บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้ คือ 1) ศึกษาพฤติกรรมการใช้เวลาในชีวิตประจำวันของผู้รับงานไปทำที่บ้าน 2) ศึกษาลักษณะการเรียนรู้ การปรับตัวทางด้านการทำงาน การดูแลสุขภาพและการรับข่าวสารข้อมูลเพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต และ 3) ศึกษาสถานการณ์การรับงานไปทำที่บ้านเพื่อดูแนวโน้มการจ้างงาน ตลอดจนแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของผู้รับงานไปทำงานที่บ้าน สำหรับวัตถุประสงค์ 2 ข้อแรก ใช้กลุ่มตัวอย่างผู้หญิงที่รับงานผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องแต่งกายไปทำที่บ้าน จำนวน 520 คน จากทั่วประเทศที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และจากจังหวัดต่างๆ ใน 4 ภาค โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล และใช้สถิติเชิงพรรณนาค่าเฉลี่ยและ Cross tabulation ตลอดจนกราฟ สำหรับวิเคราะห์และอธิบายข้อมูล ส่วนวัตถุประสงค์ข้อสุดท้ายได้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ประกอบการ หัวหน้ากลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้านและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า
1. วิถีชีวิตของผู้หญิงที่รับงานสิ่งทอและเครื่องแต่งกายไปทำที่บ้าน ส่วนใหญ่ทำงานทุกวันในหนึ่งสัปดาห์ ใน 24 ชั่วโมงของวันทำงานปกตินั้น แบ่งการใช้เวลาใน 4 กิจกรรมหลัก ได้แก่ การดูแลตนเอง การทำงานในอาชีพ การผลิตเพื่อสมาชิกในครอบครัว และสันทนาการ เป็นจำนวน 9.96, 9.56, 3.02 และ 1.45 ชั่วโมง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 41.5, 39.9, 12.6 และ 6.0 ของเวลาทั้งหมด ตามลำดับ โดยส่วนที่เหลือจะเป็นการใช้เวลาเพื่อกิจกรรมการศึกษา
2. ความแตกต่างในเรื่องอายุและสถานภาพสมรสรวมถึงการมีบุตรในครัวเรือน ทำให้ผู้หญิงที่รับงานไปทำที่บ้านใช้เวลาแตกต่างกัน จำนวนชั่วโมงเฉลี่ยของการทำงานในงานที่รับไปทำในช่วงเวลาปกติ ประมาณ 9.15 ชั่วโมงต่อวัน และจะมีชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานขึ้นถึง 13.3 ชั่วโมงต่อวันหากต้องทำงานในช่วงเร่งด่วน ผู้ที่เป็นโสดหรือสมรสแล้วที่มีอายุน้อยจะมีจำนวนชั่วโมงการทำงานในช่วงเร่งด่วนมากกว่ากลุ่มอายุที่สูงขึ้น คือ ประมาณ 14 ชั่วโมงต่อวัน และผู้รับงานที่สูงวัยจะอยู่ที่ประมาณ 11-12 ชั่วโมงต่อวัน
3. อัตราการมีส่วนร่วมในงานที่รับมาทำที่บ้านไม่ว่าจะเป็นงานหลักหรืองานเสริม ในช่วงเวลาปกติจะเริ่มต้นที่เวลา 6.00 น. เป็นต้นไปเพิ่มสูงขึ้นเรื่องๆ จนถึง 11.30 น. แล้วลดลง จะเพ่มขึ้นอีกครั้งเมื่อ 12.30 น. และสูงขึ้นตลอดจนถึง 15.30 น. แล้วจะค่อยๆ ลดลง และจะไปเพิ่มอีกครั้งช่วงค่ระหว่างเวลา 18.00 – 21.00 น. โดย 2 ช่วงแรกจะมีความหาแน่นของการรับงานมากกว่าช่วงค่ำ ขณะที่การรับงานในช่วงเร่งด่วนอัตราการมีส่วนร่วมสูงกว่าในช่วงเวลาทำงานปกติในทุกๆ คาบเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 18.00 น. เป็นต้นไป สำหรับอัตราการมีส่วนร่วมในการรับข่าวสารมีความชัดเจนในระหว่าง 16.30 – 23.00 น. ในช่วงดังกล่าวนี้จะมีอัตราการมีส่วนร่วมที่สูงระหว่างเวลา 19.00 – 20.30 น. จึงเป็นช่องทางของการรับรู้ข่าวสารพร้อมกับสาระความบันเทิงสำหรับผู้รับงานโดยผ่านทางสื่อโทรทัศน์ ขณะที่ในขณะทำงานวิทยุจะเป็นสื่อที่ทำให้เกิดการรับรู้ข่าวสารและความบันเทิงอีกรูปแบบหนึ่ง
4. ประสบการณ์ในการตัดเย็บเสื้อผ้าและการได้รับการฝึกอบรมทักษะฝีมือการตัดเย็บจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นช่องทางในการเรียนรู้ต่องานที่รับมาทำ หัวหน้ากลุ่มส่วนใหญ่เป็นผู้มีประสบการณ์ที่เคยเป็นลูกจ้างในโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าหรือร้านขายเสื้อผ้าหรือเรียนรู้มาก่อน ขณะที่การเรียนรู้เกี่ยวกับงานที่ทำของสมาชิกกลุ่มเกิดจากการฝึกอบรมมากกว่า ไม่ว่าจะมาจากหัวหน้ากลุ่มหรือเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
5. ผู้ที่รับงานเป็นอาชีพเสริมไม่ต้องปรับตัวมากนักกรณีงานที่รับไปทำขาดช่วง ขณะที่ผู้ที่รับงานไปทำเป็นอาชีพหลักต้องหางานอื่นมารองรับไม่ว่าจะเป็นการรับจ้างทั่วไปในภาคเกษตรหรือนอกภาคเกษตรทั้งในพื้นที่หรือนอกพื้นที่ เนื่องจากมีผลกระทบต่อรายได้ของครอบครัว ส่วนในเรื่องสุขภาพ ผู้รับงานหลายคนมีการปรับตัวโดยใช้ผ้าปิดจมูกกันฝุ่นละอองจากผ้าและใส่รองเท้าขณะนั่งจักร แต่ยังมีผู้รับงานอีกหลายคนยังขาดการปฏิบัติในการดูแลตนเองแม้ว่าจะมีเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานต่างๆ มาให้ความรู้และข้อแนะนำในเรื่องสุขภาพ
