วารสาร HRintelligence ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2550

  การศีกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารขององค์กรธุรกิจ: กรณีศึกษาเฉพาะองค์กรธุรกิจที่เป็นสมาชิกของหอการค้าไทย
  Factors Affecting the Increase of Communication Efficiency in Business Organizations: A Case Study of Member of The Thai Chamber of Commerce

  ทองทิพภา วิริยะพันธุ์

บทคัดย่อ
          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารขององค์กรธุรกิจที่เป็นสมาชิกของหอการค้าไทย โดยได้ทำการวิเคราะห์ปัญหา และอุปสรรคต่างๆ ที่ทำให้การสื่อสารไม่มีประสิทธิภาพ และวิธีการที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรธุรกิจ เพื่ใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาการสื่อสารขององค์กรธุรกิจตลอดจนการสื่อสารระหว่างผู้บริหารและพนักงานขององค์กรธุรกิจให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
          ผลการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารขององค์กรธุรกิจใน 7 ด้าน ผู้วิจัยพบว่า 1. ด้านปริมาณข้อมูลข่าวสาร ได้แก่ ปริมาณข้อมูลข่าวสารที่สื่อสารถึงกัน หรือที่ได้รับสามารถใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการทำงานได้ 2. ด้านคุณภาพของข้อมูล ได้แก่ ข้อมูลที่ส่งไปถึงผู้รับรวดเร็วทันความต้องการ 3. ด้านประสิทธิภาพของสื่อช่องทางการสื่อสาร ได้แก่ โทรศัพท์ภายใน อีเมล์ การติดประกาศของบริษัท และการแจ้งในที่ประชุม 4. ด้านประโยชน์และคุณค่าของข้อมูลข่าวสาร ได้แก่ ข้อมูลข่าวสารสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการทำงานได้ 5. ด้านข้อมูลข่าวสารไม่ถูกดัดแปลง ได้แก่ ข้อมูลข่าวสารที่ได้รับเชื่อถือได้โดยไม่ถูกดัดแปลง 6. ด้านระดับความน่าเชื่อถือของข้อมูลข่าวสาร ได้แก่ ผู้ส่งข่าวสารเป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือ 7. ด้านศักยภาพ/เทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสาร ได้แก่ เทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสารมีความทันสมัย/มีศักยภาพดี
          สำหรับปัญหาและอุปสรรคที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสื่อสารขององค์กรธุรกิจ ผู้วิจัยพบว่า ได้แก่ ปัญหาผู้สื่อสาร (ผู้บริหารและพนักงาน) ไม่มีทักษะในการสื่อสารเพียงพอทำให้เกิดความขัดแย้งต่อกัน ปัญหาความล่าช้าของข้อมูลข่าวสารทำให้ทราบข้อมูลข่าวสารกระชั้นชิดจนเป็นปัญหาในการทำงาน ปัญหาผู้บริหารมีการเปลี่ยนแปลงคำสั่งอยู่เสมอทำให้ยากแก่การปฏิบัติงาน ปัญหาความล่าช้าในการตอบกลับจากผู้รับข่าวสาร ปัญหาการบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือไม่ได้รับข้อมูลที่ชัดเจนและถูกต้อง
          ส่วนการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ผู้วิจัยพบว่า กระบวนการสื่อสารขององค์กรธุรกิจควรเป็นการสื่อสารแบบสองทาง (Two-way Communication) โดยผู้ให้สัมภาษณ์ทุกท่านให้ความสำคัญกับการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม (Participatory Communication)
          สำหรับข้อเสนอแนะ ผู้วิจัยได้ให้ข้อเสนอแนะสำหรับผู้บริหาร ภายใต้แนวคิดที่เรียกว่า SMART CEO MODERN STYLE และข้อเสนอแนะสำหรับพนักงาน ภายใต้แนวคิดที่เรียกว่า SMART SMILE STAFF นอกจากนั้น ผู้วิจัยยังได้เสนอแนะให้ทุกคนในองค์กรประยุกต์ใช้หลักธรรม “พรหมวิหาร 4” เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารขององค์กรธุรกิจให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

Abstract
            This research aimed to study the factors affecting the increase of communication efficiency in business organizations that are member of The Thai Chamber of Commerce by analyzing problems and obstacles that make communication breakdown. This research also suggests a method of increasing communication efficiency in business organizatons in order to improve communication between CEOs and their employees.
            It can be concluded that individual factors and organizational factors affect communication efficiency in business organizations at a high level. As found from surveying, the result of factors affecting the increase of communication efficiency in business organizations is sending information rapidly by using internal telephone, e-mail, announcements and informing in the meeting room. Moreover, information which can be implemented for working is also affected to the increase of communication efficiency in business organizations but the received information should be reliable withable without my modification by the reliability of the sender as well as technology used in communication with moderate to good potential is the most efficient form of communication of business organizations.
            The most frequent problems and abstacles in communication of business organizations are as followed:
            - Communicatiors (CEOs and employees) have no sufficient communication skill.
            - Information delay causes problems in working.
            - CEOs always change their commands.
            - Delay of communicator response.
            - The problem of distorted information or unclear and incorrect information.
            For in-depth interviews, the researcher found that every interviewed CEO give opinions about communication of business organizations that it should be two-way communication and emphasized on participatory communication.
            For recommendation, the researcher has provided suggestions for the CEO under the concept called “SMART CEO MODERN STYLE” and the other for employees under the concept called “SMART SMILE STAFF”, and moreover, the researcher also suggest to apply the Buddhist principle of the “Four Divine States”.