ถอดบทเรียนการนำเอาวิธีการเรียนรู้จากการปฏิบัติไปใช้เพื่อการพัฒนาตัวแบบสมรรถนะหลักของกรมบัญชีกลาง

Lessons Learned for Action Learning Research: A Case Study of Core Competency Model Development in the Comptroller General's Department

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุนิสา ช่อแก้ว
รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Assistant Professor Sunisa Chorkaew (Ph.D.)
Faculty of Political Science, Thammasat University


บทคัดย่อ
           งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์บทเรียนด้วยวิธีการเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Action Learning) เพื่อการพัฒนาตัวแบบสมรรถนะหลักของกรมบัญชีกลาง กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยข้าราชการระดับสูง ข้าราชการระดับอำนวยการ และบุคลากรระดับปฏิบัติการ ผู้วิจัยมีหน้าที่เป็นเสมือนโค้ชที่คอยชี้แนะแนวทางให้กับทีมที่รับผิดชอบการพัฒนาระบบสมรรถนะหลักผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วม การติดตาม การอภิปรายประเด็น และสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อสกัดองค์ประกอบสำคัญของสมรรถนะหลักของกรมบัญชีกลาง จากผลการวิจัย พบว่า การสร้างความเข้าใจแก่คณะทำงาน การเน้นย้ำความเข้าใจในประเด็นสำคัญในการพัฒนาตัวแบบสมรรถนะหลักและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบกลับด้าน รวมทั้งบทบาทของผู้บริหารและผู้อำนวยการในการกำหนดทิศทางของการกำหนดตัวแบบสมรรถนะหลักส่งผลต่อการออกแบบโครงร่างสมรรถนะหลักที่มีความชัดเจนและสอดคล้องกับบริบทของหน่วยงาน นอกจากนี้ แนวทางการส่งเสริมการใช้ตัวแบบสมรรถนะเกิดจากการมีส่วนร่วมของระดับอำนวยการที่สะท้อนความคิดในการออกแบบกิจกรรมและโครงการในการเสริมสร้างการพัฒนาตัวแบบสมรรถนะหลักผ่านการกระตุ้น การเสริมพลัง และการตั้งประเด็นคำถามจากผู้วิจัยให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ สามารถดำเนินกิจกรรมจนนำไปสู่โครงการหรือกิจกรรมพัฒนาบุคลากรที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ทันที ทั้งนี้ บทบาทที่สำคัญประการหนึ่งของผู้วิจัยในขั้นตอนนี้ คือ การให้คำแนะนำและเชื่อมโยงความคิดเพื่อการเสริมสร้างพฤติกรรมตามตัวแบบสมรรถนะหลัก

          คำสำคัญ : สมรรถนะ ตัวแบบสมรรถนะหลัก การเรียนรู้จากการปฏิบัติ ถอดบทเรียน


Abstract

            This paper aims to analyze the lessons learned from the action learning for developing the core competency model of the Comptroller General's Department (CGD). The samples consist of the executives, the middle-management officials and all operational officials in CGD. The researcher acted as a coach who guided the team responsible for the development of CDG’s core competency system by using a participation process, follow-up, issue discussion, and workshop in order to extract the essence of competency that was most relevant to the department. The results show that the understanding of the working group, the emphasis of key issues in core competency development, the flipped learning between the researcher and the working group, the role of the executive and the middle-management officials in determining the direction of the core competency model influence the design of the core competency framework that is more appropriate with the context of the department. Moreover, the model for promoting the use of competency models is based on participation of the middle-management officials. Along the participatory process, the researcher set questions to encourage the middle-management officials to think, reflect and design activities and projects to enhance core competency development. In addition, after receiving the idea from the officials, the important roles of the researcher was to provide additional guidance and connect the idea from the officials for behavioral enhancement based on the CGD’s core competency.

          Keywords: Competency, Core Competency Model, Action Learning, Lessons Learned