แนวโน้มในการพัฒนาระบบนักบริหารระดับสูงในภาครัฐของไทยในอีก 10 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2561- 2570)
Ten-Year Trends in the Thai Senior Executive Service (from 2018 to 2027)

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุนิสา ช่อแก้ว
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Assistant Professor Sunisa Chorkaew (Ph.D.)
Faculty of Political Science, Thammasat University


บทคัดย่อ
          บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงแนวโน้มในการพัฒนาระบบนักบริหารระดับสูงในภาครัฐของไทยในอีก 10 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2561- 2570) โดยใช้เทคนิคการวิจัย EDFR (Ethnographic Delphi Future Research) จากผู้เชี่ยวชาญ 18 ท่าน ผลการวิจัย พบว่า การเข้าสู่ตำแหน่งนักบริหารระดับสูง อาศัยมุมมองตามระบบนักบริหารระดับสูงแบบผสมผสาน (Hybrid-based) โดยมีการกำหนดคุณสมบัติให้มีการพัฒนาก่อนเข้าสู่ตำแหน่งและต้องผ่านการประเมินสมรรถนะหลักทางการบริหาร ในการคัดเลือกและการแต่งตั้ง นักบริหารระดับ 9 บส. และระดับ 10 บส. ให้มีการจัดตั้งองค์กรกลางออกหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกและมีปลัดกระทรวงเป็นผู้แต่งตั้ง ในขณะที่นักบริหารระดับ 11 บส. ให้มีการใช้รูปแบบคณะกรรมในการคัดเลือกและมีรัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นผู้แต่งตั้ง เมื่อได้รับการบรรจุแต่งตั้ง นักบริหารระดับสูงจะได้รับการพัฒนาบนฐานสมรรถนะหลักทางการบริหารและสมรรถนะประจำกลุ่มงาน ผ่านรูปแบบและวิธีการพัฒนาด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน และการลงมือปฏิบัติจริง ภายใต้การบริหารจัดการหลักสูตรที่มาจากการดำเนินการทั้งจากหน่วยงานกลางและส่วนราชการต่าง ๆ ในด้านการบริหารผลงานและให้มีการทบทวนผลการปฏิบัติงานระดับสูงอีกขั้นตอนหนึ่ง โดยใช้รูปแบบให้มีคณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติงาน ส่วนการกำหนดค่าตอบแทน เป็นไปตามหลักการการกำหนดค่าตอบแทนเฉกเช่นปัจจุบัน ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยในครั้งนี้ ภาครัฐไทยควรมีการพัฒนาระบบนักบริหารระดับสูงตามมุมมองแบบผสมผสาน โดยมีการจัดตั้งหน่วยงานกลางทำหน้าที่บริหารจัดการระบบนักบริหารระดับสูงทั้งหมดแบบเบ็ดเสร็จ แต่มีการกระจายอำนาจให้ส่วนราชการได้เป็นผู้ดำเนินการร่วมด้วย

          คำสำคัญ : ระบบนักบริหารระดับสูง, ระบบข้าราชการะดับสูง, การบริหารทรัพยากรบุคคล


-----------------------------------------

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “แนวโน้มในการพัฒนาระบบนักบริหารระดับสูงในภาครัฐของไทยในอีก 10 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2561- 2570)” ทุนวิจัยโดยศูนย์วิจัย ดิเรก ชัยนาม คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Abstract

           This article aims to illustrate the next ten year trends (2018-2017) of the Senior Executive Service (SES) in the Thai public sector by employing the EDFR (Ethnographic Delphi Future Research) technique from 18 experts of the field. The research found that entering to the senior executive position is expected to be a hybrid-based system. The senior executive must be qualified by the development program and must pass the competency assessment process. For the selection and appointment process of the senior level 9 and level 10, there should be an establishment of a central agency playing a role of criteria setting, and a permanent secretary should be responsible for an appointment process. Meanwhile, the appointment of the senior executive level 11 should be processed by a committee and appointed by and a minister. The senior executive development program is expected to be arranged by both central and government agencies. It should be a competency-based, boundaryless by using technology, opened for idea exchange, and action learning. The performance review process is expected to be more completed and the performance review board is needed. The principle for compensation is still the same process as it has been done currently. The research suggests that the Thai government should develop a hybrid-based SES and all of the processes in the SES should be driven by the one stop service supervised by the central agency. But the government agencies will be decentralized in form of joint-action in an operation process.

          Keywords: Senior Executive Service, Senior Civil Service, Public Personnel Management

-----------------------------------------

Corresponding Author E-mail : sunisa.mpa@gmail.com