การวิจัยเชิงทดลองโปรแกรมฝึกอบรมปัจจัยทางจิตวิทยาเพื่อพัฒนาความสำเร็จการประกอบธุรกิจในผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดย่อมไทยประเภทที่พัก : ระยะที่ 1 การสร้าง พัฒนาคุณภาพ และการทดลองนำร่องโปรแกรมเพื่อการพัฒนาความสำเร็จของการประกอบธุรกิจด้วยปัจจัยทางจิตวิทยา
 An Experimental Research Project of The Training Program for developing business success through the employment of psychological factors of the Thai Accommodation Small Business Entrepreneurs : Phase I Creating quality development and an experimental pilot study in order to develop business success through the employment of psychological factors of the Thai Accommodation Small Business Entrepreneurs
อาจารย์ ดร.อุบลวรรณา ภวกานันท์ ภาควิชาจิตวิทยา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

บทคัดย่อ
          การวิจัยระยะที่ 1 นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง พัฒนาคุณภาพ และทำการทดลองนำร่องโปรแกรมฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความสำเร็จในการประกอบการด้วยปัจจัยทางจิตวิทยา กลุ่มตัวอย่างถูกสุ่มมาจากผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดย่อมการท่องเที่ยวและโรงแรมอิสระที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างจริงของวิจัยระยะที่ 2 ซึ่งผู้ประกอบการตัวอย่างเหล่านี้ต้องดำเนินกิจการมาอย่างน้อย 5 ปี และอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ต้องสมัครใจเข้าร่วมวิจัยนี้ ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 54 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 27 คน และกลุ่มทดลอง 27 คน

           เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ โปรแกรมการฝึกอบรมในปัจจัยทางจิตวิทยาที่สร้างจากทฤษฏีแบบจำลองกีเซน-อัมสเตอรดัม (1999) และผลวิจัยจากโครงการปัจจัยทางจิตวิทยาของความสำเร็จในการประกอบการของผู้ประกอบวิสาหกิจขนาดย่อมไทยธุรกิจการท่องเที่ยวและที่พัก : ความรู้ (2552, 2553, 2554) และแบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้างเป็นรายบุคคล และแบบสอบถามประเมินค่าด้วยตนเองเพื่อใช้ประเมินปัจจัยทางจิตวิทยาและความสำเร็จของการประกอบการ

           การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา ข้อมูลเชิงสรุปผล และการทดสอบสมมติฐานซึ่งได้แก่ T-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้
           1. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอายุมากกว่า 40 ปี เป็นโสด เป็นคนกรุงเทพฯ มีอายุกิจการมา 6-10 ปี ใช้เงินลงทุนต่ำกว่า 10 ล้านบาท
           2. ผลของทุกปัจจัยทางจิตวิทยาและระดับความสำเร็จในการประกอบการของกลุ่มควบคุมกับกลุ่มทดลองในระยะก่อนการทดลองนั้นไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติใดๆ ทุกกลุ่ม
           3. ผลของการเปรียบเทียบปัจจัยทางจิตวิทยาต่างๆ ของกลุ่มควบคุมทั้งก่อนและหลังการทดลองกับกลุ่มทดลองหลังการทดลอง (ทันที) ไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเกือบทั้งหมด จะพบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติก็น้อยมากเป็นแค่เพียงบางด้านเท่านั้น
           4. ผลของกลุ่มทดลองระยะหลังการทดลองแล้ว 2 เดือน สามารถสร้างความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหรือปรับระดับได้ดีกว่ากลุ่มควบคุมในระยะก่อนหรือหลังการทดลองได้โดยเฉพาะในระดับความสำเร็จในการประกอบการ ผลนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมพัฒนาความสำเร็จในการประกอบการด้วยปัจจัยทางจิตวิทยาสามารถที่จะทำตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการได้จริง

           คำสำคัญ : ปัจจัยทางจิตวิทยา ระดับความสำเร็จในการประกอบการ กลยุทธ์ในการดำเนินงาน บุคลิกการเป็นผู้ประกอบการ ภูมิความรู้ความชำนาญ สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดย่อม


Abstract

           The objective of this phase I study is to create, quality development, and pilot experiment of the training program for developing business success through the employment of psychological factors with the entrepreneurs in the Thai tourism and free hotel small business, which is running over than 5 years, in Bangkok and the surrounding areas. These randomized entrepreneur-subjects have to be willing to participate in the experiment. Total subjects are 54; 27 randomized subjects are the control group, and the other 27 randomized subjects are the experiment group.

           The instruments being used in this study are the training program for developing business success through the employment of psychological factors, which is created by the idea of GIssen-Amsterdam model (1999) and the results from the research project of psychological factors of entrepreneurial success in tourism and accommodations small business entrepreneurs: knowledge (2552, 2553, 2554), and the individual structured interviews and the questionnaires which compose of entrepreneurs' self-report of the psychological factors, and the business success.

           The SPSS program is used to analyze of descriptive statistic and Inferential statistics. T-test is used to test the hypotheses with the significant level of 0.05 and 0.01. The findings are as follows:
           1. Most of the subjects are woman with over 40 years old, single, live in Bangkok, business is running between 6-10 years, business investment is lower than 10 million bath.
           2. Results of all psychological factors and the level of business success in the Control and the Experimental groups of the pre-experiment period are not significantly different from one another.
           3. Comparing results of all psychological factors between the control group in the pre and the post experimental period (after finish training) with the experiment group in the post experimental period (after finish training), can't illustrated any significant differences, only some sub-factors show some small different results.
           4. Results of the experiment group in the post experiment -2 month- period can demonstrated the significant differences or the higher level than all other study groups. These results show that the training program for developing business success through the employment of psychological factors has the quality followed the objective of the study.

           Keywords: Psychological factors, Level of business success, Business strategy, Entrepreneurial orientations, Human capital, Business environment, Small business entrepreneur