จุดเริ่มต้นของความไม่เป็นทางการ และการถกเถียงเกี่ยวกับการทำให้ไม่เป็นทางการ
The Origins of Informality and the Ongoing Debate about Informalization

ดร.กฤษฎา ธีระโกศลพงศ์
นักวิชาการอิสระ
16 ซอยเพชรเกษม 76 ถนนเพชรเกษม แขวงบางแคเหนือ เขตบางแค กรุงเทพฯ 10160

Kritsada Theerakosonphong, Ph.D.
Independent Scholar
16 Soi Phet Kasem 76, Bang Khae Nuea, Bang Khae, Bangkok, Thailand



บทคัดย่อ
          การศึกษาความไม่เป็นทางการเริ่มต้นครั้งแรกในทศวรรษ 1970 มีผลงานสำคัญทั้งขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ และ Keith Hart เป็นปรากฎการณ์ของการทำความเข้าใจความยากจนและการว่างงานในประเทศโลกที่สาม การเสนอบทความนี้แสดงให้เห็นพัฒนาการ ข้อถกเถียง และสถานะในปัจจุบันของการศึกษาความไม่เป็นทางการ ตัวอย่างของการทำความเข้าใจเศรษฐกิจไม่เป็นทางการไม่ใช่เฉพาะการพิจารณาการจ้างงานไม่เป็นทางการในกิจกรรมทางเศรษฐกิจและหน่วยการผลิตขนาดย่อม แล้วจำแนกให้เป็นแรงงานไม่เป็นทางการหรือแรงงานนอกระบบ แต่การทำความเข้าใจงานและแรงงานต้องพิจารณาคุณลักษณะของงาน ความสัมพันธ์การจ้างงาน รูปแบบของงาน และสถานะการจ้างงาน เพราะยังทำให้สถานะทางอาชีพของแรงงานเหล่านั้นชัดเจน แล้วง่ายต่อการบริหารแรงงานของกระทรวงแรงงาน แต่เรื่องเหล่านี้ถูกละเลยและให้ความสำคัญน้อยกว่าแรงงานทางการ ทั้งที่แรงงานไม่เป็นทางการตามกลุ่มอาชีพต่างๆ หรือแรงงานแพลตฟอร์มล้วนแล้วอยู่ภายใต้ความเสี่ยงเช่นกัน

          คำสำคัญ : ความไม่เป็นทางการ, เศรษฐกิจไม่เป็นทางการ, การทำให้เป็นทางการ, องค์การแรงงานระหว่างประเทศ, รูปแบบของการจ้างงานที่ไม่เป็นมาตรฐาน


Abstract

           The informality emerged in the 1970s with the International Labour Organization (ILO) and Keith Hart's major publication. This was the phenomena through which Third World countries started to comprehend poverty and unemployment. This article presents an overview, debate, and current scenario of informality studies. For instance, the informal economy is defined as all informal employment in economic activities and small production units. They are also classified as informal workers or freelancers. However, understanding work and labour requires taking into consideration work characteristics, employment relations, employment patterns, and employment status, since occupational status is not easily distinguishable by the Ministry of Labour's governance. These challenges have been overlooked and given less weight than formal workers. Indeed, precarity affects informal workers in occupational groupings or platform workers as well.

          Keywords: Informality; Informal economy; Formalization; International Labour Organization; Non-standard form of employment

-----------------------------------------

Corresponding Author E-mail :      Kritsadathe@outlook.com