วารสาร HRintelligence ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฏาคม – ธันวาคม 2551

  การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในประเทศจีนและเวียดนาม กรณีเปรียบเทียบระหว่างคลัสเตอร์อุตสาหกรรมรถยนต์ในเมืองอู่ฮั่นกับเซี่ยงไฮ้และอุตสาหกรรมผลิตเครื่องพิมพ์ในเมืองฮานอย
  Comparative Studies of HRM Practices in Industrial cluster in Asia: Wuhan, Shanghai and Hanoi

  โสภณ ฐิตะสัจจา

บทคัดย่อ
          บทความนี้เป็นการสำรวจกระวนการกระบวนการเรียนรู้ในฐานผลิตรถยนต์เมืองอู่ฮั่น ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัท Dongfeng กับบริษัท Peugeot ของฝรั่งเศสในการผลิตรถ Citroen กับฐานผลิตรถยนต์เมืองเซี่ยงไฮ้ ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัท Yiqi (First Automotive Work = FAW) กับบริษัท Volkswagen ของเยอรมัน ด้วยการเปรียบเทียบสถานภาพของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในประเทศเวียดนาม ทำให้เข้าใจกระบวนการการพัฒนาทักษะในด้านอุตสาหกรรม ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการแข่งขันในการผลิตของ Cluster และวิเคราะห์แนวทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของเครือข่ายการผลิต (Production Network) และระบบการผลิตสมัยใหม่ (New Work System) ของ Cluster ฮานอย โดยผ่านวิธีการวิเคราะห์ในเชิงทฤษฎีและข้อมูลจากภาคสนามโดยเฉพาะการเข้าไปลงทุนของบริษัทข้ามชาติในประเทศเวียดนาม กรณีศึกษาด้วยการเก็บข้อมูลในภาคสนามนั้น ได้พยายามศึกษาถึงการที่บริษัทต่างปรเทศเข้าไปลงทุนในฐานผลิตซึ่งก่อให้เกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงและถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาทักษะและกระบวนการเรียนรู้ของทรัพยากมนุษย์ในฐานผลิตนั้นๆ บทความนี้จึงมุ่งเปรียบเทียบความแตกต่างของกระบวนการการพัฒนาทักษะและการเรียนรู้ระหว่างฐานผลิต ซึ่งมีบริษัทรถยนต์ฝรั่งเศสกับฐานผลิตซึ่งมีบริษัทเยอรมัน ตลอดจนบริษัทผู้ผลิตของญี่ปุ่นเข้าไปดำเนินการ
          แนวคิดทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรในกลุ่มประเทศยุโรป ต้องการระบบงานที่ไม่ปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์และทำให้สามารถอุทิศความสามารถของคนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง ผ่านกระบวนการเรียนรู้แลกเปลี่ยนระหว่างกัน และมีโอกาสพัฒนาทักษะความสามารถของมนุษย์ให้สูงขึ้น แนวคิดการออกแบบรบบงานแบบ Sociotechnical System (STS) เพื่อที่จะควบคุมและประสานการทำงานของมนุษย์กับงานโดยให้บุคลากรเป็นเจ้าของสายการผลิตเพิ่มความเป็นอิสระและความร่วมมือระหว่างกันเพื่อที่จะสร้างวิธีการทำงานแบบใหม่ พัฒนาระบบมาตรฐานและการดำเนินงานที่ดีเยี่ยม ในขณะที่การออกแบบระบบงานแบบลีน (Lean System) ซึ่งเป็นระบบแบบญี่ปุ่นมีมิติของความคิดในการที่จะทำให้สามารถทำงานได้ง่ายขึ้น และเสริมสร้างกระบวนการในการเรียนรู้และแก้ไขปัญหาต่ำ งานมีลักษณะที่น่าเบื่อหน่ายและมีข้อจำกัดสูง ควบคุม โดยผู้เชี่ยวชาญและกระบวนการที่เป็นมาตรฐานของกระบวนงาน โดยใช้ข้อมูลเพื่อที่จะควบคุมคุณภาพไม่ให้แตกต่างไปจากระบบมาตรฐาน ความสำเร็จของระบบงานแบบ (Lean System) อาศัยความสัมพันธ์ที่ดีและความรู้สึกที่จะต้องทำงานร่วมกัน ส่วน Socio-technical System (STS) นั้นเป็นการพยายามที่จะทำให้พนักงานต้องการที่จะสร้างศักยภาพของงานและรู้สึกถึงโอกาสในการเติบโตของมนุษย์
          กระบวนการพัฒนาทักษะและความสามารถของบุคลากร จากประสบการณ์ของงาน (Job Experience) ผ่านวิธีการหมุนเวียนงาน (Job Rotation) เพื่อให้เกิดหลายทักษะ (Muti Skill) ตลอดจนการหมุนเวียนการทำงานภายในหน่วยยาน (Inter-workshop mobility) และหมุนเวียนข้ามหน่วยงาน (Intra-workshop mobility) สร้างกระบวนการการเรียนรู้ในทักษะใหม่ นอกจากนั้นการทำงานเป็นทีมอิสระที่ให้อิสระในการเรียนรู้และปรับปรุงงานร่วมกันโดยที่ระบบงานจะออกแบบให้แต่ละคนรู้สึกว่าเป็นหน่วยเดียวกัน และทีมงานที่หลากหลายทักษะที่เข้ามาร่วมช่วยเหลือในการดำเนินงานกระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้โดยทีมงานเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการพัฒนาทักษะและความสามารถ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการการเรียนรู้และแก้ไขปัญหาเพื่อสร้างนวัตกรรมในระบบงาน นอกจากนี้กระบวนการกรสร้างความมั่นคงในชีวิตการทำงานให้กับพนักงานพร้อมทั้งกรออกแบบระบบงานที่สร้างกระบวนการเรียนรู้จะเป็นประโยชน์ในการสร้างสมรรถนะในการแข่งขันขององค์กรอีกด้วย

