ระบบการอภิบาลของการบริหารแรงงานในประเทศไทย :
ข้อพิจารณาเศรษฐกิจภาคไม่เป็นทางการและรูปแบบของการจ้างงานที่ไม่มีมาตรฐาน

กฤษฎา ธีระโกศลพงศ์
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


วันที่ได้รับต้นฉบับบทความ : 16 ตุลาคม 2566
วันที่แก้ไขปรับปรุงบทความ : 25 มีนาคม 2567
วันที่ตอบรับตีพิมพ์บทความ : 26 มีนาคม 2567

บทคัดย่อ
           บทความนี้เป็นการศึกษาความรู้ทางวิชาการและทบทวนเอกสารที่หลากหลายแหล่ง ผู้เขียนกำหนดจุดตั้งต้นอธิบายกระบวนทัศน์การอภิบาลของการบริหารแรงงานผ่านประเด็นต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการถกเถียงหลักการและคำจำกัดความของสถานะการทำงาน รูปแบบของการจ้างงาน และหน่วยการผลิตทั้งเศรษฐกิจทางการและไม่เป็นทางการตามกรอบแนวทางขององค์การแรงงานระหว่างประเทศและอนุสัญญาฉบับที่ 150 ว่าด้วยการบริหารแรงงาน การบริหารแรงงานใช้เป็นแนวทางสำหรับการเก็บข้อมูลและประมวลสถิติแรงงาน และอภิสิทธิ์ชนข้ามชาติครอบงำประเทศกำลังพัฒนาให้นำไปใช้เป็นแนวทางปฏิบัติเป็นสากล แม้ว่าแนวคิดเศรษฐกิจทวิลักษณ์เป็นแนวทางของเครือข่ายนักวิชาการและองค์กรพัฒนาเอกชนที่ใช้ในประเทศโลกใต้ที่มีเศรษฐกิจภาคไม่เป็นทางการขนาดใหญ่ แตกต่างจากการพิจารณารูปแบบของการจ้างงานที่ไม่มีมาตรฐานในประเทศโลกเหนือ นอกจากนี้ปรากฏการณ์ที่ควรพิจารณา ได้แก่ เครือข่ายการผลิตในห่วงโซ่อุปทานโลก การทำให้เป็นแพลตฟอร์ม และการทำให้เป็นดิจิทัลเกิดขึ้นมาตั้งแต่ทศวรรษ 2540 ส่วนท้ายสุดของบทความใช้การจำแนกสถานะการทำงานและรูปแบบของการจ้างงานในกรณีของแรงงานรับงานไปทำที่บ้านและแรงงานแพลตฟอร์มมาสะท้อนให้เห็นปัญหาของระบบการบริหารแรงงาน

          คำสำคัญ : การบริหารแรงงาน, องค์การแรงงานระหว่างประเทศ, เศรษฐกิจไม่เป็นทางการ, การจ้างงานที่ไม่มีมาตรฐาน


The Governance of Labor Administration in Thailand:
Considering the Informal Economy and Non-Standard Employment Forms

Kritsada Theerakosonphong
Faculty of Social Administration, Thammasat University


Received : October 16, 2023
Revised : March 25, 2024
Accepted : March 26, 2024

Abstract

           This study investigates academic knowledge on the topic and reviews diverse sources. Beginning with the International Labor Organization (ILO) and Labor Administration Convention No. 150, the governance paradigm of labor administration is examined through issues including employment status, work forms, and production units in formal and informal economies to evaluate principles and definitions. A technique is adopted to collect and process labor statistics, while transnational technocrats dominate developing countries, which are forced to adopt internationalist practices. Academics and non-governmental organization (NGO) activists in the global South use the dual economy concept because of the area's substantial informal sector; however, in contrast to the global North, they also take into account non-standard forms of employment. Other phenomena to be considered include the emergence of global supply chains, platformization, and digitalization since 2000. To reflect on labor administration-related issues, employment status and work forms for platform and home-based workers are classified.

          Keywords: Labor administration, International Labor Organization, Informal economy, Non-standard employment

---------------------------------------------------------------------------

Corresponding Author E-mail :       Kritsadathe@outlook.com