วารสาร HRintelligence ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2551

  สำรวจสถานการณ์แรงงานไทยที่ได้รับผลกระทบจากคลื่นยักษ์สึนามิ: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมบริการ
  Survey of Thai Labour Affected by Tsunami : A Case Study of Service Industry

  ยุวดี จันทะศิริ, พฤฒ ยวนแหล

บทคัดย่อ
          วัตถุประสงค์การศึกษาเพื่อ 1) สำรวจภูมิหลังของแรงงานไทยในอุตสาหกรรมบริการที่ได้รับผลกระทบจากคลื่นยักษ์สึนามิ 2) ศึกษาผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และครอบครัว 3) วิเคราะห์อุปสรรคในการให้ความช่วยเหลือและการขอความช่วยเหลือ และ 4) เสนอแนวทางการช่วยเหลือ เยียวยา และพัฒนาแรงงานไทยในอุตสาหกรรมบริการที่ได้รับผลกระทบจากคลื่นยักษ์สึนามิ กลุ่มตัวอย่าง คือ 1) แรงงานในโรงแรมของสามพื้นที่คือ เขาหลัก จังหวัดพังงา เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ และป่าตอง จังหวัดภูเก็ต จำนวน 300 คน 2) เจ้าหน้าที่พัฒนาเอกชน และประธานสมาพันธ์โรงแรมเลือกแบบเจาะจง 2 คน และ 3) นายจ้างและ/หรือผู้มีอำนาจกระทำการแทนนายจ้าง จำนวน 54 คน และฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ จำนวน 54 คน เลือกเฉพาะโรงแรมที่ได้รับความเสียหาย
          วิธีการศึกษา ใช้หลักการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ซึ่งเป็นเทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาข้อมูลจากเอกสารและภาคสนาม ใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และการประชุมกลุ่มย่อย ส่วนการตรวจสอบข้อมูลใช้แบบสามเส้า โดยพิจารณาแหล่งเวลา สถานที่ และบุคคลที่แตกต่างกัน การวิเคราะห์ข้อมูลจะใช้แบบบรรยายความโดยเป็นทั้งการวิเคราะห์เนื้อหา และการตีความสร้างข้อสรุปแบบอุปนัยจากการสัมภาษณ์ และการประชุมกลุ่มย่อยและเสริมด้วยข้อมูลเชิงปริมาณ ที่เป็นสถิติบรรยาย
           ผลการศึกษา พบว่า
           1) ส่วนใหญ่เป็นแรงงานหญิงมากกว่าแรงงานชาย เกือบ 4 ใน 5 อายุระหว่าง 25-29 ปี จบมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า (ร้อยละ 32.0) สมรสเกินกว่าครึ่งหนึ่ง และมีบุตรแล้ว มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ (ร้อยละ 88.0)
           2) ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และครอบครัว พบว่า หลังประสบภัยกลุ่มตัวอย่างเข้ามาทำงานในโรงแรมเกินกว่าครึ่งหนึ่ง และรายได้จาการทำงานโรงแรมเป็นอาชีพหลักของครอบครัว แรงงานไม่มีอาชีพเสริม (ร้อยละ 90.4) เมื่อเปรียบเทียบฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวก่อนและหลังเกิดภัยจากคลื่นยักษ์สึนามิ พบว่า แย่กว่าเดิม (ร้อยละ 62.4) มีหนี้สิน (ร้อยละ 70.4) ไม่มีกรรมสิทธิ์และการถือครอบครองที่อยู่อาศัย (ร้อยละ 62.4) และไม่มีกรรมสิทธิ์และการถือครอบครองพื้นที่เกษตรกรรม (ร้อยละ 72.0) กลุ่มที่ถูกเลิกจ้างเกือบ 3 ใน 5 ไม่ได้รับความช่วยเหลือ ประสบปัญหาภายในครอบครัว (ร้อยละ 55.2)
           3) อุปสรรคในการให้ความช่วยเหลือ พบว่า เอกสารสำหรับขอความช่วยเหลือมีไม่เพียงพอ ไม่รู้และไม่เข้าใจสิทธิได้รับความช่วยเหลือซ้ำซ้อน นายจ้างขาดการส่งเงินเข้าสู่ระบบประกันสังคม จึงทำให้แรงงานบางส่วนไม่ได้รับสิทธิ และก่อนเกิดเหตุนายจ้างไม่ได้ส่งรายชื่อลูกจ้างเข้าสู่ระบบประกันสังคม
           4) อุปสรรคในการขอความช่วยเหลือของแรงงาน พบว่า ปัจจัยด้านการติดต่อสื่อสารและขั้นตอนในการให้ความช่วยเหลือเป็นอุปสรรคอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยที่ 3.86 และความเห็นของแรงงานที่มีต่อปัจจัยนี้มีความแตกต่างกันน้อย ปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยด้านเจ้าหน้าที่เป็นอุปสรรคอยู่ในระดับปานกลาง มีเฉลี่ยคะแนนค่าเฉลี่ย 3.49 และ 3.36 ตามลำดับ ซึ่งความเห็นของแรงงานที่มีต่อสองปัจจัยนี้มีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก
           5) แนวทางการช่วยเหลือ เยียวยา และพัฒนา แบ่งเป็น 3 ระดับคือ (1) ระดับบุคคล ประกอบด้วย การเคลื่อนย้ายแรงงานออกนอกจากพื้นที่ประสบภัย ช่วยเหลือด้านอาหาร ถุงยังชีพ เสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย การฟื้นฟูสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ ด้านเศรษฐกิจ การให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิ และกระบวนการเข้าถึงสิทธิ (2) ระดับกลุ่ม ประกอบด้วย การให้ความรู้และฝึกอบรมบทบาทในฐานะเป็นบิดา และมารดา และการจัดการความเครียด ส่งเสริมกิจกรรมแรงงานสัมพันธ์ และ (3) ระดับสังคมและชุมชน การมีส่วนร่วม และการสร้าง สัมพันธภาพในชุมชน

