บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการรับรู้ทางสังคมเกี่ยวกับการตีตราทางสังคมของเด็กและเยาวชนกระทำผิดหลังจากได้รับการปลดปล่อยจากศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน มีวัตถุประสงค์สามประการ ได้แก่ ประการแรกศึกษาถึงการรับรู้ทางสังคมของเด็กและเยาวชนกระทำผิดเกี่ยวกับการตีตราทางสังคมที่เด็กและเยาวชนได้รับหลังจากได้รับการปลดปล่อยจากศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน ประการที่สองศึกษาถึงลักษณะหรือวิธีการที่เด็กและเยาวชนกระทำผิดใช้ในการเผชิญกับปัญหาการตีตราทางสังคมที่ได้รับหลังจากได้รับการปลดปล่อยจากศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน และประการสุดท้ายเพื่อเปรียบเทียบการรับรู้ทางสังคมและลักษณะการเผชิญปัญหาการตีตราทางสังคมระหว่างเด็กและเยาวชนที่มีจำนวนครั้งในการกระทำผิดซ้ำแตกต่างกัน การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลด้วยการสำรวจและสัมภาษณ์เชิงลึก กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเด็กและเยาวชนกระทำผิดที่เป็นคดีกระทำผิดซ้ำเพื่อที่จะทราบถึงประสบการณ์การได้รับการตีตราทางสังคมและการเผชิญปัญหาการตีตรานั้น ในช่วงระยะเวลาที่เคยได้กลับไปใช้ชีวิตในสังคมหลังจากได้รับการปล่อยตัวจากศูนย์ฝึกฯ ในการกระทำผิดครั้งก่อน จำนวน 155 คน ในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน 5 แห่ง ได้แก่ ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงใหม่ , จังหวัดขอนแก่น , จังหวัดสุราษฎร์ธานี , ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนชายบ้านอุเบกขา และ ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนหญิงบ้านปรานี
ผลการวิจัยพบว่า เมื่อได้รับการปล่อยตัวจากศูนย์ฝึกฯ จากการกระทำผิดแล้วเด็กและเยาวชนกระทำผิดส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้รับรู้การตีตราทางสังคมหรือได้รับรู้ไม่บ่อยนัก แต่สำหรับในกรณีที่ได้รับการตีตรานั้น การตีตราที่ได้รับจากคนในสังคมมักเป็นลักษณะของการใช้คำพูด ท่าทาง สายตา เป็นส่วนใหญ่ที่ถึงแม้จะนำมาซึ่งความรู้สึกที่ไม่ดีของเด็กและเยาวชน ตลอดจนอารมณ์และความเครียดทางจิตใจอยู่บ้าง แต่ก็ไม่รุนแรงถึงขนาดการกีดกันแบ่งแยกหรือเลือกปฏิบัติในการใช้ชีวิตประจำวันมากนัก ส่วนวิธีการเผชิญปัญหาของเด็กและเยาวชนกระทำผิดเมื่อได้รับการตีตราทางสังคมนั้น พบว่า เด็กและเยาวชนกระทำผิดมีการใช้วิธีการเผชิญปัญหาการตีตราทางสังคมที่ได้รับ(ในกรณีที่ได้รับ) ทั้ง 3 รูปแบบ คือ ทั้งการเผชิญปัญหาแบบมุ่งจัดการกับปัญหา (Problem – Focus Coping) การเผชิญปัญหาแบบแสวงหาสิ่งสนับสนุนทางสังคม (Seeking Social Support) และ การเผชิญปัญหาแบบหลีกหนี (Avoidance) โดยที่มีใช้วิธีการเผชิญปัญหาในแบบหลีกหนี (Avoidance) มากกว่ารูปแบบอื่นๆ แต่ทั้งนี้ไม่พบว่าเด็กและเยาวชนที่มีจำนวนครั้งในการกระทำผิดซ้ำแตกต่างกันนั้นมีการรับรู้การตีตราทางสังคมและการเผชิญปัญหาการตีตราทางสังคมที่แตกต่างกัน
|
Abstract
The purposes of this quantitative research were 1)to studying of social perceptions about juvenile delinquent concerning social stigma which receive in outside living of the Juvenile Vocational Training Centers 2) to studying the methods that juvenile delinquents used to coping with social stigma which receive in outside living of the Juvenile Vocational Training Centers and 3) to compare the social perceptions and the methods to coping with social stigma among juveniles in a number of different recidivism. The research data were collected by survey and in-depth interview with juvenile recidivism in order to study social perception and coping with social stigma duringoutside living of the Juvenile Vocational Training Centersperiod. The researcher studies from 155 people of 5 Juvenile Vocational Training Centers (Regional Juvenile Vocational Training Centre, Chiangmai Province, Khonkaen Province, Suratthani Province, Ban Ubekka Juvenile Vocational Training Centre for Boys and Ban Pranee Juvenile Vocational Training Centre for Girls)
The finding suggested that once released from Juvenile Vocational Training Centers, most of juvenile delinquents did not recognize the social stigma or it once get to know. The stigma of people in society was often characterized by the use of words, gestures and eyes for the most part. Even though it brought a bad impression of juvenile, as well as emotional and mental stress in a way, but it was not severe enough to discourage discrimination or discrimination in everyday life too. The methods that juvenile delinquents used to coping with social stigma, it was found that juvenile delinquents had a way of coping with the social stigma that had been (if received); the 3 types were Problem – Focus Coping, Seeking Social Support and Avoidance, used of Avoidance than other forms.However, the research did not find that juvenile in a number of different recidivism had different perceptions of social stigma and coped.
|