|
|
|
|
การวิจัยเชิงปฏิบัติการ: เครื่องมือสำคัญในการพัฒนาองค์การ
ACTION RESEARCH: AN INTERVENTION OF ORGANIZATION DEVELOPMENT PRACTICE
ดร.จำเนียร จวงตระกูล
ศาสตราจารย์พิศิษฐ์ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสต์ ประเทศเกาหลีใต้
ชัชพล กุลโพธิสุวรรณ, วิบูลย์ พุทธวงศ์, ณพณัฐ กีฬาแปง, พิราวรรณ์ สำเภาลอย
และ พิชชาพร สุมนะ
กองบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Jamnean Joungtrakul, DBA., Ph.D.
Far East University, South Korea
Chutpon Kulpotisuwan, Wiboon Puttawong, Noppanut Keelapaeng,
Pirawan Sumpowloy, Pitchaporn Sumana
Human Resource Management Division, Chiang Mai University
|
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการถือเป็นเครื่องมือสอดแทรกที่สำคัญอย่างหนึ่งในการพัฒนาองค์การที่มีการนำไปใช้ในองค์การหลายประเภท การวิจัยเชิงปฏิบัติการจึงถือได้ว่าเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งในการปรับปรุงและพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานขององค์การ รวมทั้งองค์การธุรกิจ ราชการ และสถาบันการศึกษา เพื่อส่งเสริมให้มีการดำเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการและนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการปรับปรุงและพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานขององค์การให้มากขึ้น บทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะตอบคำถาม เจ็ด ประการดังต่อไปนี้ (1) การวิจัยเชิงปฏิบัติการมีความเป็นมาอย่างไร? (2) การวิจัยเชิงปฏิบัติการมีความหมายว่าอย่างไร? (3) การวิจัยเชิงปฏิบัติการมีลักษณะที่สำคัญอย่างไรบ้าง? (4) การออกแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการทำอย่างไร? (5) ขั้นตอนการวิจัยเชิงปฏิบัติการทำอย่างไร? (6) การวิจัยเชิงปฏิบัติการเกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์การอย่างงไร? (7) ปัญหาและอุปสรรคในการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการในการพัฒนาองค์การมีอย่างไรบ้าง? เพื่อตอบคำถาม เจ็ด ประการดังกล่าวข้างต้น บทความนี้จะได้นำเสนอโดยแบ่งเป็น เก้า ส่วนดังต่อไปนี้ (1) บทนำ เพื่อนำเสนอประเด็นปัญหาและความสำคัญของปัญหารวมทั้งสาระสำคัญของบทความนี้ (2) ต้นกำเนิดของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (3) ความหมายของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (4) ลักษณะสำคัญของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (5) การออกแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (6) ขั้นตอนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (7) การวิจัยเชิงปฏิบัติการกับการพัฒนาองค์การ (8) ปัญหาและอุปสรรคในการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการในการพัฒนาองค์การ (9) สรุปและเสนอแนะ
คำสำคัญ : การวิจัยเชิงปฏิบัติการ, การพัฒนาองค์การ, การเปลี่ยนแปลง, ผลการปฏิบัติงาน, การมีส่วนร่วม, ประสิทธิภาพ, ประสิทธิผล
|
Abstract
Action research (AR) is one of the interventions applied in organization development (OD). It is considered one of the most important tools for improving organizational effectiveness and efficiency. Although AR originated in a business environment, it has been applied mostly in educational research, such as classroom research and teachers’ professional development. To promote the expansion of AR applications, this paper aims to answer the following seven questions: (1) What is the origin of AR?; (2) How is AR defined?; (3) What are the unique characteristics of AR?; (4) How is an AR study designed?; (5) What are the important steps in conducting AR?; (6) How may AR be applied in OD?; and (7) What are the major problems and challenges in conducting AR in OD? To answer these seven questions, this paper is divided into nine parts: (1) Introduction to the problems and the significance of the problems, including outlining the content of the paper; (2) The origin of AR; (3) Some AR Definitions; (4) The unique characteristics of AR; (5) Research design in AR; (6) Steps in conducting AR; (7) Application of AR as an intervention of OD; (8) Problems and challenges in conducting AR in OD; (9) Conclusion and recommendations.
Keywords:
Action research, organization development, Change, Performance, Participatory, Efficiency, Effectiveness
-----------------------------------------
Corresponding Author E-mail : professordrjj@gmail.com |
|
|
|
|
|
|