บทคัดย่อ
การเปรียบเทียบพฤติกรรมการบริโภคแบบพอเพียงของแรงงานต่างเจนเนอเรชั่นในนิคมอุตสาหกรรมนวนคร มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของแรงงานในเขตนิคมอุตสาหกรรม นวนครต่างเจนเนอเรชั่น บี เอ็กซ์ และวายต่อพฤติกรรมการบริโภคแบบพอเพียง การศึกษาในครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (survey research) วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเพื่อศึกษาข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนพฤติกรรมการบริโภคแบบพอเพียง ใช้ F-test ทดสอบสมมติฐาน
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 56.70 ส่วนใหญ่เป็นเจนเนอเรชั่นเอ็กซ์ ร้อยละ 43.00 รองลงมา ได้แก่ เจนเนอเรชั่นวาย ร้อยละ 36.50 และเจนเนอเรชั่นบี ร้อยละ 21.50 ตามลำดับ ส่วนใหญ่ทำงานอยู่ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ร้อยละ 54.20 กิจกรรมยามว่างของเจนเนอเรชั่นบีและเอ็กซ์ส่วนใหญ่ คือ ดูโทรทัศน์ อยู่บ้านนอนพักผ่อน ร้อยละ 80.23 และ 52.15 ตามลำดับ ส่วนเจนเนอเรชั่นวายส่วนใหญ่มีกิจกรรมยามว่าง คือ ดูหนัง ฟังเพลง ร้อยละ 58.22
ระดับพฤติกรรมการบริโภคแบบพอเพียงของแรงงานในนิคมอุตสาหกรรมนวนครอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ พบว่า ไม่ตามกระแส มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ การรู้คุณค่าทรัพย์สิน และจากผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า แรงงานในนิคมอุตสาหกรรมนวนครที่มีเจอเนอเรชั่นแตกต่างกัน จะมีพฤติกรรมการบริโภคแบบพอเพียงแตกต่างกัน โดยที่เจนเนอเรชั่นบี มีพฤติกรรมการบริโภคแบบพอเพียงมากกว่าเจนเนอเรชั่นเอ็กซ์และวาย ดังนั้น ผู้ควบคุมนโยบายภาครัฐควรส่งเสริมให้มีการผลิต เนื้อหาที่บรรจุหลักเศรษฐกิจพอเพียงในรูปแบบที่หลากหลาย สามารถนําเสนอให้เข้าใจได้อย่างง่ายดาย และชวนให้ติดตามอย่างต่อเนื่อง ผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต สื่อสังคมออนไลน์ และสื่อโทรทัศน์ อีกทั้ง ฝ่ายทรัพยากรบุคคลขององค์การควรดําเนินการจัดกิจกรรม การรณรงค์ พร้อมทั้งการสร้างต้นแบบบุคลากรด้านการพอเพียงเพื่อเป็นปัจจัยกระตุ้นให้พนักงานปฏิบัติตาม
คำสำคัญ : พฤติกรรมการบริโภคแบบพอเพียง, แรงงาน, เจนเนอเรชั่น, นิคมอุตสาหกรรมนวนคร
|
Abstract
The objective of the research was to compare the differences between workers of Generations B, X and Y regarding sufficient consumption behaviors. Data was captured from questionnaire. And analyzed using statistical tools of percentage, mean, and standard deviation regarding sufficient consumption behavior while the hypothesis was tested by the F-test.
The findings on personal data showed that the majority of the sample were female (56.7%). Forty three percent were Generation X, meanwhile the rest were Generation Y and Generation B (36.5% and 21.5%, respectively). Most of them worked in the electronic industry (54.2%). The leisure activities of Generations B and X were watching television and resting at home (80.23% and 52.15 respectively). While those of most of the Generation Y (58.22%) were watching movies and listening to music.
The sufficient consumption behaviors of workers in Navanakorn Industrial Estate were at a moderate level. The investigation of each component of the sufficient consumption behavior reveals that non-fashionable style were at the highest average value, followed by appreciation of asset. The testing of the hypothesis reveals that workers with different generations had different patterns of sufficient consumption behaviors. Generation B particularly exercised more sufficient consumption behavior than Generation X and Generation Y. Therefore, public sector should be support the creative several contents about sufficient consumption behaviors thru social media and private sector (HR) should be create activities or campaign to motivating sufficient consumption behaviors of workers.
Keywords: Sufficient Consumption Behavior, Workers, Generations, Navanakorn Industrial Estate
|