บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาการบริหารแรงงานของซัพพลายเออร์ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์สัญชาติไทย ด้วยข้อมูลจากการสัมภาษณ์ตัวแทนซัพพลายเออร์ฯ และหน่วยงานภาครัฐ รวม 31 คน และการใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลแรงงาน 425 คน ผลการวิจัยพบว่า ซัพพลายเออร์มีปัญหาการจ้างงาน คือ ความไม่พอเพียงด้านปริมาณและด้านคุณภาพแรงงาน และมีปัญหาการบริหารแรงงานภายในสถานประกอบ 4 ด้าน คือด้านการสรรหาคัดเลือกพบปัญหาการลาออก ความไม่ต่อเนื่องในการพัฒนาทักษะ ปัญหาค่าใช้จ่ายและความล่าช้าของภาครัฐในกระบวนการจ้างแรงงานต่างด้าวถูกกฎหมาย ด้านการบริหารค่าตอบแทน ไม่พบปัญหาที่ชัดเจน แต่พบว่าจัดสวัสดิการให้คนงานน้อยเกินไป ด้านการพัฒนาทักษะพบปัญหาคนงานมักลาออกหลังจากที่ได้รับการพัฒนาทักษะแล้วและปัญหาคนงานไทยไม่ค่อยอยากได้รับการพัฒนา ด้านการบริหารความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและแรงงานพบว่าไม่มีปัญหาที่เด่นชัด การบริหารความสัมพันธ์ระหว่างกันใช้วัฒนธรรมองค์การแบบเครือญาติ สำหรับความคิดเห็นของแรงงานต่อการบริหารแรงงานพบว่าอยู่ในระดับเห็นด้วยปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าแรงงานเห็นด้วยมากต่อด้านการพัฒนาทักษะ ในขณะเห็นด้วยปานกลาง 3 ด้านเรียงลำดับ คือ ด้านค่าตอบแทน ด้านความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและแรงงาน และด้านการสรรหาคัดเลือกอยู่ในลำดับสุดท้าย
งานวิจัยนี้เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารแรงงานโดยแยกเป็นบทบาทของสถานประกอบการและบทบาทรัฐ สำหรับสถานประกอบการสามารถนำข้อค้นพบจากงานวิจัยไปประยุกต์ใช้ได้ เช่น ปัญหาการขาดแคลนปริมาณแรงงาน แก้ไขโดยจ้างแรงงานต่างด้าวหรือใช้เทคโนโลยีมาทดแทน ปัญหาคุณภาพแรงงาน แก้ไขโดยใช้การฝึกอบรมแบบเน้นการปฏิบัติจริง (OJT) การแก้ไขปัญหาการบริหารแรงงานหลังการจ้างงาน อาศัยการใช้นวัตกรรมในวิธีการการบริหารแรงงาน เช่น ใช้ค่าตอบแทนประเภทต่างๆ เพื่อจูงใจให้คนงานไม่ลาออก เช่น การจ่ายโบนัสถี่มากกว่าปีละ 2 ครั้ง การจ่ายโบนัสตามอายุงานมากกว่าจ่ายตามผลการปฏิบัติงาน เป็นต้น ในขณะที่รัฐบาลควรมีนโยบายที่ชัดเจนและต่อเนื่องต่อการบริหารแรงงานโดยเฉพาะในช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่รถยนต์ใช้พลังงานไฟฟ้า เช่น แรงงานกลุ่มที่ผลิตอุปกรณ์ท่อไอเสียจะเตรียมทักษะอย่างไรเพื่อรองรับรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่ไม่มีระบบไอเสียแล้ว นอกจากนั้นควรเน้นสหกิจศึกษาให้มากขึ้นเพื่อให้แรงงานมีทักษะที่พร้อมปฏิบัติงานได้ทันทีหลังสำเร็จการศึกษา สำหรับแรงงานต่างด้าวเสนอว่าในระยะสั้นขณะที่แรงงานไทยยังมีสมรรถนะไม่สูงและสถานประกอบการยังไม่ปรับตัวเข้าหาเทคโนโลยี ภาครัฐยังจำเป็นต้องพัฒนาทักษะของแรงงานต่างด้าวเพื่อให้ซัพพลายเออร์ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์สัญชาติไทยที่จ้างแรงงานต่าวด้าวสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คำสำคัญ : ซัพพลายเออร์ , ปัญหาการบริหารแรงงาน
|
Abstract
This research aims to analyze the labor management problems facing Thai auto parts suppliers as well as to propose some possible solutions. The research was conducted by gathering data and information through interviewing 31 suppliers’ representatives and government agencies as well as a survey of 425 workers. Employing content and thematic analyses, the research has key findings as follows. The Thai auto suppliers have labor management problems in two stages: employment and management. For employment, there are shortages both in terms of quantity and quality. This study investigates 4 aspects of labor management within the workplaces. First, on recruitment and selection, four problems are outstanding, namely quitting, discontinuity in skill development, high labor expenditures, and delayed government procedures regarding the employment of legal migrant labor. Second, on the compensation system, there is no significant problem. Yet, it was found that welfare is not sufficiently provided to labor. Third, on skill development, there is a tendency that workers quit the job after having been trained and that Thai workers do not really desire skill development. Fourth, on labor relations, there is virtually no problem, as these suppliers tend to use kinship-like organization culture. Workers’ reaction on the four aspects of labor management are at moderate level.Considering each aspect, workers tended to agree with skill development the most, compared to the rest aspects which are at moderate level rated in the following order: compensation, then labor relations, while recruitment and selection came last.
This research proposes suggestions for firms and the government. For firms, employing migrant labor and adopting technology are suggested to solve the labor shortage problem. Meanwhile, the emphasis on OJT is suggested to solve the labor quality problem. Regarding labor management problems, firms must add innovation in managing their employees, particularly on compensation management that could motivate workers to continue working and minimize quitting rate. The government must have a clear, consistent, and integrative labor policy, particularly on the transition toward electric automobiles as the transition will create unemployment due to the termination of some suppliers such as suppliers doing business in automobile exhaust system. The government should also emphasize more on dual system training as it helps graduates to have ready skill needed to work. Regarding migrant labor, it is suggestible as a short-term measure that the government develop their skills to increase efficiency, while the Thai labor are yet to cope with new technology which suppliers are also slow to adopt or adjust themselves.
Keywords:Supplier, Labour Management
|