การศึกษาเปรียบเทียบอิทธิพลความสอดคล้องค่านิยมการทำงานระหว่างบุคคลกับองค์กรต่อความตั้งใจคงสมาชิกภาพกับองค์กรของเจนเนอเรชันวายก่อนและหลังการแพร่ระบาดโควิด 19: นัยด้านทรัพยากรมนุษย์

A Comparative Study of Person-Organization Work Value Fit on Intention to Stay for Generation Y between Pre-and Post COVID-19 Pandemic: Implications for HRM

รองศาสตราจารย์ ดร.สุจินดา โพธิ์ไพฑูรย์
อาจารย์ประจำคณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทัดสุดา อิ่มสุวรรณ
อาจารย์ประจำคณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนชาติ เราประเสริฐ
คณะบริหารธุรกิจและอุตสาหกรรมบริการ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตปราจีนบุรี

ดร.อรวรรณ วรานันตกุล
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา

Assoc. Prof. Sujinda Popaitoon (Ph.D.)
Mahasarakham Business School, Management Research Unit, Mahasarakham University

Asst. Prof. Tudsuda Imsuwan
Mahasarakham Business School, Management Research Unit, Mahasarakham University

Asst. Prof. Tanachart Raoprasert (Ph.D.)
Faculty of Business Administration and Service Industry,
King Mongkut’s University of Technology North Bangkok

Orawan Waranantakul (Ph.D.)
Faculty of Management Sciences, Yala Rajabhat University



บทคัดย่อ
          จากปัญหาการลาออกครั้งยิ่งใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มแรงงานเจนเนอเรชันวายในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) งานวิจัยนี้สะท้อนค่านิยมการทำงานของเจนเนอเรชันวายที่เปลี่ยนแปลงไปและแนวปฏิบัติการจัดการทรัพยากรมนุษย์เพื่อรักษาการคงสมาชิกภาพกับแรงงานเจนเนอเรชันวายภายหลังวิกฤต COVID-19 งานวิจัยเชิงสำรวจนี้เก็บข้อมูลเปรียบเทียบแรงงานเจนเนอเรชันวายก่อนสถานการณ์ COVID-19 ปี พ.ศ.2560 จำนวน 529 คน กับข้อมูลเจนเนอเรชันวายระหว่างสถานการณ์ COVID-19 ปี พ.ศ.2564 จำนวน 228 คน ผลการวิจัยพบว่า ความสอดคล้องค่านิยมการทำงานของแรงงานเจนเนอเรชันวายกับองค์กรต่อความตั้งใจคงสมาชิกภาพกับองค์กร ก่อนและหลังสถานการณ์ COVID-19 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และภายหลังสถานการณ์ COVID-19 องค์กรควรให้ความสำคัญต่อสภาพแวดล้อมการทำงาน โดยคงรูปแบบการทำงานทางไกลหรือผสมผสานและการออกแบบงานด้วยตนเอง ตลอดจนการให้รางวัลในรูปแบบการเพิ่มวันหยุดพักผ่อนและเพิ่มคุณภาพชีวิตและการทำงาน เพื่อรักษาแรงงานเจนเนอเรชันวายให้ทำงานกับองค์กรในฐานะกลุ่มแรงงานที่สำคัญต่อการขับเคลื่อนองค์กรภายหลังสถานการณ์ COVID-19

          คำสำคัญ : เจนเนอเรชั่นวาย, การลาออกครั้งยิ่งใหญ่, ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับองค์กร, ความตั้งใจคงสมาชิกภาพกับองค์กร, การแพร่ระบาดโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่

Abstract

           According to great resignation particularly in generation Y during the COVID-19 pandemic, this research reflects on changing generation Y’s work value and HRM implications for maintaining their intention to stay in organization for post COVID-19. This survey research has compared the data of generation Y’s work value, pre COVID-19 in 2018 (n=529) with those during the COVID-19 in 2021 (n=228). The result shows that the person-organization value fit on intention to stay for the generation Y pre and during COVID-19 are significantly different. In addition, based on the open-ended question, the findings suggest implications for HRM. They should pay more attention to improve work environment with remote or hybrid work and self-work design, and to consider other types of rewards in terms of more holidays and quality of work life to maintain generation Y to stay with companies as their important workforce for post COVID-19.

          Keywords: Generation Y, Great Resignation, Person-Organization Fit, Intention to Stay, COVID-19 Pandemic

-----------------------------------------

Corresponding Author E-mail :     sujinda.p@acc.msu.ac.th