วารสาร HRintelligence ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 กรกฏาคม – ธันวาคม 2549

  วิธีคิดของผู้สูงอายุและภาพลักษณ์ของการเป็นผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จ : ศึกษากรณีศูนย์บริการผู้สูงอายุบ้านปิยะมาลย์ จังหวัดเชียงใหม่
  เพื่อนใจ รัตตากร

บทคัดย่อ
          การศึกษาวิธีคิดของผู้สูงอายุ และภาพลักษณ์ของการเป็นผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมองตนเอง การให้ความหมายของ “ผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จ” และเพื่อศึกษาเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องตามทัศนะของผู้สูงอายุ โดยการศึกษาเชิงคุณภาพทั้งการสัมภาษณ์เจาะลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และเรื่องเล่าเกี่ยวกับวิถีชีวิตจากผู้สูงอายุสมาชิกศูนย์บริการผู้สูงอายุบ้านปิยะมาลย์จำนวน 19 คน (ชาย 9 หญิง 10 คน) ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2548 ถึงเดือนมกราคม 2549 ผลการศึกษาสะท้อนว่าวิธีคิดของผู้สูงอายุยึดโยงอยู่กับวิถีการดำเนินชีวิตเพื่อนำไปสู่เป้าหมาย ประสบการณ์ของผู้สูงอายุหลากหลายตามบริบทวัฒนธรรม วิถีชีวิตที่ผู้สูงอายุออกแบบเอื้อให้มีการปฏิบัติตนเหมาะสม และใช้เป็นเครื่องนำทางไปสู่การเป็นผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จ การให้ความหมายของ “ผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จ” จึงเป็นกระบวนการคิดของผู้สูงอายุที่ผ่านประสบการณ์ชีวิตมายาวนาน ผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จจะต้องปรับเปลี่ยนบทบาทหน้าที่ให้เหมาะสมกับศักยภาพที่มีความต้องการเพื่อตนเองเปลี่ยนไปเป็นความต้องการเห็นความสำเร็จของผู้ใกล้ชิดหรือช่วยเหลือผู้อื่น ผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จจะต้องมีสุขภาพดี พึ่งตนเองได้ ตระหนักถึงคุณภาพชีวิตที่ดี มีความเชื่อและศรัทธาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว ยึดถือศีลธรรมเคร่งครัด เป็นผู้นำทางความคิด ทำงานเพื่อชุมชน ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม ซึ่งเงื่อนไขที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สุขภาพ ความมั่นคงในชีวิต การยอมรับจากสังคม การมีพื้นที่ทางสังคมที่ช่วยให้เกิดระบบคุณค่าส่วนบุคคลและแสดงถึงความมีตัวตนของผู้สูงอายุ

Abstract
            The purpose of this research was to study the ways of thinking of the elderly about their self-image; to explain how to define “successful aging” ; and to study key conditions for supporting or impeding successful aging from the elderly’s perspective. Using qualitative research methods (in=depth interview, participant  observation, narrative) in 19 elderly (9 men and 10 women) from piyamal elderly center from October 2005 to January 2006. The results showed that the way of thinking linked to the individual ways of life and leads to the ultimate goal. The elderly’s experiences were diversified by cultural contexts, so their ways of life, which they designed, suitable to be age successfully. “Successful aging” is a thinking process through life-time experiences. Successful elders have to readjust their roles that is suitable for their existing competency. Their needs or to help others rather than themselves. “Successful aging” requires healthiness, self-dependency, awareness of quality of life, having belief and devotion to lead the life, strictly adhere to morality, being a thought leader, working for community to be virtue and benefit for common. The influencing factors are physical and mental health, security in life course, social acceptance, and social sphere to create self-value and promote “self” of elders.