Abstract
          The research aimed 1) to survey the background of the Thai laborers in Thailand’s service industries effected by the Tsunami hit in 2004; 2) to study the Tsunami effects on economy, society and family; 3) to analyze the obstacles to providing and receiving help; 4) to suggest ways to provide help and remedy and to improve the Thai laborers in the service industries effected by the Tsunami hit. The sample groups in this Patong beach (Phuket province); 2) an officer of each Provincial Labor Office, city governors, and/or a local leader of each province; 3) a non-government organization member and the president of Hotel Federation; 4) 54 employers and/or those who acted as employers and 54 human resource department staff members from the hotels hit by the Tsunami.
          The participatory action research (PAR) was conducted by using qualitative methodology and through documents, questionnaires, interviews and small-group meetings. The data was checked by triangulation method according to different time, places and target groups, and presented by descriptive analysis which included content analysis, inductive interpretations suggested by the interviews and small-group meetings as well as descriptive statistics.
          The research findings were as follows:
          1) Four in five of the Thai laborers are female. 32.0% of the laborers are between 25-29 years old and graduated with senior high school certificates; more than half or 88.0% of the laborers are married with children and live in the South of Thailand.
          2) As for the Tsunami effects on economy, society, and family, more than half or 90.4% of the hotel staff members have been back to the hotels after the attack as the hotels are the main source of their income. 62.4% of the families are in a more critical financial status after the Tsunami incident while 70.4% gone into debt. 62.4% of them do not own houses and 72.0% do not own agricultural areas. Almost three in five of those who were dismissed from their jobs have not received help and 55.2% of the laborers have encountered family problems.
          3) It is found that tere were not enough request forms for the laborers to appeal for help, the laborers did not understand their rights, the laborers received repetitive helps, the employers stopped giving financial support to the Social Security Offices, thus resulting in the lack of the laborers’ rights, and the employers did not report to the social security system the name lists of the laborers.
          4) It is found that the factors concerning communication and processes in proving help caused obstacles at high level, with the average of 3.86, and the laborers’ opinion towards the two factors were slightly different. Moreover, the personal and government official factors caused obstacles at moderate level, with the averages of 3.49 and 3.36 respectively, and the laborers’ opinion towards the two factors were considerably different.
          5) Three levels of providing help and remedy were seen. That is to say, at personal level, the laborers were moved from the effected areas, provided food, life bags, clothes and houses, given mental and physical treatments, given financial help, and informed of the information about their rights and access to their rights. At group level, they were educated and trained to perform the roles of parents and trained to handle stress while in the meantime labor relaton activities were also promoted. A society and community level, participation and relationship improvement among community members were promoted as well.