การจัดการทุนมนุษย์ยุคสื่อสังคมออนไลน์

Human Capital Management in the Era of Social Media

ยศธร ทวีพล
นักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต
คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
รองศาสตราจารย์ ดร. ศิริพร แย้มนิล
ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
รองศาสตราจารย์ ดร. กมลพร สอนศรี
ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
รองศาสตราจารย์ ดร. นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ
ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


บทคัดย่อ
          บทความนี้มุ่งศึกษาโดยอยู่บนฐานการตั้งคำถามว่า (1) สื่อสังคมออนไลน์ถูกนำมาใช้กับการจัดการทุนมนุษย์ภาครัฐและเอกชนด้านใดบ้าง (2) อะไรคือข้อจำกัดในการนำสื่อสังคมออนไลน์มาใช้กับการจัดการทุนมนุษย์ (3) ปัญหาจริยธรรมที่สำคัญของการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการจัดการทุนมนุษย์มีอะไรบ้าง การศึกษาพบว่า (1) สื่อสังคมออนไลน์ถูกนำมาใช้กับการจัดการทุนมนุษย์ด้านการสรรหา โดยเฉพาะการสรรหาคนเก่งและพนักงานเจ็นวาย (Generation Y) รวมถึงการสร้างแบรนด์นายจ้าง การสร้างความร่วมมือและการติดต่อสื่อสาร การคัดเลือกพนักงานบนสื่อสังคมออนไลน์และการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในที่ทำงาน (2) ข้อจำกัดสื่อสังคมออนไลน์ในการจัดการทุนมนุษย์มนุษย์ ได้แก่ ความไม่สอดคล้องของค่านิยมพนักงานกับธุรกิจ ความไม่สอดคล้องของสื่อสังคมออนไลน์กับระบบดั้งเดิมของบริษัท ความไม่เป็นส่วนตัวและความไม่ปลอดภัยของข้อมูล ในขณะที่ (3) ปัญหาจริยธรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์สำหรับการจัดการทุนมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ตามความหลากหลาย ความเท่าเทียมและการเข้าถึง พบว่า มีประเด็นปัญหาจริยธรรม อย่างไรก็ตามการนำสื่อสังคมออนไลน์มาใช้กับการจัดการทุนมนุษย์ส่วนใหญ่เป็นบริษัทเอกชนชั้นนำของโลก ในขณะที่องค์กรภาครัฐยังมีข้อจำกัดหลายประการ

           คำสำคัญ : การจัดการทุนมนุษย์, สื่อสังคมออนไลน์ 


Abstract

          The objective of this paper was to investigate these following questions: (1) What dimensions of human capital management in public sector and private sector are the objectives of social media use?; (2) What are the limitations of social media applied to human capital management?; and (3) What are important ethical issues of social media applied to human capital management? The results found that: (1) The social media were used for the human capital management in terms of recruitment, especially talent acquisition, Generation Y employees, employee branding, collaboration and communication, employee selection via social media, and social media use in workplace; (2) There were several limitations of social media applied to human capital management such as inconsistency of employee value and business value, inconsistency of social media and conventional system of the company, no privacy, and insecurity of data; and (3) Regarding the ethical issues of social media applied to human capital management, an analysis of diversity, fairness, and access was conducted. The findings revealed that there were ethical issues related to the social media as mentioned above. Additionally, the social media were widely used for the human capital management in the world’s leading private companies while there were many limitations of social media use in the public sectors.

           Keywords: Human Capital Management, Social Media