การเสริมสร้างพลังอำนาจในงานเชิงจิตวิทยา เจตคติต่อระบบ HACCP และบรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในระบบ HACCP ของพนักงานโรงงานไก่แปรรูป
Psychological Empowerment, Attitudes Towards an HACCP System, and Organizational Climate Affecting Participation Behaviors of Employees at a Processed Chicken Factory in an HACCP System

ดร.วิภาวรรณ  กลิ่นหอม อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจ
สำนักวิชาการจัดการ  มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์


บทคัดย่อ
          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ (1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในระบบ HACCP การเสริมสร้างพลังอำนาจในงานเชิงจิตวิทยา เจตคติต่อระบบ HACCP และบรรยากาศองค์การของพนักงานโรงงานไก่แปรรูป (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเสริมสร้างพลังอำนาจในงานเชิงจิตวิทยา เจตคติต่อระบบ HACCP และบรรยากาศองค์การกับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในระบบ HACCP ของพนักงานโรงงานไก่แปรรูป (3) เพื่อศึกษาการพยากรณ์พฤติกรรมการมีส่วนร่วมในระบบ HACCP โดยมีการเสริมสร้างพลังอำนาจในงานเชิงจิตวิทยา เจตคติต่อระบบ HACCP และบรรยากาศองค์การของพนักงานโรงงานไก่แปรรูปเป็นตัวแปรพยากรณ์ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้เป็นพนักงานโรงงานไก่แปรรูป จำนวน 350 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคล แบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในระบบ HACCP แบบสอบถามเกี่ยวกับการเสริมสร้างพลังอำนาจในงานเชิงจิตวิทยา แบบสอบถามเกี่ยวกับเจตคติต่อระบบ  HACCP และ แบบสอบถามเกี่ยวกับบรรยากาศองค์การ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วย การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบ enter

           คำสำคัญ : พฤติกรรมการมีส่วนร่วมในระบบ HACCP    การเสริมสร้างพลังอำนาจในงานเชิงจิตวิทยา เจตคติต่อระบบ HACCP     บรรยากาศองค์การ    ระบบ HACCP 


Abstract

          In this thesis, the researcher studies (1) participation behaviors in a hazard analysis and critical control points (HACCP) system, psychological empowerment, attitudes towards HACCP, and the organizational climate for selected employees at a processed chicken factory. The researcher also examines (2) the relationships between psychological empowerment, attitudes towards the HACCP system, organizational climate, and participation behaviors in an HACCP system on the part of these employees.  Finally, the researcher frames (3) a forecast of participation behaviors in the HACCP system with psychological empowerment, attitudes toward the HACCP system, and organizational climate as predictive variables. The sample population consisted of 350 employees at a processed chicken factory. Research instruments consisted of a questionnaire eliciting data concerning demographical characteristics; a questionnaire pertaining to participation behaviors in the HACCP system; a questionnaire regarding psychological empowerment; a questionnaire dealing with attitudes toward the HACCP system; and a questionnaire involving organizational climate. Using techniques of descriptive statistics, the researcher analyzed the data collected in terms of percentage, frequency distribution, mean and standard deviation. Hypothesis testing was carried out by applications of Pearson’s product moment correlation coefficient and multiple regression analysis.

           Keywords: participation behaviors in a hazard analysis and critical control points (HACCP) system, psychological empowerment, attitudes towards HACCP, organizational climate, HACCP system