การจัดการทรัพยากรมนุษย์ในยุคโควิด-19: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมการบริการ
ขนิษฐา ทองเชื้อ
อาจารย์ประจำสาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สุจินดา โพธิ์ไพฑูรย์
อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการ คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
จารุวรรณ สุภาชัยวัฒน์
อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
|
วันที่ได้รับต้นฉบับบทความ : 11 มีนาคม 2567
วันที่แก้ไขปรับปรุงบทความ : 22 เมษายน 2567
วันที่ตอบรับตีพิมพ์บทความ : 29 เมษายน 2567
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบแนวทางปฏิบัติด้านแรงงานที่ยืดหยุ่นและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถรองรับการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในยุคโควิด-19 ในบริบทของอุตสาหกรรมบริการ งานวิจัยนี้ใช้ทฤษฎี Three global mega-trend (Minbaeva, 2021) เพื่อตอบคำถามวิจัย จากการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจาก 3 กรณีศึกษาของบริษัทสัญชาติไทย บริษัทไทยข้ามชาติ และบริษัทข้ามชาติในประเทศไทย เก็บข้อมูลการวิเคราะห์เบื้องต้นจากผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารและหัวหน้าฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ ที่แตกต่างกัน ผลวิจัยด้วยกรณีศึกษาพบว่า ในช่วงเริ่มต้นของการเกิดวิกฤตบริษัทไทยข้ามชาติ และบริษัทข้ามชาติในไทย มีนโยบายในการปรับลดจำนวนพนักงานและผู้บริหารระดับสูง เพื่อลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ เมื่อสถานการณ์โควิด - 19 เริ่มคลี่คลาย ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ได้วางระบบการพัฒนาทักษะพนักงานในองค์กรให้มีความก้าวหน้าในอาชีพ ในขณะเดียวกันบริษัทสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดวิกฤตอย่างไรก็ไม่มีนโยบายปรับลดจำนวนพนักงาน นอกจากนี้ทั้งสามกรณีศึกษาใช้หลักการหมุนเวียนงาน เพื่อพัฒนาทักษะของพนักงานให้สามารถทำงานได้หลากหลายตำแหน่ง ปรับรูปแบบการทำงานเป็นในลักษณะแบบไฮบริด เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นมากขึ้น และนำเทคโนโลยีเข้ามาให้ผู้บริหารใช้ตรวจสอบการทำงานของพนักงานผ่านระบบออนไลน์ได้ มากไปกว่านั้น ผลการวิจัยพบประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติด้านแรงงานที่ยืดหยุ่น ความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน และการปรับรูปแบบการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของผู้บริหารอยู่ภายใต้เงื่อนไขการตัดสินใจการลงทุนเกี่ยวกับพนักงานและเทคโนโลยี ต้องสอดคล้องกับนโยบายการจัดการทรัพยากรมนุษย์และสถานการณ์ทางการเงินในขณะนั้น
คำสำคัญ :
โควิด-19, การจัดการทรัพยากรมนุษย์, การทำงานแบบยืดหยุ่น, ความเป็นอยู่ที่ดี, ดิจิทัลไลเซชั่น, อุตสาหกรรมการบริการ
|
Human Resource Management in COVID-19:
Case Study Research in Hospitality Industry
Kanitha Thongchai
Lecturer in Tourism and Hotel, Faculty of Social Sciences and Humanities,
North Eastern University
Sujinda Popaitoon
Associate Professor of Management, Mahasarakham Business School,
Mahasarakham University
Jaruwan Supachaiwat
Lecturer in Management, Faculty of Business Administration and Accountancy,
Roi Et Rajabphat University
|
Received : March 11, 2024
Revised : April 22, 2024
Accepted : April 29, 2024
Abstract
This research aims to examine flexible labor practices and employee well-being to ensure they can support human resource management in the COVID-19 era. In the context of the service industry. This research uses the three global megatrends (Minbaeva, 2021) to answer these questions. Based on three selected case studies in Thai MNCs, Tradition Thai, and MNCs in Thailand, a preliminary analysis of the data significantly significant differences between senior executives and HR managers. The findings from case study research show that the beginning of the crisis for Thai MNCs and MNCs in Thailand was a policy to reduce the number of employees and senior executives in order to reduce business operating costs. At the same time, traditional Thai No matter how the crisis occurs, there is no policy to reduce the number of employees. In addition, all three case studies use the principle of job rotation to develop employees' skills so they can work in a variety of positions. Adjust the work style to a hybrid model to provide more flexibility. and bring in technology for executives to use to monitor employees' work through an online system. Moreover, this research finds interesting issues in flexible workforces and employee well-being, and executives' human resource management model adjustments are conditioned on investment decisions regarding employees and technology. Must be consistent with the human resource management policy and financial situation at that time.
Keywords:
COVID-19, Human Resource Management, Flexible Work, Well-being, Digitalization, Hospitality Industry
---------------------------------------------------------------------------
Corresponding Author E-mail : Jaruwan.baac@reru.ac.th |