ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะผู้นำที่มีประสิทธิภาพกับความผูกพันของพนักงานระดับหัวหน้างาน
รุ่นเจเนอเรชั่นวายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนนทบุรี

Relations of  leader effectiveness to the employee engagement of the generation Y chief’s level in the Manuciple Organizations of Nonthaburi Province

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อุบลวรรณา ภวกานันท์
คณะศิลปศาสตร์   มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นางสาวยุรนันท์  ตามกาล
นักวิจัย สถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


บทคัดย่อ
          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะและความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะผู้นำที่มีประสิทธิภาพกับความผูกพันของพนักงาน รวมทั้งสร้างสมการพยากรณ์ความผูกพันของพนักงาน  กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานระดับหัวหน้างานที่มีอายุระหว่าง 21 - 40 ปี ในส่วนงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแบบเทศบาล จังหวัดนนทบุรีจำนวน 154 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามวัดลักษณะผู้นำที่มีประสิทธิภาพและความผูกพันของพนักงาน สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบขั้น ผลการวิจัยพบว่า  ลักษณะผู้นำที่มีประสิทธิภาพในด้านบารมีหรืออิงค่านิยมและด้านมนุษยธรรมอยู่ในระดับค่อนข้างสูง ส่วนด้านอื่นๆ อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนความผูกพันของพนักงาน ความผูกพันกับงาน และความผูกพันกับองค์การ พบว่ามีอยู่ในระดับค่อนข้างสูงทั้งหมด ผลการเปรียบเทียบตัวแปรด้วยปัจจัยส่วนบุคคลพบว่า ไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในด้านใดๆ ของทุกปัจจัย ส่วนผลการวิเคราะห์สมมติฐานพบว่า ลักษณะผู้นำที่มีประสิทธิภาพเฉพาะลักษณะเชิงบารมีหรืออิงค่านิยม ลักษณะการมุ่งเน้นทีมงาน ลักษณะมุ่งเน้นมนุษยธรรม และลักษณะการมีส่วนร่วมเท่านั้นที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความผูกพันของพนักงานและความผูกพันกับงาน รวมทั้งยังมีความสัมพันธ์กับความผูกพันกับองค์การ (ยกเว้นด้านลักษณะการมีส่วนร่วม) ส่วนความผูกพันกับงานมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความผูกพันกับองค์การ โดยทั้งความผูกพันกับงานและความผูกพันกับองค์การต่างก็มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความผูกพันของพนักงานด้วย นอกจากนั้นผลของสมการพยากรณ์พบว่า ลักษณะผู้นำที่มีประสิทธิภาพในทุกปัจจัยไม่สามารถทำนายความผูกพันของพนักงาน ความผูกพันกับองค์กรได้ แต่ปัจจัยของลักษณะการมุ่งเน้นทีมงาน  ลักษณะการปกป้องตนเอง และลักษณะการมีส่วนร่วม สามารถร่วมกันทำนายความผูกพันกับงานได้ร้อยละ 46


           คำสำคัญ : เจเนเรชั่น วาย,  ลักษณะผู้นำที่มีประสิทธิภาพ,  ความผูกพันของพนักงาน,  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


Abstract

          The objectives of this research were to study the characteristics and relationships of leader effectiveness to employee engagement, including developing prediction equation of employee engagement. 154 subjects were the officer chief’s level of 21-40 year, in Nonthaburi manuciple organizations. Research instruments were questionnaires of demographic information, leader effectiveness, and employee engagement. Percentage, mean, Pearson’s product moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis were utilized for data analysis. The results showed that leader effectiveness in dimension of charismatic/value-based and humane orientation, were rather high. Whereas other dimensions were medium. Employee engagement, work engagement, and organizational engagement were rather high. No significant differences were found in comparison of demographic information by leader effectiveness, and employee engagement. Charismatic/value-based, team-oriented, humane oriented, and participative leader effectiveness were significant positively related to employee engagement, work engagement, and organizational engagement (except self-protective and autonomous leader effectiveness). Work engagement was significant positively related to organization engagement, moreover, both of these engagements were significant positively related to employee engagement. Results of leader effectiveness could not predict employee engagement and organization engagement. However, the results of prediction equations indicated that team-oriented, self-protective, and participative leader effectiveness could jointly predict 46 percentage of work engagement.



           Keywords: Generartion Y,  leader effectiveness, employee engagement,  Manuciple Organizations