บทคัดย่อ
การศึกษามีวัตถุประสงค์หลักในการระบุผลของทุนมนุษย์ของผู้นำหน่วยงานรัฐที่มีต่อการบรรลุเป้าหมายขององค์กร แบบจำลองใช้คะแนนผลการปฏิบัติราชการของหน่วยงานราชการเป็นตัวแปรตาม ส่วนทักษะที่มีอยู่ ประสบการณ์การทำงาน ลักษณะขององค์กร และปัจจัยส่วนบุคคลเป็นตัวแปรอิสระ ข้อมูลรวบรวมจาก 103 ผู้นำหน่วยงานรัฐ ผลการวิเคราะห์สมการพหุถดถอยบ่งบอกว่าคะแนนเฉลี่ยผลการเรียนที่สูง (ต่ำ) การใช้ทักษะแบบทั่วไปมาก (น้อย) การฝึกอบรมในด้านความชำนาญเฉพาะทางต่อระยะเวลาที่ทำงานในหน่วยงานปัจจุบันเป็นจำนวนน้อย (มาก) และหน่วยงานที่มีเจ้าหน้าที่จำนวนน้อย (มาก) นำมาสู่ความสำเร็จ (ความล้มเหลว) ในการบรรลุเป้าหมายของหน่วยงาน โดยที่การประมาณการประเภทและปริมาณของทุนมนุษย์ที่เหมาะสมแก่การบรรลุเป้าหมายชี้ว่าการเปลี่ยนแปลงในคะแนนเฉลี่ยผลการเรียนมีผลคะแนนผลการปฏิบัติราชการของหน่วยงานมากที่สุด การวิเคราะห์ทุนมนุษย์ของผู้นำหน่วยงานรัฐในอนาคตจำนวน 203 รายจาก 103 หน่วยงานเดียวกันกับตัวอย่างข้างต้นระบุว่า คะแนนเฉลี่ยผลการเรียนที่ต่ำกว่าของผู้นำหน่วยงานรัฐในอนาคตเป็นการขาดแคลนทุนมนุษย์เพียงประเภทเดียวที่ส่งผลเสียต่อการบรรลุเป้าหมายขององค์กรในอนาคต
การพยากรณ์บ่งชี้ว่าหากต้องการให้หน่วยงานได้รับคะแนนผลการปฏิบัติราชการสูงสุด ผู้นำหน่วยงานรัฐในอนาคตควรมีคะแนนเฉลี่ยผลการเรียนไม่ต่ำกว่า 3.05 ต้องได้รับการฝึกอบรมในด้านความชำนาญเฉพาะทางต่อระยะเวลาที่ทำงานจำนวน 1.08 หลักสูตรต่อปี และสัดส่วนการใช้ทักษะแบบทั่วไปเพื่อบรรลุเป้าหมายของหน่วยงานเป็นร้อยละ 51 นอกจากนี้ หน่วยงานรัฐในอนาคตควรมีเจ้าหน้าที่ 265 คนต่อแห่ง การศึกษาเสนอแนะให้มีการส่งเสริมการใช้ทักษะแบบทั่วไปของผู้นำหน่วยงาน ในระยะสั้น ควรลดจำนวนหลักสูตรการฝึกอบรมในด้านความชำนาญเฉพาะทางต่อระยะเวลาที่ทำงานของผู้นำหน่วยงานในปัจจุบันลงและเพิ่มให้กับผู้นำหน่วยงานในอนาคต ในระยะยาว คะแนนเฉลี่ยผลการเรียนในระดับปริญญาตรีควรนำมาเป็นเกณฑ์ในการรับข้าราชการ (พนักงานรัฐ) ใหม่และในการพิจารณาการดำรงตำแหน่งของผู้นำหน่วยงาน
คำสำคัญ : ทุนมนุษย์, ผู้นำหน่วยงานรัฐ, การบรรลุเป้าหมาย
|
Abstract
The main objective of the study is to identify the effects of human capital of public agency leaders on the target achievements of their organizations. A model is formed by using scores of the performance evaluation of public agencies as a dependent variable. The leaders’ skills, working experience, organization structure and personal characteristics are included as independent variables. The data were collected from 103 public agency leaders. The result of the multiple regression analysis indicates that a high (low) grade point average, using more (less) general skills, attending fewer (more) specific-skill training courses during their working periods in the current offices and a smaller (larger) number of total staff lead to the success (failure) of attaining the agency targets. An estimation of the type and size of human capital appropriate for the target achievements shows that a change in the grade point average highly affects the performance evaluation scores. The analysis of the human capital stock of 203 future leaders from the same public agencies reveals that their lower grade point averages, a major and sole human capital shortage, could damage the target attainment in the future.
The following three human capital stocks are forecast to be crucial for the public agencies to get the maximum performance evaluation scores: grade point average of not less than 3.05, acquiring 1.08 specific-skill training courses on average each year and using general skills by 51% of the total skills in their jobs. In addition, an appropriate size of the staff in a public office is 265 persons. The study recommends encouraging the future leaders to perform their tasks with more general skills. In the short run, the number of specific-skill training courses should be cut down for the current leaders but added on for the future leaders. In the long run, grade point average in the Bachelor’s degree becomes a major criterion for the recruitment of new staff and the appointment of future leaders.
Keywords: human capital, public agency leaders, the target achievements
----------------------------------------------------------------------------------------
(1) รองศาสตราจารย์ ดร., คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Associate Professor, Faculty of Economics, Thammasat university
|