การปฏิรูปเชิงสถาบันขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ: การกำหนดและตัดสินใจ
ของผู้อำนวยการใหญ่ในความริเริ่มหนึ่งศตวรรษอนาคตของงาน


Institutional Reform of the International Labour Organization: Decision-Making of the Director-General in a Future of Work Centenary Initiative


กฤษฎา ธีระโกศลพงศ์  (KRITSADA THEERAKOSONPHONG) (1)


บทคัดย่อ
          การปฏิรูปเชิงสถาบันขององค์การแรงงานระหว่างประเทศปรากฎขึ้นมาสองครั้งดังนี้ การปฏิรูปครั้งแรกระหว่างปี ค.ศ. 1994-2012  Michel Hansenne และ Juan Somavia ได้ขับเคลื่อนให้ ILO กลายเป็นตัวแสดงหลักและทำให้งานที่มีคุณค่ากลายเป็นเป้าหมายระดับโลกผ่านการประชุมของคณะกรรมาธิการโลกว่าด้วยมิติทางสังคมของโลกาภิวัตน์ ในปี ค.ศ. 2002-2003 และการปฏิรูปครั้งที่สองโดย Guy Ryder เริ่มต้นความริเริ่มหนึ่งศตวรรษอนาคตของงานและก่อตั้งคณะกรรมาธิการโลกว่าด้วยอนาคตของงานในปี ค.ศ. 2017 เพื่อเสนอปฏิญญาหนึ่งศตวรรษในที่ประชุมใหญ่แรงงานระหว่างประเทศ ปี ค.ศ. 2019 สำหรับองค์การระหว่างประเทศมีเป้าหมายจะสร้างโลกาภิบาลผ่านความชอบธรรมทางการเมืองและกฎหมาย หรือเรียกแทนได้ว่าธรรมนูญนิยมใหม่ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับรัฐบาลโลกและเหมือนเป็นการสร้างผู้นำโลกขึ้นมา ฉะนั้นองคาพยพของ ILO จึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การ นโยบายเชิงกลยุทธ์ และการจัดการทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะผู้อำนวยการใหญ่ยังเป็นตัวแสดงทางการเมืองที่สำคัญต่อการกำหนดและตัดสินใจเป้าหมายมากว่าตลอดหนึ่งศตวรรษ

           คำสำคัญ : องค์การแรงงานระหว่างประเทศ, ผู้อำนวยการใหญ่, การปฏิรูปเชิงสถาบัน, การกำหนดและ
ตัดสินใจ, งานที่มีคุณค่า


Abstract

           Institutional reform of the International Labour Organization (ILO) occurred two scheme as follows, a first reform during 1994 to 2012, Michel Hansenne and Juan Somavia bring the ILO to forefront of international Organizations and decent work became a global goal through the World Commission on the Social Dimension of Globalization in 2002-2003. A second reform by Guy Ryder, who launched a Future of Work Centenary Initiative and establish a Global Commission on the Future of Work in 2017, to be presented a Centenary Declaration at the International Labour Conference in 2019. For international organizations to inspire global governance through political legitimacy and legal rights or called new constitutionalism, they respond in ways comparable to world governments as global leadership of hegemonic actor. Therefore, the ILO organ cannot avoid change in organization structure, strategic policy and human resources management. The director is a particularly essential political actor, defining goals and making decisions over the past century.



           Keywords: International Labour Organization, Director-General, Institutional Reform, Decision-Making, Decent Work

----------------------------------------------------------------------------------------

(1) นักวิชาการอิสระ,  E-mail. Kritsadathe@outlook.com