพิ่มสูงขึ้น การวัดทรัพยากรมนุษย์ด้านการศึกษาประกอบด้วยตัวแปร 2 กลุ่ม คือ ระดับการศึกษาของบุคลากรและประเภทการศึกษาของบุคลากร
          การสำรวจข้อมูลสุ่มตัวอย่าง 917 หน่วยธุรกิจ (ร้อยละ 15) จาก 11 อุตสาหกรรม หน่วยธุรกิจตัวอย่างได้ให้ความร่วมมือตอบแบบสอบถามคิดเป็นร้อยละ 10 ผลการศึกษาพบว่า การเพิ่มบุคลากรที่มีการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ร้อยละ 1 เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันร้อยละ 1 ในทางตรงกันข้าม การเพิ่มขึ้นบุคลากรที่มีการศึกษาระดับอื่นทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันมากที่สุด (ร้อยละ 1.72) ตามด้วยประเภทวิทยาศาสตร์กายภาพและเทคโนโลยี (ร้อยละ 0.47) ประเภทมนุษย์ศาสตร์ (ร้อยละ 0.35) และประเภทวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (ร้อยละ 0.11)
          หากให้สัดส่วนบุคลากรแต่ละระดับการศึกษา เพิ่มร้อยละ 1 การเพิ่มของบุคลากรที่มีการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรีทำให้รายรับเพิ่มขึ้นสูงสุด (ร้อยละ 15.07) ตามด้วยระดับอาชีวศึกษา (ร้ยละ 2.51) ระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 1.77) ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 (ร้อยละ 1.24) ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 และต่ำกว่า (ร้อยละ 0.08) หากให้สัดส่วนบุคลากรแต่ละประเภทเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 การเพิ่มขึ้นของบุคลากรที่มีการศึกษาประเภทสังคมศาสตร์เพิ่มรายรับมากที่สุด (ร้อยละ 3.44) ตามด้วยประเภทวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (ร้อยละ 3.38) ประเภทวิทยาศาสตร์กายภาพและเทคโนโลยี (ร้อยละ 1.48) และประเภทมนุษย์ศาสตร์ (ร้อยละ 0.77)

Abstract
            The aim of this study is to examine the effects of human resources development by means of education of Thai firms’ competitiveness and growth. The Labor Productivity and Cost of Production criterion is employed to form a model, postulating that if a firm has competitiveness, the difference between the prices of their products and the costs should be positive. Similarly, if a firm grows, its revenue should increase. The anylysis investigates the education of firms’ employees on two aspects: 5 educational levels and 4 types of education.
            A sample of 917 firms (11% of the total) from 11 industries was randomly selected. The survey could collect a complete set of data required from 10% of the sample. The findings indicate that competitiveness can be enhanced by increasing employees with vocational education and those with upper secondary education. An additional 1% of each employee group results in 1% higher in firms’ competitiveness. More employees with other educational levels, on the contrary, lower firms’ competitiveness. Given that a further 1% of employees with each type of education is hired, those with social science enhance firms’ competitiveness most (1.72%), followed by those with physical science and technology (0.47%) and those with humanity (0.35%). The rise of those with biological science reduces firms’ competitiveness by 0.11%
            A 1% increase in employees with post-graduate level enlarges firms’ revenue most (15.07%), followed by those with vocational education (2.51%), those with Bachelor’s degree (1.77%), those with upper secondary education (1.24%) and those with lower secondary education or less (0.08%). Firms gain maximum revenues by hiring more employees with social science and least by doing so for employees with humanity. The revenue growths are 3.44%, 3.38%, 1.48% and 0.77% due to employing 1% of employees with social science, those with biological science, those with physical science and techology, and those with humanity; respectively.