การผนึกแรงจูงใจภายในและภายนอกเพื่อส่งเสริมความสำเร็จโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การวิจัยด้วยกรณีศึกษาบริษัทที่มุ่งเน้นเทคโนโลยี
The Synergy of Intrinsic and Extrinsic Motivation on NPD Project Success: Case Study Approach of Technology-Intensive Firms

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุจินดา โพธิ์ไพฑูรย์
อาจารย์ประจำคณะการบัญชีและการจัดการ หน่วยวิจัยทางการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Assistant Professor Sujinda Popaitoon (PhD)
Mahasarakham Business School, Management Research Unit, Mahasarakham University


บทคัดย่อ
          วัตถุประสงค์งานวิจัยนี้ เพื่อค้นหาลักษณะการผนึกแรงจูงใจภายในและภายนอกของทีมพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ให้คงอยู่ตลอดช่วงการดำเนินโครงการตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ระหว่างดำเนินงานและสิ้นสุดโครงการ ปัจจุบันนี้นักวิชาการพบว่าการผนึกแรงจูงใจภายในและภายนอกมีความสำคัญมากสำหรับทีมพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทของบริษัทที่มุ่งเน้นเทคโนโลยี ในขณะที่แรงจูงใจทั้งสองประเภทเป็นสภาวะทางอารมณ์ซึ่งอยู่เพียงชั่วคราวเท่านั้น จำเป็นต้องสร้างแรงจูงใจอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงโครงการจนกระทั่งสิ้นสุด งานวิจัยด้วยกรณีศึกษานี้ใช้พื้นฐานทฤษฎีการผนึกแรงจูงใจของ Amabile (1993) เพื่ออธิบายบทบาทการผนึกแรงจูงใจภายในและภายนอกของทีมในแต่ละช่วงจนโครงประสบผลสำเร็จ ประโยชน์งานวิจัยนี้ส่งผลต่อวรรณกรรมด้านการจัดการเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวการปฏิบัติด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์เพื่อส่งเสริมการผนึกแรงจูงใจของทีมเพื่อให้โครงการประสบผลสำเร็จตามต้องการ และผลงานวิจัยนี้นำเสนอสมมติฐานเพื่อการศึกษาครั้งต่อไปและอภิปรายผลในทางปฏิบัติ

          คำสำคัญ : การผนึกแรงจูงใจ, แรงจูงใจภายใน, แรงจูงใจภายนอก, การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่, บริษัทที่มุ่งเน้นเทคโนโลยี


Abstract

           The object of this research is to explore how motivation (intrinsic and extrinsic) works synergistically in the new product development (NPD) project team proceeding through three project stages (i.e., beginning, ongoing and finishing). Recently, scholars have found the synergistic roles of intrinsic and extrinsic motivation that work on new product development (NPD) projects particularly in the context of technology-intensive firms (TIFs). However, both types of motivation can appear in a temporary state that needs to motivate a project team continuously over long periods of project time. Based on Amabile (1993)’s motivation synergy theory, three illustrative case studies in TIFs provide the roles of motivation synergy (i.e., intrinsic and extrinsic) of a project team for each project stage. This research contributes to the literature of technology management, particularly in human resource management practices to enhance a project team’s synergistic motivation through a three-stage project to ensure the desired NPD project performance. Finally, this research proposes a set of propositions. Implications are discussed.

          Keywords: Motivation Synergy, Intrinsic Motivation, Extrinsic Motivation, New Product Development, Technology-Intensive Firms

-----------------------------------------

Corresponding Author E-mail : sujinda.p@acc.msu.ac.th