สติ และจิตวิญญาณองค์กร
Mindfulness and Workplace Spirituality

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาวิณี เพชรสว่าง
คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Asst. Professor Pawinee Petchsawang (PhD.)
Graduate School of Human Resource Development
National Institute of Development Administration



บทคัดย่อ
          การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคมปัจจุบัน สร้างให้เกิดผลกระทบต่อองค์การและบุคคลอย่างมหาศาล การพัฒนาให้บุคคลทันต่อการเปลี่ยนแปลงและนำพาองค์การให้อยู่รอดนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันองค์การต่างๆเริ่มสนใจวิธีการพัฒนาคนจากข้างในสู่ข้างนอก (inside-out) คือ การพัฒนาสติและการพัฒนาคนในระดับลึกถึงจิตวิญญาณ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) นำเสนอเรื่องการพัฒนาสติ (mindfulness) ในเชิงงานวิจัยและการปฏิบัติ และ 2) จิตวิญญาณองค์กร (workplace spirituality) ซึ่งเป็นเรื่องที่ใหม่มากในประเทศไทย 3) เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างสติและจิตวิญญาณองค์กร และ4) เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาสติและจิตวิญญาณองค์กร ทั้งนี้ผู้วิจัยค้นพบว่างานศึกษาวิจัยทางด้านสติและจิตวิญญาณองค์การนั้นยังมีช่องว่างให้พัฒนาเพื่อเสริมองค์ความรู้ให้เข้มแข็งในบริบทของการจัดการ โดยการใช้วิจัยเชิงคุณภาพ วิจัยกึ่งทดลอง/ทดลอง การศึกษาตัวแปรทำนายผลของจิตวิญญาณองค์กรซึ่งยังมีน้อย รวมทั้งข้อเสนอแนะในทางปฏิบัติในการพัฒนาสติ เช่น ใช้วิธีการเจริญสติสั้นๆก่อนการประชุม การหยุดอย่างมีสติ ส่วนการส่งเสริมจิตวิญญาณองค์กรควรเริ่มต้นตั้งแต่การตั้งเป้าหมายขององค์การที่คำนึงถึงความดีงาม คุณธรรม จริยธรรม และการตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งในระดับจิตใจ จิตวิญญาณ การสร้างวัฒนธรรม การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ ที่สอดคล้องกับค่านิยมทางจิตวิญญาณ และการเป็นตัวแบบของผู้นำในทางปฏิบัติ ความสอดคล้องรอยเรียงกันทุกระดับส่วนขององค์การนี้จะช่วยให้การสร้างจิตวิญญาณองค์กรนั้นยั่งยืนต่อไป

          คำสำคัญ : สติ จิตวิญญาณองค์กร วิปัสสนากรรมฐาน การจัดการทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์


Abstract

           The rapid change of society impacts organizations and individuals tremendously. Developing people to cope with the change and being able to drive the organizations’ success is very important, especially developing people from the inside-out approach focusing on mindfulness and spirituality. The aims of this article are to discuss 1) mindfulness in terms of academic and practice, 2) workplace spirituality which is a very new topic in Thailand, 3) the relationship between mindfulness and workplace spirituality, and 4) the suggestions for developing mindfulness and workplace spirituality in organizations. The researcher found that there is a gap to strengthen these two concepts in the management field by employing the qualitative research method and quasi-experimental design, and studying the antecedents of workplace spirituality. For the practical implementation, mindfulness techniques, for example, “guided landing” and “mindful break” can be applied to improved mindfulness at work. To promote workplace spirituality, the organizations should set the goals focusing on virtue, moral, ethics and stakeholders’ needs at the spiritual level. In addition, cultivating culture and enforcing human resource management practices should be aligned with the spiritual values. Last but not least, the leaders should act as the spiritual role model. The alignment of all important parts of the organization with spiritual values will ensure the sustainability of workplace spirituality.

          Keywords: mindfulness, workplace spirituality, meditation, human resource management, human resource development

-----------------------------------------

Corresponding Author E-mail : pawpetch@gmail.com