บทคัดย่อ
บุคลากรจัดเป็นทรัพยากรหลักในการขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจขององค์กร ในการทำงานของบุคลากรต้องอาศัยทักษะผู้นำซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานในศตวรรษที่ 21 ที่ต้องเผชิญกับสภาพการแข่งขันทางธุรกิจ องค์กรจึงควรให้ความสำคัญต่อการพัฒนาบุคลากร ที่อยู่บนพื้นฐานในการเข้าใจถึงศักยภาพและจุดแข็งที่อยู่ภายในของผู้นำแต่ละคนที่มีความหลากหลาย จึงจะสามารถส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีอยู่ จนเป็นผู้นำในองค์กรได้อย่างเหมาะสม นพลักษณ์ (Enneagram) เป็นแนวคิดที่ช่วยให้เกิดความเข้าใจถึงทักษะผู้นำที่เป็นจุดแข็งที่อยู่ภายในของแต่ละคนที่มีความแตกต่างกัน และยังสามารถนำประยุกต์ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เช่น การจัดฝึกอบรมเพื่อให้บุคลากรค้นหาและเข้าใจตนเอง การวางแผนการพัฒนาตนเองและสายอาชีพ ซึ่งอยู่บนพื้นฐานในการพัฒนาจากความสามารถที่หลากหลายในแต่ละคน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและสร้างความเข้าใจกันในหมู่ของพนักงานได้มากยิ่งขึ้น
คำสำคัญ : นพลักษณ์, ทักษะผู้นำ, การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
|
Abstract
The human resource is a key driving for business performance in an organization. Leadership skill is an essential skill that required for an organization in the 21st century, which standing in a high competitive environment. The organization should focus on human resource development that based on utilizing the diversity of the internal strengths of each individual leader. This idea would provide the suitable leaders for an organization. The Enneagram is a model that helps to understand different leadership skills, which are located as internal skills or strengths of each individual worker. Thus, the Enneagram is consider as a new framework for human resource development processes in organization. It would develop a worker based on assessing and understanding of a diversity of internal strengths. Then, the unique training activities, individual development plans and career development plans would create to serve verities of leadership strengths in the organization. These would enhance the organization productivity level and create more understanding among people in the organization.
Keywords: Enneagram, Leadership skills, Human resource development
------------------------------------------------------------------------------------
(1) มหาบัณฑิตโครงการปริญญาโททางบริหารธุรกิจ เน้นการบริหารทรัพยากรมนุษย์และองค์การ
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Master of Business Administration – Human Resource and Organization Management,
Faculty of Commerce and Accountancy, Thammasat University
(2) อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบริหารองค์การ การประกอบการ และทรัพยากรมนุษย์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Lecturer, Department of Organization, Entrepreneurship and Human Resource Management, Faculty of Commerce and
Accountancy ,Thammasat University |