Abstract
            This field study focuses on the learning process and skill-development process. On the one hand, there is and evaluation of the automobile-manufacturing infrastructure of a joint venture between Dongfeng and France’s Peugeot in the production of Citroen. On the other hand, the study includes a joint venture between Yiqi (First Automotive Work of FAW) and Germany’s Volkswagen. The article contrasts the practices of the French automaker with its German counterpart. The operations of a Japanese automaker are also considered.
            These joint ventures’ practices are contrasted with the status of human resources management in Vietnam. This comparative study seeks to understand the development of industrial skills, which reflects an ability to create a competitive cluster. The analysis deals with how human resources management is related to changes in the Hanoi cluster’s Production Network and New Work System. This analysis is based on a theoretical framework and data obtained from a field study which looks at foreign direct investment (FDI) in Vietnam. The emphasis is on how foreign direct investment in the area of manufacturing affects changes in management practices and technology transfer.
            European practices appear to be based on a philosophy that aims not to restrict the flow of creative ideas and that aims to allow workers to efficiently dedicate their skills via an exchange of the learning process so as to enhance skill development. This philosophy advocates the use of the Socio-technical System (STS) for the purpose of control and coordination of people and their tasks by allowing the personnel to become owners of the manufacturing activities. It promotes independence and cooperation in developing new work methods, work standards, and excellence in performance. This system attempts to get workers to improve work potential and also to realize their opportunity to grow.
            In contrast, te Japanese philosophy of the Lean System focuses on simplifying tasks, while minimizing learning and problem solving. Job activities are monotonous, and there is a high degree of restrictions imposed by experts and the standards of the work process. The data are used for the purpose of ensuring that quality will not deviate from the set standards. The success of lean manufacturing depends on workers’ good relationships and cooperative spirits.
            The process of development of skills and abilities of the personnel is based on “job experience” derived from “job rotation” so as to develop multi-skills. Job rotation can be achieved via “inter-workshop mobilit” as well as “intra-workshop mobility” (i.e., whether inside or outside of the work unit). The goal is to promote learning of a new skill while allowing a unit to be independent in learning and cooperation in job improvement. The system is designed in such a way as to allow workers to feel that they are parts of the unit while benefiting from a team that has multiple skills. The learning process based on teamwork is a critical tool in developing skills and abilities, especially for innovations of the work process. Futhermore, the process of creating job stability, complete with the system for learning, should be beneficial in creating an organization’s competitive advantage.