บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อสร้างโปรแกรมการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาอาชีพ ตามแนวคิด Two – Generation Approach ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือ 2) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้โปรแกรมการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาอาชีพ ตามแนวคิด Two – Generation Approach ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือ และ 3) เพื่อประเมินโปรแกรมการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาอาชีพ ตามแนวคิด Two – Generation Approach ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือ กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้สำหรับการวิจัย ประกอบด้วย 1) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสัมภาษณ์ จำนวน 30 คน 2) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสนทนากลุ่ม จำนวน 15 คน และ 3) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองและประเมินโปรแกรมการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาอาชีพ ตามแนวคิด Two – Generation Approach ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือ จำนวน 20 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วยผู้ใหญ่จำนวน 10 คน และเด็กที่มีอายุระหว่าง 10 -12 ปี จำนวน 10 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ t-test Dependent
ผลการวิจัยพบว่า
1. โปรแกรมการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาอาชีพ ตามแนวคิด Two – Generation Approach ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือ ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการ ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดหลักปรัชญาพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 3 การสร้างทีมงานกลุ่มที่มีความเชี่ยวชาญและคนในพื้นที่เพื่อทำการวิเคราะห์ภาพรวมทั้งหมดและกำหนดแผนการทำงานร่วมกัน ขั้นตอนที่ 4 การออกแบบโปรแกรม ประกอบด้วย 10 องค์ประกอบ คือ (1) หลักการและเหตุผล (2) วัตถุประสงค์ (3) เนื้อหาการฝึกอบรม (4) การจัดกิจกรรม (5) รูปแบบการเรียนรู้ (6) วิธีการฝึกอบรม (7) สื่อและอุปกรณ์
(8) งบประมาณ (9) ประโยชน์ที่ได้รับ (10) การประเมินผล ขั้นตอนที่ 5 การนำโปรแกรมไปปฏิบัติ ขั้นตอนที่ 6 การประเมินผลโปรแกรม ขั้นตอนที่ 7 การรายงานคุณค่าของโปรแกรม
2. ผลการทดลองใช้โปรแกรมการฝึกอบรม พบว่า 1) ผลการทดสอบวัดความรู้ก่อนและหลังเข้ารับการฝึกอบรมของผู้เข้ารับการฝึกอบรม พบว่าคะแนนเฉลี่ยหลังเข้ารับการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการเข้ารับการฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลการประเมินตามสภาพจริงการสานกระจาดแม่ลา พบว่า ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีผลงานการสานกระจาดแม่ลาโดยรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับดี 3) ผลการประเมินตามสภาพจริงการพัฒนาเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์ พบว่าผู้เข้ารับการ ฝึกอบรมมีการพัฒนาเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์สำเร็จรูปกับ www.lnwshop.com โดยรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับดี 4) ผลการสังเกตการเรียนรู้แบบร่วมมือของเนื้อหาการฝึกอบรม พบว่า โดยรวมผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีพฤติกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมืออยู่ในระดับมากที่สุด และ 5) ผลการประเมินกลยุทธ์ Two – Generation Approach ด้านการส่งเสริมคุณภาพการศึกษาให้กับเด็ก พบว่า โดยรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับด
ี
3. ผลการประเมินโปรแกรมการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาอาชีพ ตามแนวคิด Two – Generation Approach ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ดังนี้ ด้านผลผลิต รองลงมา ด้านกระบวนการ ด้านบริบท และด้าน
ตัวป้อนเข้าตามลำดับ และเมื่อพิจารณาในส่วนของด้านผลผลิต พบว่า การจัดกิจกรรมฝึกอบรมพร้อมกันระหว่างผู้เข้ารับการฝึกอบรม ช่วยให้เข้าใจเนื้อหาการฝึกอบรมได้ง่ายขึ้น และช่วยส่งเสริมให้ครอบครัวเกิดความผาสุก อยู่ในระดับมากที่สุด
คำสำคัญ : การพัฒนาโปรแกรมการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาอาชีพ, แนวคิด Two – Generation Approach, กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือ
|
Abstract
The purpose of this research were to develop a training program for career development based on Two – Generation Approach by Cooperative Learning. First to create and design a training program for career development based on a Two - Generation Approach by Cooperative Learning, second to experiment it, and third to evaluate it. The sample consisted of important persons in communities : 30 subjects for interviews, 15 for focus groups, and 20 for experiment and evaluation by purposive sampling which was divided into 10 adults and 10 children. Data were analyzed by using mean, standard deviation and hypothesis test by using t-test dependent statistic.
The Research found that
1. The development of the training program include seven steps; one was analyzing scope of problems and need , two was providing philosophy of education, three was building a team of expert groups and area residents to analyses the overall framework and planning together, four was designing a training program which has 10 elements (1) mission (criterias and reasons) (2) objectives (3) content (4) activities (5) learning model (6) method (7) instructional media (8) budgets (9) benefit and (10) evaluation, five was implementation, six was program evaluation, and seven was reporting the value of the program.
2. The results of the experimental training program found that the results of the knowledge test pre-test and post-test showed statistically significant differences in knowledge scores at .05 significance level. The results of the authentic assessment on Maela Basket and website development of the online shop found that overall trainees have a good quality level. The result of observation in cooperative learning of content found that overall trainees have behavior in cooperative learning at the level of highest. The results of strategic integrated Two – Generation Approach to support the education quality for children found that overall have good quality level.
3. The result of evaluating the training program found that overall the trainees have the level of highest. When considering each element it was found that all sections have the level of high as follows, the first was output, the second was process, the third was content and the last was input consequence. When considering the section of output it found that arranged training activity in which participated between members of families support the trainee simplifies understanding of content, and which support trainee’s families is to built well-being in the level of highest.
Keywords: The Development of Training Program for Career Development, Two – Generation Approach, Cooperative Learning Process
|