ระดับความตั้งใจลาออกของกลุ่มกำลังคนคุณภาพในระบบราชการไทย
The Level of Intention to Quit Amongst Talent Employees in the Thai Government System

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กังวาน ยอดวิศิษฎ์ศักดิ์
คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

รัตน์ติญา อยู่เย็น
การประปาส่วนภูมิภาค

Assistant Professor Kangwan Yodwisitsak, DBA
Faculty of Business Administration for Society, Srinakharinwirot University

Rattiya Yooyen
Provincial Waterworks Authority



บทคัดย่อ
          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงระดับความตั้งใจในการลาออกจากระบบราชการของกำลังคนคุณภาพ โดยผลการวิจัยพบว่า กลุ่มกำลังคนคุณภาพในระบบราชการมีความตั้งใจลาออกจากระบบราชการในภาพรวมอยู่ใน “ระดับต่ำ”โดยกลุ่มกำลังคนคุณภาพในระบบราชการกลุ่มที่ 3 (ประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ) มีระดับความคิดเห็นต่อความตั้งใจลาออกจากระบบราชการสูงที่สุด ในขณะที่กลุ่มที่ 1 (ประเภทบริหาร ประเภทอำนวยการ ระดับสูง ประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ และระดับเชี่ยวชาญ) มีระดับความคิดเห็นต่อความตั้งใจลาออกจากระบบราชการต่ำที่สุด หากพิจารณาถึงระดับความคิดเห็นต่อความตั้งใจลาออกของกลุ่มกำลังคนคุณภาพ พบว่า กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 (ประเภทอำนวยการ ระดับต้น และ ประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ) นั้นต่ำกว่ากลุ่มที่ 3 และกลุ่มที่ 4 (ประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยพฤติกรรมที่แสดงถึงความตั้งใจลาออกของกลุ่มกำลังคนคุณภาพภาพในระบบราชการในภาพรวมนั้นยังคงเป็นเพียงการคิดที่จะลาออกและการค้นหาทางเลือกเท่านั้นมิใช่การแสดงพฤติกรรมอื่นที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การรักษากำลังคนคุณภาพไว้ในระบบราชการนั้นยังคงเป็นประเด็นที่สามารถหาแนวทางในการจัดการได้

          คำสำคัญ : ความตั้งใจลาออก, กำลังคนคุณภาพ, ระบบราชการไทย


Abstract

           This paper aimed at measuring the level of intention to quit amongst talent officers in the Thai government system. The result revealed that the overall level of intention to quit was “low”. Group 3 (Knowledge Worker Position at Professional Level) had the highest level of intention to quit while Group 1 (Executive Positions, Managerial Position at Higher Level, and Knowledge Worker Positions at Advisory and Expert Levels) had the lowest level of intention to quit. The result also indicated that the intention to quit of Group 1 and Group 2 (Managerial Position at Primary Level and Knowledge Worker Position at Senior Professional Level) talent officers was statistically significant at the level of 0.05 lower than Group 3 and Group 4 (Knowledge Worker Position at Practitioner Level). In addition, considering the intention to quit behavior, the talent officers thought about resigning from the organizations and searched for new opportunities without demonstrating any unwanted behavior. The conclusion of this study revealed that the retention of talent officers in the Thai government system could be manageable.

          Keywords: Intention to Quit, Talent Employee, Thai Government System

-----------------------------------------

Corresponding Author E-mail :      kangwan.y@gmail.com