กำเนิดผู้บริหารมืออาชีพไทย : อดีต ปัจจุบัน และอนาคต
The Rise of Thai Professional Managers : Past , Present , and Future


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เนตรนภา ยาบุชิตะ
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


บทคัดย่อ
                    บทความวิจัยนี้นำเสนอหลักฐานการกำเนิดของผู้บริหารมืออาชีพไทย ย้อนไปในอดีตตั้งแต่ช่วงที่ประเทศไทยเริ่มพัฒนาอุตสาหกรรมตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยรัฐบาลได้ส่งเสริมการประกอบธุรกิจของภาคเอกชนอย่างจริงจังตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 จนถึงปัจจุบันที่ได้เข้าสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) แล้ว การศึกษานี้ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้ระเบียบวิธีการทางสถิติเก็บข้อมูลทุติยภูมิ 3 ชุด คือ ข้อมูลผู้บริหารระดับสูงของบริษัทเอกชน ในปี พ.ศ. 2530 ของนิตยสารผู้จัดการ (120 คน) ข้อมูลกรรมการผู้จัดการใหญ่หรือประธานกรรมการบริหาร (ซีอีโอ) ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2543
(259 คน) และ พ.ศ. 2559 (483 คน)
ผลการวิจัยพบว่าผู้บริหารมืออาชีพที่บริหารบริษัทเอกชนไทยอยู่นั้นแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ผสมผสานกัน คือ (1) เถ้าแก่หรือผู้ก่อตั้งรวมทั้งทายาท และผู้บริหารรับจ้างที่ไม่ใช่คนในครอบครัว ได้แก่ (2) ผู้บริหารลูกหม้อที่ทำงานตั้งแต่ระดับล่างและไต่เต้าสู่ตำแหน่งบริหาร และ (3) ผู้บริหารจากภายนอกที่เข้ามาในตำแหน่งบริหารเลย ผู้บริหารมืออาชีพไทยมีการศึกษาสูงขึ้นเรื่อยๆ ส่วนใหญ่เรียนจบด้านการบริหารโดยเฉพาะเอ็มบีเอ กว่าครึ่งหนึ่งจบจากต่างประเทศโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ดีสัดส่วนซีอีโอที่เป็นเถ้าแก่และทายาทยังคงมีอยู่สูง สะท้อนให้เห็นว่าส่วนใหญ่ยังคงเป็นธุรกิจครอบครัว ซึ่งต้องเผชิญกับปัญหาการสืบทอดกิจการไม่เกินสามรุ่น จึงจำเป็นต้องมีกลยุทธ์ในการพัฒนาสู่การเป็นบริษัทผู้บริหาร และระบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของผู้บริหารมืออาชีพที่ไม่ใช่คนในครอบครัวเพื่อสืบทอดกิจการในอนาคต


           คำสำคัญ : ผู้บริหารมืออาชีพ ผู้บริหารครอบครัว เถ้าแก่และทายาท ผู้บริหารรับจ้างที่ไม่ใช่คนในครอบครัว ผู้บริหารลูกหม้อ ผู้บริหารจากภายนอก


Abstract

          This paper presents evidences about the rise of professional managers in Thailand dating back to the start of industrialization according to the National Economic and Social Development Plans. Thai government has promoted the roles of private sector seriously since B.E. 2504 to the present, which has already entered the 12th National Economic and Development Plan (B.E.2560-2564). This study used quantitative research method based on three sets of secondary statistical data, including information on executives of private companies in B.E. 2530 published by the Manager Magazine (120 managers), profiles of the President or Chief Executive Officer (CEO) of the companies listed on the Stock Exchange of Thailand in B.E.2543 (259 persons) and B.E. 2559 (483 persons).

          The results indicate that the professional managers of private companies in Thailand were divided into three groups, comprising (1) the owners or founders and their successors; non-family employed managers including (2) internally-promoted managers who entered the company at a bottom level and then climb up into top management positions, and (3) managers from the outside who entered directly into top management positions. Most Thai professional managers also obtained higher educational levels. Most have specialized in management, especially MBA. Over half graduated from abroad, especially the United States. However, the proportion of CEOs who were founders and their heirs are still high, reflecting a high degree of family control, which must face the problem of the decay of the third generation. It is required strategies to develop family enterprises to managerial enterprises as well as to constitute human resource management system for non-family professional managers to hand over the family business in the future.



           Keywords: Professional managers, family managers, founders and heirs, non-family employed managers, internally-promoted managers or lifers, managers from outside