ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงาน
ตามบทบาทของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบุรี

สุพจน์ รุ่งเรือง
นักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยประชากรและสังคม
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยลัยมหิดล
รองศาสตราจารย์ ดร.สุรีย์พร พันพึ่ง
อาจารย์ที่ปรึกษาหลักวิทยานิพนธ์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ได้รับต้นฉบับบทความ : 23 สิงหาคม 2566
วันที่แก้ไขปรับปรุงบทความ : 6 ธันวาคม 2566
วันที่ตอบรับตีพิมพ์บทความ : 25 ธันวาคม 2566

บทคัดย่อ
          ระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวจำเป็นต้องมีอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุเพื่อดูแลผู้สูงอายุที่มีสถานะทางสุขภาพแตกต่างกัน ผู้สูงอายุติดเตียงต้องการการดูแลใกล้ชิด ดังนั้นอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุจึงต้องมีทักษะในการดูแลทั้งด้านสุขภาพและสังคม การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์คือ ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานตามบทบาทของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ ในจังหวัดเพชรบุรี ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบเชิงปริมาณ โดยเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์กลุ่มประชากรที่เป็นอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบุรีที่ปฏิบัติหน้าที่ ในปี 2561 จำนวนทั้งสิ้น 678 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีเชิงสถิติพรรณนาและสมการถดถอยเชิงพหุ (Binary Logistic Regression) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05 จากการศึกษาปัจจัยคุณลักษณะทางประชากร ปัจจัยด้านแรงจูงใจ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ปัจจัยจูงใจ ปัจจัยค้ำจุน และปัจจัยสนับสนุน มีผลและสามารถร่วมพยากรณ์ความสำเร็จในการปฏิบัติงานตามบทบาทของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ ได้ร้อยละ 38.5 (R2 = 0.385, p-value < 0.001) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ปัจจัยจูงใจนั้นส่งผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุในทิศทางบวก (1.3 เท่า) ในขณะที่ปัจจัยค้ำจุน และปัจจัยสนับสนุนนั้นไม่ส่งผลทางต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ ดังนั้น ควรมีการจัดการมอบรางวัลหรือประกาศนียบัตรยกย่อง เชิดชูเกียรติเป็นพลังให้กระบวนการของการดูแลผู้สูงอายุเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลดียิ่งขึ้น

          คำสำคัญ : อาสาสมัคร, ผู้สูงอายุ, การดูแลผู้สูงอายุ, บทบาท

Factors Affecting Success in the Performance
of Volunteer Elderly Caregivers in Phetchaburi Province

Suphot Rungruang
Master of Arts in Population and Social Research
Institute for Population and Social Research, Mahidol University
Associate Professor Sureeporn Punpuing, Ph.D.
Thesis advisor, Institute for Population and Social Research, Mahidol University

Received : August 23, 2023
Revised : December 6, 2023
Accepted : December 25, 2023
Abstract

           A long-term care system for the elderly requires volunteer elderly caregivers to care for the elderly with different health statuses and bedridden ones who need close attention. Therefore, a volunteer elderly caregiver needs to be skilled in both health and social care. The purpose of this study was to examine the factors affecting the success in the performance of volunteer elderly caregivers in Phetchaburi Province. A quantitative research methodology was used in this research. The data were obtained through interviews with a sample group of 678 volunteers in charge of providing care to the elderly in Phetchaburi Province in 2018. Data were analyzed using a descriptive statistical method and Binary Logistic Regression with a significance level determined at 0.05. The research focused upon demographic characteristics and motivation factors which are divided into motivation factor, sustaining factor, and supporting factor. It was found that the three factors mentioned above were effective and helped predict success in volunteer elderly caregivers’ performance, with the percentage at 38.5 (R2 = 0.385, p-value < 0.001). When considering each aspect, it was found that motivation had a positive effect on the operational success of volunteer elderly caregivers (1.3 times), while the sustaining and supporting factors did not have a significant effect on the performance success of the volunteer elderly caregivers. Therefore, awards or recognition certificates should be given so as to honor and enhance the care process for the elderly to be more efficient and effective.

          Keywords: Volunteer, Elderly, Elderly caregiving, Role

-----------------------------------------

Corresponding Author E-mail :       kakasang.news@gmail.com