วารสาร HRintelligence ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2550

  ความรู้และการใช้สิทธิประโยชน์ (สิทธิ) จากการเป็นผู้ประกันตนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 กรณีศึกษาลูกจ้างในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม จังหวัดสมุทรสาคร
  Knowledge and Use Of Employee Benefits (Right) in the Social Security Act 1990 in Case Study of Workers in Small and Middle Industry in Samut Sakorn Province

  อรวรรณ อรุณวิภาส, สุเทพ บุญซ้อน, สุรางค์ เมรานนท์

บทคัดย่อ
          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ การใช้สิทธิ ปัจจัยส่วนบุคคล และบุคลิกภาพส่วนบุคคลของผู้ประกันตนที่สัมพันธ์กับความรู้และการใช้สิทธิของลูกจ้างในโรงงานอุตสาหกรรมขนากลางและขนาดย่อม กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยคือ ผู้ประกันตนที่ทำงานอยู่ในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 426 คน โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเป็นเครื่องมือ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean หรือ X) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation หรือ S.D.) ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation หรือ rxy) ไคสแควร์ (Chi-Square) แครมเมอร์สวี (Cramer’s V) และสหสัมพันธ์ไบซีเรียล (Biserial Correlation) สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ สมการถดถอยแบบพหุคูณ (Stepwise Multiple Regression)
          ผลการวิจัยพบว่า
          1. ความรู้เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อแยกวิเคราะห์รายด้าน ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับกองทุนเงินทดแทน ความรู้เกี่ยวกับกรณีคลอดบุตร ความรู้เกี่ยวกับกรณีทุพพลภาพ ความรู้เกี่ยวกับกรณีเสียชีวิต ความรู้เกี่ยวกับกรณีสงเคราะห์บูตร ความรู้เกี่ยวกับกรณีชราภาพ และความรู้เกี่ยวกับกรณีว่างงานพบว่า ผู้ประกันมีความรู้อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนความรู้พื้นฐานของผู้ประกันตน และความรู้เกี่ยวกับกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอยู่ในระดับสูง
          2. ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ผู้ประกันตนทุกคนใช้สิทธิประโยชน์กรณีการเจ็บป่วยโดยประมาณร้อยละ 50 ใช้สิทธิ 4-5 ครั้ง ในขณะที่มีการใช้สิทธิประโยชน์กรณีการคลอดบุตร กรณีการว่างงานไม่เกินร้อยละ 20 และมีเพียงร้อยละ 5.2 ที่ใช้สิทธิประโยชน์เข้ารับบริการกรณีทุพพลภาพ
          3. ปัจจัยส่วนบุคคล และบุคลิกภาพส่วนบุคคลของผู้ประกันตนที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความรู้เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์จากการเป็นผู้ประกันตนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ได้แก่ ภาวะผู้นำ สุขภาพร่างกาย เพศหญิง ความเชื่อมั่นในตนเอง และการพิทักษ์สิทธิของตน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน และระดับการศึกษา (ชั้น ป.1 ถึง ม.6) มีความสัมพันธ์เชิงลบกับความรู้เกี่ยวกับสิทธิจากการเป็นผู้ประกันตนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
          4. ปัจจัยส่วนบุคคล และบุคลิกภาพส่วนบุคคลของผู้ประกันตน ที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการใช้สิทธิในฐานะผู้ประกันตนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ได้แก่ เพศหญิง ผู้ที่สมรสแล้ว รายได้ และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนการใฝ่รู้ มีความสัมพันธ์เชิงลบกับการใช้สิทธิในฐานะผู้ประกันตนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
          จากผลการศึกษาดังกล่าว สำนักงานประกันสังคมจังหวัดสมุทรสาคร ควรสร้างความรู้ ความเข้าใจในเรื่องของแนวทางการปฏิบัติของนายจ้างโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางละขนาดย่อม ตามกฎหมายประกันสังคม เช่น ความรู้เกี่ยวกับบัตรประกันสังคมกรณีบัตรประกันสังคมหายหรือชำรุด การให้ความรู้เกี่ยวกับเงินสมทบในเรื่องของเกณฑ์การคำนวณเงินค่าจ้างลูกจ้าง มาตรา 33 และอัตราการคำนวณเงินสมทบโดยสมัครใจ มาตรา 39 ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในกรณีที่ลูกจ้างลาออกจากงาน รวมทั้งระบบการประกันสังคมว่ามีประโยชน์แก่ลูกจ้าง นายจ้างอย่างไร เพื่อเป็นการสร้างหลักประกันในเรื่องการเจ็บป่วย เสียชีวิต ทุพพลภาพ เป็นต้น โดยเน้นการประชาสัมพันธ์ ในหลายด้านจาก สื่อโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ และวางแผนการประชาสัมพันธ์ในเชิงรุกทั้งในระดับพื้นที่และระดับจังหวัดอย่างต่อเนื่อง โดยสำนักงานประกันสังคมควรให้บริการที่สะดวก รวดเร็ว เสมอภาค และเข้าใจง่าย เนื่องจากผู้ประกันตน นายจ้างมีวุฒิระดับการศึกษา แตกต่างกัน หากวิธีการปฏิบัติที่มีขั้นตอนยุ่งยากในการขอรับบริการมากเท่าใด ความรู้สึกต่อการประกันสังคมจะเกิดขึ้นในทางลบทันที ซึ่งจะส่งผลต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง คือ สำนักงานประกันสังคม นายจ้าง และผู้ประกันตน ทำให้นโยบายที่สำนักงานประกันสังคมไม่สัมฤทธิ์ผลตามที่ได้ตั้งไว้

