วารสาร HRintelligence ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 กรกฏาคม – ธันวาคม 2549

  การศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตกรทำงานของแรงงานนอกระบบ : ศึกษาเฉพาะกรณีผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้าง และผู้ค้าขายตลาดนัดในเขตกรุงเทพมหานคร
  Study on the Development of Quality of Working Life of Informal Labour: Case Studies of Motorcycle Drivers and Temporary Market Vendors

  วิจิตร ระวิวงศ์, สมบุญ ยมนา, สมศักดิ์ นัคลาจารย์, กัลยา ไทยวงษ์, นัทธมน แก้วไทย

บทคัดย่อ
          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกาข้อมูล เกี่ยวกับคุณภาพชีวิตการทำงานของแรงงานนอกระบบ 2 กลุ่มคือ ผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้างซึ่งจัดอยู่ในประเภทแรงงานนอกระบบภาคบริการขนส่งและกลุ่มผู้ประกอบการค้าขายตลาดนัดในเขต กทม. ซึ่งจัดอยู่ในประเภทแรงงานนอกระบบภาคการค้าขายรายย่อย ที่มีลักษณะการทำงานแตกต่างกัน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการพิจารณาให้ความคุ้มครองโดยมีกฎหมายรองรับต่อไป วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพชีวิตการทำงานใช้สถิติบรรยาย (Descriptive Statistics) ส่วนการวัดระดับคุณภาพชีวิตของทั้งสองกลุ่มใช้แบบวัดคุณภาพชีวิตที่มีการทดสอบคุณภาพแล้ว
          ผลการวิจัยพบว่า ผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้างเป็นอาชีพที่ทำงานหนัก มีความมั่นคงทางอาชีพพอสมควร รายได้เหลือเก็บบ้างเล็กน้อย มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุสูง มีปัญหาเรื่องสถานที่ประกอบอาชีพ ส่วนใหญ่ขาดความสนใจด้านสุขภาพไม่ออกกำลังกาย ดื่มสุราสูบบุหรี่ประจำ มีโรคประจำตัวด้านระบบทางเดินหายใจและตาต้อ ส่วนผู้ค้าขายตลาดนัดเป็นอาชีพที่ใช้ทุนประกอบอาชีพสูงกว่า รายได้ดี มีเงินออม มีปัญหาเรื่องสถานที่ค้าขายบ้าง ไม่มีการตรวจสุขภาพ ไม่ออกกำลังกาย มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับความดันโลหิตและเบาหวาน การประเมินคุณภาพชีวิตและคุณภาพชีวิตการทำงานจากแบบวัดพบว่า ผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้างเป็นกลุ่มที่มีคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต ระดับปานกลางจนถึงค่อนข้างดีกว่ากลุ่มผู้ค้าขายตลาดนัดเล็กน้อย ในด้านชีวิตครอบครัวและด้านชีวิตการทำงานทั้งสองกลุ่มไม่มีปัญหาเพราะอยู่ในระดับปานกลางและระดับดีใกล้เคียงกัน ส่วนด้านที่น่าเป็นห่วงในระดับไม่ดีค่อนข้างสูงทั้งสองกลุ่ม คือด้านความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รองลงมาคือ ด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย
          ในส่วนของความเห็นที่มีต่อการประกันสังคม สำหรับแรงงานนอกระบบ ซึ่งผู้วิจัยเชื่อว่าจะช่วยให้แรงงานนอกระบบมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น พบว่าเกือบร้อยละ 90 ของทั้งสองกลุ่มต้องการให้มีการประกันสังคมสำหรับกลุ่มตน และพร้อมที่จะจ่ายเงินสมทบ โดยส่วนใหญ่มีความสามารถในการจ่ายเงินสมทบระหว่าง 100-150 บาทต่อเดือน และต้องการความคุ้มครองทุกกรณีเช่นเดียวกับแรงงานในระบบ โดยทั้งสองกลุ่มต้องการความคุ้มครองกรณีเจ็บป่วย หรือประสบอันตรายเป็นลำดับแรก
          ข้อเสนอแนะจากการวิจัยต่อกรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้แก่การจัดระเบียบตลาดนัดอย่างเป็นระบบ เพื่อดูแลมาตรฐานความสะอาด การป้องกันไม่ให้มีการรีดไถทั้งผู้ค้าขายตลาดนัดและผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้าง การส่งเสริมความปลอดภัยในการประกอบอาชีพ การให้บริการตรวจสุขภาพประจำปี การให้ความรู้ด้านอาชีวอนามัย ตลอดจนการสร้างแรงจูงใจให้แรงงานนอกระบบทำประกันชีวิต ประกันอุบัติเหตุ เพื่อสร้างหลักประกันแก่ตนเองและครอบครัว สำนักงานประกันสังคมควรเร่งรัดให้มีการประกันสังคมกับแรงงานนอกระบบโดยพิจารณาเงื่อนไขให้เหมาะสมกับลักษณะเฉพาะของกลุ่มนี้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ควรผนวกแรงงานนอกระบบต่างๆ ให้อยู่ในกลุ่มเป้าหมายของการดูแลเรื่องของสุขภาพ กระทรวงแรงงาน ควรส่งเสริมการรวมกลุ่มของแรงงานนอกระบบเพื่อพัฒนาตนเองและพิทักษ์สิทธิ รวมทั้งรัฐบาลควรให้ความสำคัญกับการให้บริการด้านที่อยู่อาศัย และเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อการประกอบอาชีพ

Abstract
            The study aims at assessing the quality of working life of two groups of informal labour namely motorcycle drivers which represent service sector and temporary market vendors which represent minor trade sector whose working characteristics are totally different to provided information for future labour protection plan. Descriptive statistics are applied for data analysis of quality of working life of both groups, while a tested measurement formula is applied for the measurement of their quality of life.
            The study finds that motorcycle drivers fairly have occupational security, while they have high accident risks and some trouble with the occupational site. Most of them are not interested in physical examination or exercise, instead they are regular drinkers and smokers. Their particular diseases are found to be mainly breathing disorder and eyes diseases. The temporary market vendors work less hours, have good income and savings with some problems with their occupational site. Similarly to the motorcycle drivers, th temporary market vendors are not health conscious. Their particular diseases are mainly hypertension and diabetes. The assessment of quality of life finds that motorcycle drivers’ physical and mental health are at a fair level and are slightly better than the temporary market vendors. As for the quality of family and working life, both groups comparatively are fairly good, while the most concernable aspects are economic security, followed by physical environment and safety.
            As for the opinions on social security for informal labour which the researchers believe would contribute to better quality of life, it is found that almost 90 percent of both groups are in favor of being covered by the system and the mojority of them are capable to pay for contribution at 100-150 baht permonth. The groups want to have the same coverage as those for formal labour with first priority for sickness or injury.
            The study recommends that the Bangkok Metropolis Administration (BMA) should systematically set standard and orderliness for temporary markets in the areas, prevent both the vendors and motorcycle drivers from being fleeced by corrupted authorities, provide free annual physical examination and motorcycle drivers from being fleeced by corrupted authorities, provide free annual physical examination and knowledge on occupational safety, motivate informal labour to buy life and accident insurance for the benefits of themselves and their families. The Social Security Office should speed up Social Security Scheme for Informal Labour, while the National Health Insurance Office should include various groups of informal labour as its targets. The Ministry of Labour should encourage group formation of informal labour for their rights protection and self-development, and the Government should consider providing them with housing and occupational soft loan.