วิถีชีวิตของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน
หลังการถูกเลิกจ้างจากสถานการณ์โควิด-19

วรลักษณ์ วรพักตร์สิริกุล
อาจารย์ประจำภาควิชาธุรกิจการบิน
สถาบันพัฒนาบุคลากรการบิน มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

วันที่ได้รับต้นฉบับบทความ : 27 มกราคม 2566
วันที่แก้ไขปรับปรุงบทความ : 24 พฤษภาคม 2566
วันที่ตอบรับตีพิมพ์บทความ : 22 มิถุนายน 2566

บทคัดย่อ
          การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเรียนรู้และทำความเข้าใจประสบการณ์การถูกเลิกจ้าง รวมถึงการรับมือกับสถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้นอย่างกระทันหันและไม่ได้คาดการณ์ล่วงหน้า อันส่งผลกระทบต่อหน้าที่การงานของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน การศึกษานี้เป็นการศึกษาตามแนวทางของระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฎการณ์วิทยา โดยใช้การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและการสังเกตการณ์ระหว่างการสัมภาษณ์จากผู้ให้ข้อมูล 15 ท่าน ผลที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้ ทำให้สามารถถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับจากประสบการณ์ของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินมาทำความเข้าใจภาวะการถูกเลิกจ้างของพนักงานในสายอาชีพอื่น ๆ ในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้กระบวนการแก่นสาระ สามารถอธิบายภาวะการถูกเลิกจ้างของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินได้ 5 หัวข้อ ก) ปราศจากประสบการณ์ที่คล้ายคลึงกัน สถานการณ์นี้กระทบกระเทือนจิตใจ ข) อะไรจะเกิดขึ้นก็ต้องเกิดขึ้น ค) การสนับสนุนที่มีคุณค่า ง) ท้ายที่สุด ฉันก็รอด จ) คาดการณ์ถึงสิ่งที่ไม่ได้คาดคิด นอกจากนี้ ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลนำมาสู่การอภิปรายข้อมูลเชิงประจักษ์ที่สำคัญ 4 ประเด็น รวมถึงการนำผลการศึกษาไปใช้ในทางปฏิบัติและข้อจำกัดของการศึกษาในครั้งนี้

          คำสำคัญ : การจัดการทรัพยากรมนุษย์, การออกจากองค์การ, ประสบการณ์การถูกเลิกจ้าง, โควิด-19

Lived Experiences of Laid-off
Cabin Crew due to the COVID-19 Pandemic

Voralux Vorapuksirikool
Aviation Personnel Development Institute, Kasem Bundit University

Received : January 27, 2023
Revised : May 24, 2023
Accepted : June 22, 2023

Abstract

           This study examines the lives of cabin crew who were impacted by COVID-19-related layoffs. The purpose of this study is to learn from their experiences that came from an unexpected situation related to their career. This study aims to understand and describe how cabin crew managed themselves after being laid off due to the COVID-19 pandemic. Phenomenology was implemented in this qualitative study using semi-structured interviews and observations of 15 participants. The contribution of this study is to transfer the knowledge regarding the experience of laid-off cabin crew to other employees in other pandemics. By using thematic analysis, five themes emerged; a) without similar experiences, it is shocking, b) whatever will be will be, c) valuable supports, d) finally, I survive, e) expect the unexpected. In addition, resulting from the analysis of data, four important points arose. Practical implications for the study are discussed, as well as limitations in this research.

          Keywords: Human resource management, Employee separation, Laid-off experience, COVID-19

-----------------------------------------

Corresponding Author E-mail :      vvoralux@hotmail.com