การพัฒนากระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมตามหลักวิถีชีวิตสีเขียว
เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะของครอบครัว

Development of Participatory Learning Process Based on Green Living Principles
for Enhancing Family Well-Being

ยุรนันท์ ตามกาล (Yuranun Tamkarn) (1)
สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล (Suwithida Charungkaitikul) (2)
เกียรติวรรณ อมาตยกุล (Kiatiwan Amatyakul) (3)


บทคัดย่อ
          บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเชิงคุณภาพเรื่องการพัฒนากระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมตามหลักวิถีชีวิตสีเขียวเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะของครอบครัว มีวัตถุประสงค์  2 ประการ 1) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของครอบครัวที่มีวิถีชีวิตสีเขียวหรือครอบครัวสีเขียว เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตแบบมีส่วนร่วมกับครอบครัวสีเขียวที่เป็นกรณีศึกษาที่ดีในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 5 ครอบครัว และ 2) เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมตามหลักวิถีชีวิตสีเขียวเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะของครอบครัว ใช้การวิจัยแบบมีส่วนร่วมระหว่างผู้วิจัยและครอบครัวทดลอง จำนวน 3 ครอบครัว  โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning :PL) รวมระยะเวลาที่อยู่ในกระบวนการทั้งสิ้นประมาณ 6 เดือน             ผลการวิจัยพบว่า 1)ข้อมูลพื้นฐานของครอบครัวสีเขียว  ประกอบด้วย  (1)พื้นฐานของครอบครัว  ได้แก่ สมาชิกครอบครัวมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน,สมาชิกสามารถจัดการพื้นที่ในบ้านให้ใช้ประโยชน์ได้ และสมาชิกมีพื้นความรู้ ความสนใจบางอย่างที่นำมาใช้ในการปฏิบัติตามวิถีชีวิตสีเขียวได้ (2)แรงจูงใจในการมีวิถีชีวิตสีเขียว มาจากปัญหาสุขภาพ ความตระหนักในสิ่งแวดล้อมของโลก และความสนใจในเกษตรกรรม (3)เนื้อหาของวิถีชีวิตสีเขียวที่ปฏิบัติ แบ่งได้เป็น การปฏิบัติต่อตนเองและผู้อื่น และการปฏิบัติต่อสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล (4)การเรียนรู้ของครอบครัวในการมีวิถีชีวิตสีเขียวเป็นการเรียนรู้ร่วมกันของสมาชิกในครอบครัว (5)สุขภาวะของครอบครัว ส่วนใหญ่ดีขึ้นจากเดิมทั้งทางกาย จิตใจ และสังคม และ (6)กระบวนการเรียนรู้ของครอบครัวมี 9 ขั้นตอน อาทิ การเริ่มต้นจากแรงจูงใจด้านปัญหาสุขภาพ การเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ การลงมือทำในครอบครัว  การเรียนรู้เพิ่มเติมเมื่อพบปัญหาและอุปสรรคจากแหล่งเรียนรู้หรือประสบการณ์ของสมาชิกครอบครัว

          2) กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมตามหลักวิถีชีวิตสีเขียวเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะของครอบครัว ประกอบด้วย 8 ขั้นตอน ได้แก่ การเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้อื่น  การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกันระหว่างสมาชิกครอบครัว การระบุปัญหาและความต้องการที่จะแก้ไขสุขภาวะของครอบครัว การวางแผนกิจกรรมการเรียนรู้ การทดลองใช้ในชีวิตประจำวัน การหาความรู้เพิ่มเติม การทดลองใช้ในชีวิตประจำวันซ้ำ การประเมินผลด้วยตนเอง และ องค์ประกอบของกระบวนการ มี 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ บริบทเฉพาะของครอบครัว กิจกรรมการเรียนรู้ ทัศนคติหรือลักษณะทางความคิด ต้นทุนหรือสิ่งสนับสนุน   

           คำสำคัญ : กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม,   กระบวนการเรียนรู้ของครอบครัว,  วิถีชีวิตสีเขียว,  สุขภาวะของครอบครัว   


Abstract

           This article is part of a qualitative research entitled “DEVELOPMENT OF A PARTICIPATORY LEARNING PROCESS BASED ON GREEN LIVING TO ENHANCE WELL-BEING OF FAMILIES”, which aims to 1) identify and analyze components of green family by using in-depth interviews and non- participant observations to collect data from 5 green families living in Bangkok Metropolitan Region 2) develop participatory learning process based on green living to enhance well-being of families by conducting a participatory research, using Participatory Learning: PL, with 3 participated families over the period of 6 months.

           The results shown that
           1)The fundamental details of green families were (1) Family Background; healthy relationship between family members, efficient household space management, general knowledge or personal interests that can be used to support green living lifestyle ; (2) Motivation; health problems, acknowledgement of environmental problems, interestedness in agricultural; (3) Green lifestyle practicing; treatment of self and others, balanced environmental treatment; (4) Green lifestyle learning; joint learning of family members; (5) Family overall health status; improvement in physical, mental and social health; and (6) Family learning process consisted of 9 stages (e.g., motivation caused by health problem; knowledge gathering; activities practicing; further knowledge seeking from learning centers or from family member’s experiences when facing obstacles, and etc.
           2) A learning process based on green living to enhance well-being of families consist of 8 stages as follows ;
           -           Learning from others’ experiences
           -           Exchanging experiences between family members
           -           Identifying family problems and acknowledging needs to improve family health
           -           Designing learning activities
           -           Experimenting in daily life
           -           Pursuing further knowledge
           -           Re-experimenting in daily life
           -           Self-evaluations
           The components of this learning process are family context, learning activities, attitude or viewpoint and fund or resources.

           Keywords: Participatory Learning Process,   Family Learning Process,  Green Living , Family Well-Bein

------------------------------------------------------------------------------------------

(1) นิสิตปริญญาเอก  สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน  ภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต  คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 Ph.D. Candidate,   Program in Non-Formal Education, Life Long Education, Faculty of Education, Chulalongkorn University
 E-mail : yuranuntk@gmail.com
(2) อาจารย์ประจำ สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน ภาคการศึกษาตลอดชีวิต  คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  Lecturer, Program in Non-Formal Education, Life Long Education, Faculty of Education, Chulalongkorn University
 E-mail : suwithida@yahoo.com
(3) อดีตอาจารย์ประจำ สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน ภาคการศึกษาตลอดชีวิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
  Former Lecturer, Program in Non-Formal Education, Life Long Education, Faculty of Education, Chulalongkorn University  
 E-mail : kiatiwan@yahoo.com