ทักษะและคุณสมบัติที่จำเป็นสำหรับแรงงานไทยในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
Required Skills and Qualifications for Thai Workers in Electronic industry

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัญญลักษณ์ วีระสมบัติ อาจารย์ประจำ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คริษฐา อ่อนแก้ว นักวิจัย สถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

บทคัดย่อ
          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทักษะและคุณสมบัติที่จำเป็นสำหรับแรงงานระดับปฏิบัติการ หัวหน้างาน และช่างเทคนิคในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ตัวแทนสถานประกอบการอิเล็กทรอนิกส์จำนวน 16 ท่าน จาก 10 สถานประกอบการ ใช้วิธีการวิเคราะห์รายประเด็น ผลการวิจัยพบว่าแรงงานระดับปฏิบัติการจำเป็นต้องมีทักษะทั่วไป ได้แก่ ทักษะการทำงานตามมาตรฐาน ทักษะการทำงานที่หลากหลาย ทักษะการอ่านออกเขียนได้ ทักษะการระบุปัญหา/ความผิดปกติ ทักษะเชิงกระบวนการทำงาน ทักษะการปรับปรุงงาน ทักษะการตัดสินสินใจ ทักษะการทำงานร่วมกับเครื่องจักร ทักษะการติดต่อสื่อสาร และ ทักษะการเขียนรายงาน ทักษะเฉพาะที่ต้องการ ได้แก่ ทักษะการเชื่อม/บัดกรี และทักษะการใช้กล้องตรวจงาน หัวหน้างานจำเป็นต้องมีทักษะทั่วไป ได้แก่ ทักษะความเข้าใจกระบวนการทำงาน ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการบริหารจัดการ ทักษะการติดตามงาน ทักษะการติดต่อสื่อสาร ทักษะการเขียนรายงาน/การนำเสนองาน ทักษะการสอนงาน ทักษะการบังคับบัญชา ทักษะความเป็นผู้นำ และทักษะการจูงใจลูกน้อง ช่างเทคนิคต้องการทักษะทั่วไป คือ ทักษะช่างพื้นฐาน ทักษะการปรับ/ตั้งค่า อุปกรณ์และเครื่องมือ ทักษะการซ่อมและบำรุงรักษาเครื่อง ทักษะภาษาอังกฤษ และทักษะการคิดวิเคราะห์และการเรียนรู้ นอกจากทักษะแรงงานจำเป็นต้องมีคุณสมบัติอื่นๆ คือ วินัย ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ ความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ รักการพัฒนาตัวเอง และมุ่งมั่นทุ่มเทต่องาน พฤติกรรมส่วนตัวของแรงงาน ได้แก่ การขาดวินัยในชีวิต ไม่รู้จักเก็บออม และสนใจวางแผนอนาคตต่ำ ล้วนเป็นอุปสรรคต่อการทำงานในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัยนี้คือ ควรเพิ่มการส่งเสริมความร่วมมือด้านการฝึกทักษะระหว่างสถาบันการศึกษากับภาครัฐในรูปแบบสหกิจศึกษาให้มากขึ้น หน่วยงานภาครัฐที่มีบทบาทในการพัฒนาทักษะแรงงานควรกำหนดรูปแบบและรายละเอียดการฝึกทักษะและคุณสมบัติที่สอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ให้มากขึ้น ในขณะที่สถาบันการศึกษาควรปลูกฝังคุณสมบัติที่จำเป็นสำหรับการทำงานผ่านกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสมีความพร้อมที่จะทำงานในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างเหมาะสม

           คำสำคัญ : ทักษะทั่วไป, ทักษะเฉพาะ, คุณสมบัติ, พฤติกรรมส่วนตัว


Abstract

           This research studies required skills and qualifications for front-line workers, supervisors, and technician in the electronic industry. Utilizing qualitative research method, the research collected data through conducting interviews, involving 16 participants from 10 electronic assemblers. Through thematic analysis, major findings are as follows. Front-line workers are required to have general skills, including the abilities to follow standardized work, multiple skills, literacy, work improvement, accuracy, teamwork, problem identification skill, articulation skill, continuous improvement skill, decision making skill, machine operational skill, communication, and reporting skill. Some specific skills required from front-line workers include soldering skill and optical inspection skill. Meanwhile, supervisors are required to have general skills, namely work process skill, problem solving skill, managerial skill, monitoring skill, communication skill, coaching skill, directing skill, leadership skill, and motivation skill. Technicians need to have general skill, namely electric and mechanic fundamental skill, machine operational skill, maintenance skill, English skill, and critical thinking and ability to learn. Apart from such skills, front-line worker, supervisor, and technician are required to have other qualifications, including, discipline, responsibility, honesty, system thinking, self development, and delegation to work. In addition, there are some personal characters detrimental to working in the electronic industry, such as lack of self discipline, insufficient saving, and low sense of future oriented. To enhance skill development, this study suggests that co-operation between the government and the private sector should be promoted further, in particular the co-operative education, so-called 'dual educational system'. For the government's role on skill development, key improvement should be the more focus on developing skills that suits the industry's needed. Meanwhile, educational institutions should do more in nurturing and developing proper manners and attitudes, such as discipline, responsibility, and honesty for the young Thais so that they possess proper qualifications and ready to work in the electronic industry.

           Keywords: general skill, specialized skill, qualification, personal character