โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัครแรงงาน (1)

A Causal Relationship Model of the Performance of Labour Volunteers


ดร. นราเขต ยิ้มสุข (Narakate Yimsook) (2)


บทคัดย่อ
          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัครแรงงาน ได้แก่ แรงจูงใจในการบริการสาธารณะ การสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมเอื้อต่อสังคมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมและผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัครแรงงาน กลุ่มตัวอย่างคืออาสาสมัครแรงงานในจังหวัดอยุธยาและปทุมธานีจำนวน 200 คน โดยใช้เครื่องมือคือแบบสอบถามเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุจากผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัคร และตรวจสอบความสอดคล้องจากอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมและความกลมกลืนระหว่างโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยใช้เกณฑ์ของ Chi-Square, RMSEA, RMR, CFI, GFI และ AGFI ผลการศึกษาพบว่าโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัครแรงงานสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์มีค่า = 23.726, df = 18, p = .164, /df = 1.31, RMSEA = .040, RMR = .004, CFI = .996, GFI = .974 และ AGFI = .936 และตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนผลปฏิบัติงานของอาสาสมัครได้ร้อยละ 82.9 สำหรับข้อเสนอแนะของการวิจัยต่ออาสาสมัครแรงงานมีดังนี้  ประการแรกคือ ด้านของนโยบายควรตั้งอยู่บนคุณลักษณะเฉพาะ ความมีประสิทธิภาพของการทำงาน การส่งเสริมแรงจูงใจและผลการปฏิบัติงาน และการคุ้มครองสิทธิแรงงาน ประการที่สองคือ ด้านของการพัฒนาการวิจัยมุ่งเน้นที่การศึกษาบทบาทของอาสาสมัครแรงงานต่อสังคมและพิจารณาความรับผิดชอบ เพื่อวิเคราะห์ค่าของงาน การจัดโครงสร้างองค์การ การจ่ายค่าตอบแทน และบทบาทของสหภาพแรงงาน

           คำสำคัญ : อาสาสมัครแรงงาน, แรงจูงใจในการบริการสาธารณะ, การสนับสนุนทางสังคม, พฤติกรรมเอื้อต่อสังคม, ผลการปฏิบัติงาน


Abstract

           This article aims to testing model of causal relationship model of the performance of labour volunteers includes public service motivation, social support, and prosocial behavior for promote a participation and volunteers performance. A sample is labour volunteers in Ayutthaya and Pathum Thani province 200 persons. An instrument of questionnaire for collective data, analyses causal relationship model of the performance of labour volunteers, and verifies consistency of direct and indirect effects and fitting of model and empirical data. A measurement of Chi-Square, RMSEA, RMR and CFI. Results were that causal relationship model of the performance of labour volunteers had fit to empirical data ( =23.726, df = 18, p = .164, /df = 1.31, RMSEA = .040, RMR = .004, CFI = .996, GFI = .974, and AGFI = .936) and variables in the adjusted model accounted for 82.9 percent of the volunteers performance. Suggestions for this research to labour volunteers as follows: Firstly, policy dimensions should have found on function and specific characteristics, efficiency of work, promoting motivation and performance, and protection labour rights. Secondly, research development focus on study role of labour volunteers to society, and consider responsible for job analysis, organizational structure, pay compensation, and role of trade unions.



           Keywords: Labour Volunteers, Public Service Motivation, Social Support, Prosocial Behavior, Performance

---------------------------------------------------------------------------------------

(1) บทความนี้เป็นผลการศึกษาจากรายงานวิจัยโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัครแรงงาน โดยได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากกองทุนส่งเสริมการวิจัยคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ 2560
(2) อาจารย์ประจำ สาขาพัฒนาแรงงานและสวัสดิการ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์   มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  Lecturer, Faculty of  Social Administration, Thammasat University   Corresponding author E-mail: Arm_conser@hotmail.com