วารสาร HRintelligence ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 กรกฏาคม – ธันวาคม 2549

  สมรรถนะการปฏิบัติงานของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน : ศึกษากรณีเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดสงขลา
  Job Competency of Basic Educational Institution Board: Case Study in Songkhla Educational Service Area

  พีรศักดิ์ รัตนะ

บทคัดย่อ
          การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะการปฏิบัติงานของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนที่มีผลการปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน ตลอดจนศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับสมรรถนะในการปฏิบัติงาน และเพื่อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้การสัมภาษณ์กลุ่มคณะกรรมการฯ ของโรงเรียนที่มีผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก 4 แห่ง โรงเรียนที่มีผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับน้อย 3 แห่ง ผลการวิจัยพบว่า คณะกรรมการฯ ทั้งสองกลุ่มมีสมรรถนะด้านความรู้ ทักษะ และทัศนคติแตกต่างกันโดยคณะกรรมการฯ ของโรงเรียนที่มีผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก มีสมรรถนะในการปฏิบัติงานในทุกด้านส่วนคณะกรรมการฯ ของโรงเรียนที่มีผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับน้อย มีสมรรถนะในการปฏิบัติงานในด้านความรู้ที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรสถานศึกษา ระบบงบประมาณของโรงเรียน ระบบบริหารการบริหารงานบุคคล นโยบายและแผนการศึกษาการส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนและการสร้างความสัมพันธ์กับสถาบันอื่น แต่มีสมรรถนะด้านความรู้น้อยในส่วนของกระบวนการจัดการเรียนรู้ โดยเฉพาะการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การประกันคุณภาพการศึกษา ระบบบริหารการเงินและการหารายได้ การบัญชี การพัสดุและสินทรัพย์ มีสมรรถนะด้านทักษะมากในด้านการรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล ด้านการให้คำปรึกษา ด้านความคิดสร้างสรรค์ ด้านความคิดเชิงวิเคราะห์ มีสมรรถนะด้านทักษะน้อยในด้านการมีอิทธิพลต่อคนอ่น การสร้างความสัมพันธ์ การรับฟังการประสานงานและการรวมตัว การให้ความร่วมมือ การจัดการความขัดแย้ง การสร้างความผูกพัน การตัดสินใจร่วม การพัฒนาความรู้ความเข้าใจร่วมกัน และมีสมรรถนะด้านทัศนคติดีไม่แตกต่างกัน ซึ่งสัมพันธ์กับปัจจัยเงื่อนไข คือ 1) ปัจจัยด้านบริบทของโรงเรียน เช่น บุคลากรของโรงเรียน วิธีการปฏิบัติงานของโรงเรียนและผลการปฏิบัติงานของโรงเรียน 2) ปัจจัยด้านภูมิหลังของคณะกรรมการฯ เช่น ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และบทบาทในชุมชน และ 3) ปัจจัยด้านกระบวนการทำงานร่วมกันของคณะกรรมการฯ เช่น การสร้างทีมงาน การถ่ายโอนความรู้ ทักษะ และทัศนคติ บริบทเชิงบริหาร และวัฒนธรรมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการนำเสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการฯ จึงมุ่งเน้นกระบวนการเรียนรู้จากการปฏิบัติงานร่วมกันของคณะกรรมการฯ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาซึ่งกันและกันโดยการถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และประสบการณ์สร้างกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองจากประสบการณ์จริงเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง

Abstract
            This study was descriptive research to study the job competency of the Basic Educational Institution Board (BEIB) in schools with different performances, to study factors relating to the work competency of the BEIBs and to propose guidelines to improve their work competency. This research used group interview in 4 BEIBs with high performance and 3 BEIBs with low performance. Meetings: and other related functions of the BEIDs were observed to find features of real performance. Documents such as meeting reports, plans and school projects were collected. The study found that the BEIBs with high performance had high competency in every issue and the BEIBs with low performance had low competency in knowledge of curriculums, school budgeting systems, personnel administration systems, educational policy and plans, promotion of community strength and building relations with other institutions. But the low performane BEIBs were poorly equipped with knowledge of organizing the learning process, especially on the learning-centered approach, educational quality assurance, financial administration systems and fund raising, accounting, materials and property; for work competencies of skill, they were well equipped with skills related to data collection and analysis, counseling, creativity, and analytical thinking, but they had little competency in work skills related to influencing others, building relations, listening, coordination and association, cooperation, handling conflicts, bonding, common decision-making, and improving their intuition together; for work competency of attitude, they had good attitudes, same as the high performance group. The results were related to 3 factors: 1) school contests i.e. school personnel, school functions and school performance; 2) the backgrounds of the BEIBs i.e. education, work experience and roles in the community; 3) working process of the BEIBs i.e. building a team, knowledge, skills and attitudes transferred, administrative context and continuous learning culture. So, the proposed guidelines for improving the functional competencies of the BEIBs must be learning processes that involve working together to improve the BEIBs competencies and determination in transferring work knowledge, skills and experiences through an action learning approach.