บ้าน วัด โรงเรียน กับการใช้วิธีเศรษฐกิจพอเพียงในการส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัว
  Home, Temple and School Influence the Use of Sufficiency Economy to Promote Family
  นางสาวยุรนันท์ ตามกาล
  นักวิจัย สถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

บทคัดย่อ
          บทความเรื่อง บ้าน วัด โรงเรียน กับการใช้วิถีเศรษฐกิจพอเพียงในการส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว  เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเรื่องการใช้วิถีเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนในการส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว   ซึ่งในบทความนี้นำเสนอผลการวิจัยในวัตถุประสงค์สองประการ ได้แก่ ประการที่หนึ่ง การศึกษาวิธีการและเนื้อหาในการส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัวของบุคลากรของบ้าน วัด และโรงเรียนในชุมชนที่มีวิถีชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงและชุมชนที่ไม่มีวิถีชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง   ประการที่สอง การศึกษาแนวทางในการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงของบุคลากรของ บ้าน วัด และโรงเรียน ในการส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว  การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ  เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกบุคลากรของ บ้าน วัด โรงเรียน ในชุมชนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ และชุมชนใกล้เคียงที่ไม่ได้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ  ใน 4 พื้นที่ (ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้) รวม 8 ชุมชน และการสนทนากลุ่มร่วมกันของบุคลากรทั้งสามฝ่ายของทั้งสองชุมชนในแต่ละพื้นที่    โดยพื้นที่ที่ทำการศึกษาได้แก่ ภาคเหนือ ชุมชนบ้านแม่ใสกลาง หมู่ 2 ตำบลแม่ใส  อำเภอเมืองพะเยา  จังหวัดพะเยา และชุมชนบ้านแม่ใสเหนือ หมู่ 9 ตำบลแม่ใส  อำเภอเมืองพะเยา  จังหวัดพะเยา     ภาคกลาง  ชุมชนบ้านบางสะแก หมู่ 6  ตำบลบางสะแก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม และชุมชนบ้านบางสะแก หมู่ 4 ตำบลบางสะแก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ชุมชนบ้านบึงสวางค์ หมู่ 5 ตำบลบึงเนียม อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น และ ชุมชนบ้านบึงใคร่นุ่น หมู่ 2 ตำบลบึงเนียม อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น  ภาคใต้ ชุมชนบ้านห้วยเหรียง หมู่ 7  ตำบลกระบี่น้อย อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่  และชุมชนบ้านเขาตั้ง หมู่ 8 ตำบลกระบี่น้อย อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่  
           ผลการศึกษาพบว่า วิธีการ และเนื้อหาการส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัวที่บ้าน วัด โรงเรียน มีนั้น มักเป็นลักษณะของการส่งเสริมตามภาระหน้าที่บทบาทของสถาบัน  ส่วนใหญ่เป็นไปตามนโยบายของรัฐอยู่แล้ว จึงทำให้มีวิธีการและเนื้อหาเหมือนหรือใกล้เคียงกันทุกพื้นที่ ทั้ง 4 พื้นที่ 8 ชุมชน  และยังไม่ได้มีนโยบายที่เชื่อมโยงกับมาตรฐานครอบครัวเข้มแข็งอย่างชัดเจน    ในประเด็นความเชื่อมโยงระหว่างการใช้วิถีเศรษฐกิจพอเพียงกับการส่งเสริมความเข้มแข็งครอบครัวนั้น  ไม่พบความเชื่อมโยงดังกล่าวในลักษณะที่เป็น “ความตั้งใจ”  หรือ “นโยบาย”  ในระดับชุมชนที่จะใช้หลักวิถีเศรษฐกิจพอเพียงมาช่วยส่งเสริมให้เกิดความเข้มแข็งของครอบครัว   แต่ที่พบว่ามีอยู่แล้วในชุมชนในพื้นที่ที่ศึกษาคือ ผลผลิตและผลพลอยได้ของวิถีเศรษฐกิจพอเพียงในรูปของกิจกรรมทางการเกษตรหรือกิจกรรมอื่นๆ ไปช่วยส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัวในบางประการ    ซึ่งในผลการศึกษายังพบปัญหาและอุปสรรคของการที่ บ้าน วัด โรงเรียน จะใช้วิถีเศรษฐกิจพอเพียงในการส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัวด้วย  และตอนท้ายของการศึกษาได้เสนอแนวทางการใช้วิถีเศรษฐกิจพอเพียงในการส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัวสำหรับ บ้าน วัด และโรงเรียน ซึ่งมีที่มาจากการสนทนากลุ่มร่วมกันของบุคลากรทั้งสามสถาบัน

           คำสำคัญ : บวร, บ้าน วัด โรงเรียน,วิถีเศรษฐกิจพอเพียง,ความเข้มแข็งของครอบครัว


Abstract

           This article is about how home, temple and school influence the use of sufficiency economy to promote family strength; part of the research "A Utilization of Sufficiency Economic for Development Strength of Family Institute". This research aimed to 1.) to study the processes, methods and contents that are used to promote family strength of member of home, temple and school in the community with and without sufficiency economics' way of life, 2.) to study sufficiency economics' way of life of the members of the home, temple and school in promoting a family strength.

           This research is qualitative research; collects data by using an in-depth interview from members of home, temple and school in prototype sufficiency economic community and community without prototype sufficiency economic from 4 regions (North, Central, Northeast and South) for a total of 8 communities; using focus group from member of home, temple and school in prototype sufficiency economic community and community without prototype sufficiency economic. The areas of study are; The North is Maesai middle, Village No. 2, Masia Sub-District, Muang District, Phayao and Maesai north, Village No, 9, Masia Sub-District, Muang District, Phayao; The Central is Banbangsakae, Village No. 6, Bangsakae Sub-District, Bangkontee District, Samutsongkram and Banbangsakae, Village No. 4, Bangsakae Sub-District, Bangkontee District, Samutsongkram; The Northeast is Banbungsawang, Village No. 5, Bungneiym Sub-District, Muang District, Khonkaen and Banbungkrinun, Village No. 2, Bungneiym Sub-District, Muang District, Khonkaen and the South is Banhuayreing, villag No. 7, Krabinoi Sub-District, Muang District, Krabi and Bankheatang, villag No. 7, Krabinoi Sub-District, Muang District, Krabi

           The results showed that processes, methods and contents that are used to promote the family strength of member of home, temple and school follow the principles and functions of the institution and government policies. Because of this reason, 4 regions with a total of 8 areas have the same processes, methods and contents, and government policies are not related to family strength.

           The issue of relation between sufficiency economic and promotion the family strength, the result of community do not show "Intention" or "Policy" to use sufficiency economics to promote the family strength but it is a way of life of member in community. Sufficiency economics is in terms of agricultural activities, or other activities that help promote family strength in some respects. However, the results showed that there are many problems and difficulties in sufficiency economics' way of life of the members of the home, temple and school in promoting family strength. At the end of the study, researcher proposes the way to use sufficiency economics to promote the family strength for home, temple and school, which is derived from focus group from all three institutions.

           Keywords: BAWORN, Home Temple School, Sufficiency economics, Family strength