6. การรับงานไปทำที่บ้านยังคงมีความสำคัญและดำเนินควบคู่ไปกับธุรกิจของสถานประกอบการ แต่ผู้ประกอบการต้องการคุณภาพของงาน ซึ่งผู้รับงานต้องปรับตัวในเรื่องทักษะฝีมือเพื่อผลิตงานที่มีคุณภาพและสามารถรองรับงานที่หลากหลายขึ้น ซึ่งจะมีผลต่อรายได้ที่เพิ่มขึ้นของครอบครัวและการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำงานที่สนับสนุน ส่งเสริมและเป็นพี่เลี้ยงให้กับผู้รับงานอย่างทั่วถึง |
Abstract
The objective of this study were to determine the behavior of time use in daily life of women labors with take home job, learning styles, work adaptation, health care and receiving of news and informations to improving their life. The last objective was to determine situation of working at home, to predict the employment trends and find guidelines for improving potential of women labors with take home job. In the first and second objective the sample used were 520 women labors who got textile products and clothes for home-work. Those women lived in Bangkok and its vicinity and other provinces in 4 parts of Thailand. Datas were collected by questionnaires and analyzed by descriptive statistic such as, mean, cross tabulation and graph. For the last objective, in-depth interview were conducted with entrepreneur, group leaders of women labors with take home job and officers in related organizations.
The findings were as follows :
1. Most of women labors, who got textile products and clothes for take home job, worked everyday in a week. In 24 hours of the day, they used times for 4 activities; take care tehmselves, working in occupation, production for family members and recreation for about 9.96, 9.56, 3.02 and 1.45 hours or about 41.5%, 39.9%, 12.6% and 6.0% of all times respectively..
2. The difference of age, marriage statud and children in family made the women labors with take home job had different times use patterns. In normal working time, they used 9.15 hours per day, and longer working time 13.3 per day in rush hours working. In rush hours, the women labors who were single or married with young age had more working times than old women labors (14 hours per day and 11-12 hours per day respectively)
3. Participation rate in take home job, both routine and extra job, in normal times, started at 6 a.m. and continuously increased untill 11.3 a.m., then decreased. It increased again in the evening between 06.00 – 09.00 p.m. In rush hours working, the participation rate in job was higher than normal times for every period, especially at 06.00 p.m. and after. About receiving of news and entertainment, the women labors use time for this activity by television between 04.30 – 11.00 p.m., especially 07.00 – 08.30 p.m. while in working period they used radio for received news and entertainment.
4. The women labors had learned about god from their experience in dressmaking and training from related organizations. Most of leaders of women labors wear veteran with ever been employee in garment factory.
5. The woman labors who got job for work at home with extra job did not have problems for adaptation when the job had suspended. In the other hand, who got job for work at home with routine job must find other job, such as working in agricultural. About health, many women labors used masks to protect dust and wore shoes when they worked with sewing machine. Some of them stilled neglect protection though the officers of related organizations suggested them about healthy.
6. Working at home is still important and run in conjunction with the entrepreneurs. However the entrepreneurs always need quality of product. The women labors mus increase skill to produce a quality work and support several works, that will result in more revenue of family and good quality of life. Wherewith the related organizations mus thoroughly support and encorage these woment labors.
|