ผลกระทบต่อผู้หญิงที่มีบุตรเมื่อปรับวิถีการทำงาน
Effects from Changes in Working Behavior among Women with Children

กัญญาพัชร สุทธิเกษม
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

รีนา ต๊ะดี
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

Kanyapat Suttikasem
Institute of Population and Social Research, Mahidol University

Reena Tadee
Institute of Population and Social Research, Mahidol University



บทคัดย่อ
          ผู้หญิงถูกคาดหวังให้เลี้ยงดูบุตร ทำงานบ้าน และหาเลี้ยงครอบครัว ผู้หญิงจึงมีแนวโน้มที่จะเกิดความขัดแย้งในบทบาทค่อนข้างมาก เมื่อครอบครัวมีบุตร ผู้หญิงมักเป็นฝ่ายที่ต้องปรับวิถีการทำงานด้วยเหตุผลต่าง ๆ เช่น ย้ายที่ทำงาน เปลี่ยนงานที่เดินทางบ่อยมาเป็นงานที่อยู่กับที่ ลาออกมาทำงานไม่เต็มเวลา (Part-time) ออกจากงานมาเลี้ยงลูก เป็นต้น การปรับเปลี่ยนดังกล่าวทำให้ผู้หญิงได้รับผลกระทบหลายด้าน บทความนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ เพื่อเข้าใจผลกระทบจากการปรับเปลี่ยนวิถีการทำงานของผู้หญิงเมื่อมีบุตร และเสนอแนะเชิงนโยบายในการสนับสนุนให้ผู้หญิงสามารถทำงานและเลี้ยงดูบุตรอย่างมีคุณภาพ โดยใช้ข้อมูลจากสื่อสังคมออนไลน์และการสัมภาษณ์เชิงลึก จากโครงการ “การปรับวิถีการทำงานของครอบครัวเมื่อมีบุตร:การศึกษาเชิงคุณภาพโดยใช้ข้อมูลสื่อสังคมออนไลน์” ในชุดโครงการ “การดูแลครอบครัวเปราะบางในสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรและสังคมไทย” สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เมื่อปี 2560-2561 และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยโปรแกรม NVIVO ผลการศึกษาพบว่า ผู้หญิงได้รับผลกระทบจากการปรับเปลี่ยนวิถีการทำงาน ในด้านจิตใจ ด้านการเงิน ความสัมพันธ์กับสามี และด้านการทำงาน ซึ่งทำให้ผู้หญิงอยู่ในภาวะเปราะบาง บทความนี้ จึงมีข้อเสนอเพื่อลดความขัดแย้งและผลกระทบจากการปรับเปลี่ยนวิถีการทำงาน ได้แก่ เพิ่มความยืดหยุ่นในการทำงานให้กับผู้ที่มีบุตร ขยายสถานเลี้ยงเด็กให้ทั่วถึงและมีคุณภาพโดยเฉพาะในเขตเมือง สนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนรับผู้ที่เคยออกจากงานเนื่องจากมีบุตรกลับเข้าทำงาน โดยมีมาตรการจูงใจ เป็นต้น

          คำสำคัญ : การปรับเปลี่ยนวิถีการทำงานเมื่อมีบุตร, ผลกระทบจากการปรับเปลี่ยนวิถีการทำงาน, การเลี้ยงดูบุตร, ความสัมพันธ์ในครอบครัว, ความยืดหยุ่นในที่ทำงาน


Abstract

           Women are expected to care for children, do house work, and earn income to support the family. Hence, women tend to have conflicts regarding their roles. When a child is born to a family, the mother (woman) tends to change her working behavior due to several reasons. While some women change work place, and some change to job that does not require frequent traveling, many choose to resign from their full-time job to work part time or become a full-time mother. These changes of working behavior affect women in different ways. This qualitative study aims to better understand the effect from changes in working behavior among women when a child is born to the family. It also hopes to make entry ways for policy recommendations to support women with children to be able to work and provide quality care for their children at the same time. The data used for the analysis is derived from online social network websites and in-depth interviews from a research project “How Families with Children Adapt Their Working Behavior: A Qualitative Study from Online Data” under the project series “Caring for Vulnerable Families in the Social and Demographic Transition” funded by the Thailand Research Fund (now Thailand Science Research and Innovation). The data collection was carried out in consistent with the project period during 2017-2018. The data is analyzed by the qualitative data analysis program NVIVO. The results show that work change affects women psychologically and financially. Changing work behavior also affect women’s relationship with their husbands as well as career advancement. These effects contribute to women’s vulnerability. To mitigate such conflicts and negative effects, this study proposes policy recommendations which include more flexible work hours for women with children, more quality day care centers especially in urban areas, as well as incentives from the government for both private and public sectors to re-hire women who left work due to child care etc.

          Keywords: Changing the way of working when having children, effect from changes in working behavior, parenting, family relationship, flexibility at work

-----------------------------------------

Corresponding Author E-mail :      kanyapat.sut@mahidol.edu