สถานการณ์ท้าทายที่กระตุ้นการสร้างความรู้ของพนักงานในองค์กรขนาดใหญ่
Challenging situations in energize an employee to create knowledge in the large organization

ดร.มณฑล สรไกรกิติกูล
อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบริหารองค์การ การประกอบการ และทรัพยากรมนุษย์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ชยาพล สุนทรวิวัฒนา
นักศึกษา หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ (หลักสูตรนานาชาติ) คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Monthon Sorakraikitikul (Ph.D.)
Full-time Faculty Member, Department of Organization, Entrepreneurship and Human Resource Management, Faculty of Commerce and Accountancy, Thammasat University

Chayapon Soontornwiwattana
Ph.D. Student, School of Human Resource Development (International), National Institute of Development (NIDA)

บทคัดย่อ
          การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ที่ท้าทายต่อการทำงานที่ทำให้พนักงานต้องปรับตัวและพัฒนาตนเอง รวมทั้งระบุแนวทางในการสร้างความรู้ของพนักงานเพื่อเผชิญกับสถานการณ์นั้น กลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้แก่ พนักงานระดับต้นและระดับกลางจากองค์กรขนาดใหญ่ที่มีสินทรัพย์มากกว่า 200 ล้านบาท จากหลายอุตสาหกรรม เก็บข้อมูลจากการสนทนากลุ่มจำนวน 28 คน โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มละ 5-6 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์กรอบความคิด และแปลความหมายจากคำ บริบท ความสอดคล้อง การโต้ตอบของการสนทนากลุ่ม

          ผลการศึกษาพบว่า สถานการณ์ที่เป็นแรงกระตุ้นให้พนักงานสร้างความรู้คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ สถานการณ์ระดับโครงสร้าง และสถานการณ์ระดับบุคคล ซึ่งสถานการณ์ทั้งสองประเภทส่งผลให้เกิดแนวทางการสร้างความรู้แบบปฏิสัมพันธ์แบบต่อหน้า (face-to-face) ที่เป็นทั้งปฏิสัมพันธ์ส่วนร่วม และปฎิสัมพันธ์ส่วนบุคคล จากผลการศึกษาสามารถนำมาประยุกต์ในการจัดให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงและมีความท้าทาย ที่ทำให้พนักงานเกิดการสร้างความรู้เองในองค์กรได้ ทั้งนี้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมต้องเป็นสถานการณ์ที่พนักงานสามารถรับมือได้ การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมที่เกินรับมือไหวอาจส่งผลให้พนักงานลาออก

          คำสำคัญ : การสร้างความรู้, การจัดการความรู้, สถานการณ์ท้าทาย


Abstract

          This qualitative research aimed to study challenge situations in workplace, which enabling employee to adapt and develop themselves, and to identify the way that employees create knowledges in order to cope with that challenging situations. Informants are employees, who are in the entry and middle level in the large companies with more than 200 million Thai Baht in assets from various industries. Data was collected by focus group. Informants were 28 people and divided for 5-6 members per group. Data were analyzed by framework analysis and were interpreted from words, context, consistency and interaction in each group.

          The results showed that the challenge situation is changing the environment, which energies knowledge creation. The situation has two types: Structural situation and Personal situation. Both Situations related with face-to-face interaction as collective interaction and Individual interaction. Results could guide for a management practice in applying the changing and challenging situations to enable and energize employees to create a knowledge to use in organizations. However, situations should be resolvable. Unbearable situations may lead to employee resignation.

          Keywords: Knowledge creation, Knowledge management, Challenge Situation

 

----------------------------------

ผลงานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Corresponding  Author   E-mail :  monthon.sor@gmail.com