วารสาร HRintelligence ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2552

  โครงการสมองไหลกลับ : การดำเนินงานจากสมองไหลกลับสู่สมองไหลเวียน
  Reverse Brain Drain Project : from Brain Drain to Brain Circulation

  กิตติภูมิ วิเศษศักดิ์

บทคัดย่อ
          รัฐบาลไทยก่อตั้งโครงการสมองไหลกลับขึ้นเพื่อเป็นหนทางหนึ่งในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนบุคลากรผู้มีความสามารถสูงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้วยการชักจูงให้บุคลากรดังกล่าวของไทยที่ทำงานในต่างประเทศกลับมาทำงานในประเทศไทยอย่างถาวร การดำเนินงานนี้ของไทยแตกต่างจากจีน ไต้หวัน และเกาหลีใต้มากเพราะบุคลากรดังกล่าวของไทยในต่างประเทศมีไม่มากพอที่จะก่อให้เกิด “critical mass” ความเชี่ยวชาญที่มียังไม่หลากหลายและต้องได้รับการพัฒนาขึ้นไปอีก นอกจากนี้โครงการสมองไหลกลับของไทยยังได้เปลี่ยนจุดเน้นมาเป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยีผ่านการทำวิจัยโครงการหลักร่วมกันระหว่างบุคลากรในประเทศไทยกับนักวิชาชีพชาวไทยในต่างประเทศและการกลับชั่วคราวเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีบนพื้นฐานทางวาทกรรมเรื่อง “เครือข่ายสมองไหล” หรือสมองไหลเวียนแทนการเน้นให้กลับมาอย่างถาวร
          การศึกษานี้พบว่าผลงานทุกด้านของโครงการสมองไหลกลับที่ได้เปลี่ยนจุดเน้นดังกล่าวล้วนมีประโยชน์ต่อประเทศไทยในเงการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการยกระดับวิทยาการเพื่อการพึ่งตนเองทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีส่วนค่าเฉลี่ยปัจจัยกำหนดความสำเร็จและมาตรการเสริมในการดำเนินงานโครงการสมองไหลกลับ ที่ประกอบด้วยแรงจูงใจของนักวิชาชีพไทยในต่างประเทศในการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ประเทศไทย การบริหารจัดการโครงการสมองไหลกลับเชิงกลยุทธ์ บทบาทของรัฐบาลต่อนักวิชาชีพไทยในต่างประเทศ เครือข่ายและข้อมูลข่าวสาร การปรับปรุงระบบ และการพัฒนาบุคลากร พบว่าในภาพรวมค่าเฉลี่ยความเห็นต่อปัจจัยต่างๆ ดังกล่าว มีค่าในระดับค่อนข้างสูง ส่วนปัจจัยในกลุ่มการปรับปรุงระบบมีค่าเฉลี่ยในระดับสูง กรวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยองค์ประกอบต่างๆ ที่มีส่วนในการกำหนดความสำเร็จ และมาตรการเสริม พบว่า ผู้ที่เคยร่วมทำวิจัยโครงการหลัก-ระดมสมอง มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นต่อองค์ประกอบ “การทำงานที่ครอบคลุมภารกิจหลัก” สูงกว่าผู้ที่เคยร่วม สัมมนา-สอนนักศึกษาในประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Abstract
            Thai government established Reverse Brain Drain Project as one mean of solving S&T talent shortage through persuading these people who working abroad to come back and work in Thailand permanently. Thai RBD. Performance differ from those of China, Taiwan and South Korea because of number of Thai talent not sufficient to be “critical mass”, expertise not diversify and need to be develop to top rank. Based on “brain circulation” discourse, the project was changed mission from permanent return to technology transfer through special project which is co-conduct research project between local Thai research and Thai researcher abroad, and contemporary return.
            Finding on document study is that the project performances lead to Thai benefit on technology transfer and shift the level of technology self-sufficiency. Analysis on means and means difference among variables and factors on successful and bearing issues to RBD performance find that average mean score rather high, and “system improvement” variable is high score. Score of Thai professional abroad association’s member on “work in focus” factor higher than non-member significantly.