การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของอุตสาหกรรมยางพาราในประเทศไทย
Strategic Human Resource Management to Cope ASEAN Economic Community (AEC) of the Rubber Industry in Thailand

ดร.วิภาวรรณ  กลิ่นหอม อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจ
สำนักวิชาการจัดการ  มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์


บทคัดย่อ
          การศึกษานี้ใช้กระบวนทัศน์แบบ Constructivism และ Interpretive เพื่อการก่อให้เกิดทฤษฎีและองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของอุตสาหกรรมยางพารา จากมุมมองของผู้บริหารองค์การ โดยเจาะจงศึกษากิจการขนาดใหญ่และขนาดกลางในอุตสาหกรรมยางพารา ในเขตพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดสุราษฎร์ธานี การศึกษานี้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ และเลือกใช้ Research Strategy แบบ Case Study และ Grounded Theory การคัดเลือกผู้ให้ความเห็นใช้วิธี Theoretical Sampling การเก็บข้อมูลเลือกใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ความเห็นจำนวน 23 ราย และใช้วิธีการสังเกตรวมถึงการศึกษาข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องประกอบ ใช้การวิเคราะห์แบบฝังลึกและใช้การตีความแบบทางอ้อมร่วมด้วย โดยการศึกษาค้นพบแนวคิดสำคัญเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ในอุตสาหกรรมยางพาราประกอบด้วย 16 กลุ่มแนวคิดคือ 1) สถานการณ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์ในอุตสาหกรรมยางพาราปัจจุบัน 2) จุดแข็งของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในอุตสาหกรรมยางพารา 3) จุดอ่อนของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในอุตสาหกรรมยางพารา 4) โอกาสของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในอุตสาหกรรมยางพารา 5) อุปสรรค/ข้อจำกัดของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในอุตสาหกรรมยางพารา 6) การวางแผนกำลังคนขององค์การในอุตสาหกรรมยางพารา 7) การสรรหาบุคลากรขององค์การในอุตสาหกรรมยางพารา 8) การคัดเลือกบุคลากรขององค์การในอุตสาหกรรมยางพารา 9) การพัฒนาบุคลากรขององค์การในอุตสาหกรรมยางพารา 10) การประเมินการปฏิบัติงานบุคลากรขององค์การในอุตสาหกรรมยางพารา 11) การจัดการค่าตอบแทนบุคลากรขององค์การในอุตสาหกรรมยางพารา 12) การรักษาบุคลากรขององค์การในอุตสาหกรรมยางพารา 13) การจัดการระบบสารสนเทศในการจัดการทรัพยากรมนุษย์ 14) แนวทางการจัดการทั่วไปในงานทรัพยากรมนุษย์ 15) แนวทางการจัดการทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชมอาเซียน และ 16) ประเด็นอื่นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในอุตสาหกรรมยางพารา 

           คำสำคัญ : การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์   ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน   อุตสาหกรรมยางพารา

 

Abstract

          This study applied a constructivism and interpretive paradigm in order to explore and compile description of the attitudes of Thai rubber industry executives and other related toward the human resource management strategy of Thai rubber industry to move forward to ASEAN Economic community based on their perceptions of the Thai rubber industry in the area of Nakhon Srithammarat province and Surattani province. A qualitative research approach was applied for this study. A Case Study and Grounded Theory were used for the research design, and theoretical sampling was adopted to identify 23 participants who have experience with the human resource management of Thai rubber industry. Interview data, document reviews and observation were integrated in order to answer the research questions, and data was collected through the use of in-depth interviews. Embedded Analysis and Indirect Interpretation were also used to analyze in each case. The finding was presented through sixteen conceptual categories. The sixteen components of finding of this research are: 1) Human resource management situation of Thai rubber industry in present 2) Strength of human resource management in Thai rubber industry 3) Weakness of human resource management in Thai rubber industry 4) Opportunity of human resource management in Thai rubber industry 5) Threat of human resource management in Thai rubber industry 6) Man power planning of the organization in Thai rubber industry 7) Employee Recruitment of the organization in Thai rubber industry 8) Employee selection of the organization in Thai rubber industry 9) Human resource development of the organization in Thai rubber industry 10) Employee performance appraisal of the organization in Thai rubber industry 11) Compensation management of the organization in Thai rubber industry 12) Employee retention of the organization in Thai rubber industry 13) Management information system in human resource management of the organization in Thai rubber industry 14) General management in human resource task 15) the way of human resource management to move forward to Asean Economic Community (AEC), and 16) other issues human resource management related.

           Keywords: Strategic Human Resource Management, ASEAN Economic Community, Rubber Industry