การทดสอบโมเดลความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำแบบให้พลัง พฤติกรรมสร้างนวัตกรรมในที่ทำงาน การเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจิตใจ และบรรทัดฐานองค์การที่สนับสนุน นวัตกรรมในองค์การไทย
Relationships between empowering leadership, innovative work behavior, psychological empowerment, and organizational norms for innovation in Thai organizations

ธนิศรา คงกระพันธ์
นิสิตปริญญาโท สาขาวิชาทรัพยากรมนุษย์และการทำงาน คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดร. เจนนิเฟอร์ ชวโนวานิช
อาจารย์ประจำสาขาวิชาทรัพยากรมนุษย์และการทำงาน คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Thanitsara Kongkrapun
Master Student, Human Resource and Work Psychology, Faculty of Psychology, Chulalongkorn University

Jennifer Chavanovanich, Ph.D.
Human Resource and Work Psychology, Faculty of Psychology, Chulalongkorn University



บทคัดย่อ
          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบให้พลังกับพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมในที่ทำงาน โดยมีการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจิตใจเป็นตัวแปรส่งผ่านและบรรทัดฐานองค์การที่สนับสนุนนวัตกรรมเป็นตัวแปรกำกับ กลุ่มตัวอย่าง เป็นพนักงานที่ปฏิบัติงานในองค์การการสื่อสารโทรคมนาคมภาคเอกชนเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งหมด 233 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ มาตรวัดภาวะผู้นำแบบให้พลัง มาตรวัดพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมในที่ทำงาน มาตรวัดการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจิตใจ และมาตรวัดบรรทัดฐานองค์การที่สนับสนุนนวัตกรรม ตรวจสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบตัวแปรส่งผ่านและตัวแปรกำกับโดยการทดสอบตัวแปรส่งผ่านอย่างมีเงื่อนไข (moderated mediation model) ผ่านโปรแกรมเสริม PROCESS (model14) ใน SPSS ผลการวิจัย พบว่า ภาวะผู้นำแบบให้พลังสามารถทำนายพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมในที่ทำงานได้ในทิศทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจิตใจเป็นตัวแปรส่งผ่านแบบบางส่วน (partial mediation) นอกจากนั้น ผลการวิเคราะห์บรรทัดฐานองค์การที่สนับสนุนนวัตกรรมพบว่าไม่มีอิทธิพลกำกับในความสัมพันธ์ระหว่างการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจิตใจและพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมในที่ทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

          คำสำคัญ : พฤติกรรมสร้างนวัตกรรมในที่ทำงาน, ภาวะผู้นำแบบให้พลัง, การเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจิตใจ, บรรทัดฐานองค์การที่สนับสนุนนวัตกรรม


Abstract

           The research aims to test the relationship between empowering leadership and innovative work behavior by examining the moderated mediation model of psychological empowerment as a mediator and organizational norms for innovation as a moderator at the second stage. A sample of 233 Thai private sector employees in telecommunication firms in Bangkok, Thailand completed measurements of this study. The four research measurements were empowering leadership measurement, innovative work behavior measurement, psychological empowerment measurement, and organizational norms for innovation measurement. The moderated mediation analysis was conducted to test the hypotheses of this study through PROCESS macro (model 14) in SPSS software. The results demonstrated that empowering leadership significantly positively predicted innovative work behavior, p < .05, and psychological empowerment acted as a partial mediator. Additionally, the findings of organizational norms for innovation revealed no statistically significant moderation effect on the association between psychological empowerment and innovative work behavior

          Keywords: Innovative work behavior , Empowering leadership , Psychological empowerment , Organizational Norms for innovation

-----------------------------------------

Corresponding Author E-mail :      Thanitsara.ten@gmail.com