Abstract
            The objective of this study was to study the knowledge, use of the right individual and performance of employee that associated with knowledge and use of the right of employee in small and middle industry. The smples of this study were 426 workers working in the small and middle industry in Samut Sakorn Province. The data were collected by using questionnaires and were analyzed by using percentage, mean, standard deviation, Pearson’s Product Moment Correlation, Chi-Square, Cramer’s V and Biserial Correlation. Stepwise Multiple Regression was used to prove the hypothesis.
            The results of the study were as follows :
            1. The knowledge of right of employee was at middle criteria, in overall. When classified into 6 circumstances; knowledge of compensation fund, childbearing, physical disability, death, subsidy of child aging and unemployment found that the workers knowledge was at middle criteria. The basic knowledge of employee and knowledge of illness or accident was at high criteria.
            2. During the past one year, all employee used their right as insured under illness approximately 50 percentage and used 4-5 times. In the meantime, less than 20 percentage use their rights for childbearing and unemployment, but only 5.2 percentage for physical disability.
            3. Individual factors and performance of employee were significantly positive related at .05 level to knowledge of the workers who insure under social security act 1990, namely leadership, health status, female, self-confidence an protection of their right. The risk of accident from work and level of education (grade 1-12) was significantly negative related at .05
            4. Individual factors and performance of employee were significantly posititive related at .05 level to the use of the right from social security act 1990, namely, female, married person, income and need for achievement. Cusiority was significantly negative related at .05
            From the results of this study, the social security office of Samut Sakorn should create the knowledge and make more understand in policy guidance of workers in small and middle industry of the social security law. For the example, knowledge about disappearing or decaying of the social security card, giving a knowledge about joining fund such as the driterion of calculating the wages of employee (section 33) and the rating of calculating joining fund by prefering (section 39) which has a useful in case of resigned employee include the whole of a social security system that how the useful should be happen to employee or employer for building the social security confidence about illness, death and physical disability etc. The publish relationship should be done by the media in active and passive approach in area and province. The social security office should give the one stop service. The more complicate process, the more negative impression to the social security office will make the nonsuccess policy.