วารสาร HRintelligence ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 กรกฏาคม – ธันวาคม 2549

  การวิจัยเพื่อพัฒนาการทำงานร่วมกัน กรณีศึกษา: โรงเรียนเยาวลักษณ์วิทยาหางดง จังหวัดเชียงใหม่
  Research on Work Collaboration Development: A Case Study of Yaowalux Witthaya Hang Dong School in Chiang Mai Province

  สมพงษ์ ฝูงคน
  Sompong Foongko

บทคัดย่อ
          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการทงานร่วมกันด้วยวิธีการสั่งการ วิธีการแนะนำและวิธีการให้อิสระในการพัฒนาการทำงานร่วมกันของบุคลากรทั้งโดยรวม และโดยจำแนกตามการร่วมคิด การร่วมมือ การร่วมใจ และการร่วมพัฒนา กลุ่มประชากรที่ใช้เป็นบุคลากรครูของโรงเรียนเยาวลักษณ์วิทยาหางดง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้มี 3 ชุด คือ (1) แบบประเมินการทำงานร่วมกัน (2) แผนการจัดปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการทำงานร่วมกัน และ (3) แบบบันทึกการสนทนากลุ่มเพื่อสรุปประเมินและอภิปรายผลการดำเนินการเพื่อพัฒนาการทำงานร่วมกัน ในระยะวางแผนปฏิบัติการวิจัยผู้วิจัยได้สำรวจปัญหาและความต้องการ แบ่งกลุ่มประชากรกำหนดรูปแบบการส่งเสริมการทำงานที่สอดคล้องกับแต่ละกลุ่มวางแผนและกำหนการร่วมกับกลุ่มประชากร เลือกและตรวจสอบเครื่องมือ ในระยะปกิบัติการวิจัย ผู้วิจัยได้ประเมินการทำงานร่วมกัน จากนั้นจัดปฏิบัติการตามกำหนดการ 6 ครั้งระหว่างเดือนธันวาคม 2548 – มีนาคม 2549 แล้วทำการประเมินการทำงานร่วมกันอีกครั้งหลังสิ้นสุดปกิบัติการ นำผลงานไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ ในระยะประเมินผลการปฏิบัติการวิจัยได้ทำการสนทนากลุ่ม แล้วทำการวิเคราะห์ผลการวิจัยโดยใช้ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสำหรับข้อมูลเชิงปริมาณ และใช้การวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
          หลังจากได้รับการส่งเสริมกรทำงานร่วมกันแล้ว กลุ่มบุคลากรที่ได้รับการส่งเสริมการทำงานร่วมกันโดยการแนนำและการให้อิสระ มีการทำงานร่วมกันโดยรวมและโดยจำแนกตามการร่วมคิด การร่วมมือ การร่วมใจ และการร่วมพัฒนา ดีขึ้น ส่วนกลุ่มบุคลากรที่ได้รับการส่งเสริมการทำงานร่วมกันโดยการสั่งการ มีการทำงานร่วมกันโดยรวมลดลง และเมื่อจำแนกตามการร่วมคิด การร่วมมือ การร่วมใจ และการร่วมพัฒนาแล้ว ปรากฏว่ามีการทำงานร่วมกันด้านการร่วมคิดดีขึ้น การร่วมใจเท่าเดิมส่วนการร่วมมือและการร่วมพัฒนากลับลดลง
          นอกจากนี้ยังพบว่า วิธีการแนะนำมีผลการพัฒนาการทำงานร่วมกันทั้งโดยรวมและโดยจำแนกในทุกด้านสูงที่สุด รองลงมาคือวิธีการให้อิสระ ส่วนวิธีการสั่งการให้ผลการพัฒนาเป็นลำดับสุดท้ายในทุกรายการ

Abstract
            The purpose of this research was to compare the results im improving the level of staffs’ collaborative working by using commanding method, guiding method, and delegating method in overall and each staffs’ collaborative working factors: cooperative thinking, cooperative working, cooperative willingness, and cooperative development. The population of this research is a group of 17 teachers at Yaowalux Witthaya Hang Dong School in Chiang Mai province. The 3 data collecting instruments were the work collaboration evaluation form, the operating plan for work collaboration development, and the focus group record form. The planning phase of research consists of surveying the problems and needs, grouping the population, setting the model of working encouragement with the population, planning and scheduling together with the population, choosing and examining the instruments. In the operating stage, the researcher evaluated the work collaboration was evaluated afterward at the end of the workshop. Then the outcomes were analyzed in terms of mean and standard deviation for quantitative data and content analysis for qualitative data.
The findings were as the following:
            After being encouraged to work cooperatively, the guided group and the delegated group could increase the level of staffs’ collaborative working and each level of staffs’ collaborative working factors: cooperative thinking, cooperative working, cooperative willingness, and cooperative development. In contrast, the level of staffs’ collaborative working of the commanded group was decreasing; however, the results in each level of staffs collaborative working factors were different by increasing the level of staffs’ cooperative thinking, maintaining the level of staffs’ cooperative willingness, and decreasing the level of staffs’ cooperative working and cooperative development. Moreover, the research found that the effective method to improve the level of staffs’ collaborative working and all staffs’ collaborative working factors were guiding method, delegating method and commanding method, respectively.