การใช้อำนาจในสถานการณ์ฉุกเฉินของต่างประเทศ กรณีศึกษา โรคระบาด*

วุฒิชัย ประทุมวัลย์
นักศึกษาระดับปริญญาเอก คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


วันที่ได้รับต้นฉบับบทความ : 25 กรกฎาคม 2567
วันที่แก้ไขปรับปรุงบทความ : 2 พฤศจิกายน 2567
วันที่ตอบรับตีพิมพ์บทความ : 2 พฤศจิกายน 2567

บทคัดย่อ
           บทความวิจัยนี้ มุ่งนำเสนอให้เห็นถึงรูปแบบและมาตรฐานกลางของต่างประเทศ ในการนำระบบกฎหมายพิเศษว่าด้วยสถานการณ์ฉุกเฉินสาธารณะมาใช้บังคับ ซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยผ่านการศึกษาวิจัยเอกสารเป็นหลัก
           จากการศึกษาพบว่า ในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อให้เกิดสภาวะยกเว้นในแต่ละประเทศนั้นมีแนวคิดและพัฒนาการทางสังคมที่แตกต่างกัน โดยสะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างบริบทของสังคมและกฎหมาย แยกออกเป็น 2 ลักษณะ คือ 1) ประเทศที่มีกฎหมายกำหนดสภาวะยกเว้นไว้ในกฎหมายระดับรัฐธรรมนูญ ได้แก่ ประเทศฝรั่งเศส สมาพันธ์รัฐเยอรมนี และ สาธารณรัฐประชาชนจีน 2) การกำหนดเรื่องสภาวะยกเว้นไว้ในกฎหมายทั่วไป คือ ประเทศอังกฤษ สมาพันธ์รัฐสวิส และ ประเทศนิวซีแลนด์ โดยมีแนวทางการวิเคราะห์ผ่าน 4 ประการได้แก่ เงื่อนไขที่เกี่ยวข้องในการใช้อำนาจพิเศษ, ระยะเวลาในการบังคับใช้, การควบคุมตรวจสอบ และ สถานการณ์ฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุข

          คำสำคัญ : อำนาจรัฐ, สถานการณ์ฉุกเฉิน, โรคระบาด

* บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์ เรื่อง อำนาจรัฐและกลไกการตรวจสอบ: ศึกษากรณีการควบคุมโรคระบาด ซึ่งเป็นการศึกษาในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารกระบวนการยุติธรรม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ปกป้อง ศรีสนิท เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา


Utilizing power in an emergency situation of foreign countries:
A Case Study of Epidemic Diseases

Vutichai Pratoomwan
Faculty of Law Thammasat University


Received : July 25, 2024
Revised : November 2, 2024
Accepted : November 2, 2024

Abstract

           This research article aims to examine the patterns and international standards in special legal systems regarding public emergency situations, focusing primarily on qualitative research through document analysis.
           The study reveals that in emergency situations, the establishment of exceptional conditions in each country reflects the relationship between societal characteristics and law, which can be divided into two main categories: 1) studies with laws defining exceptional conditions, including considerations of legislation at that level, such as the federation of state enterprises and public opinion in China; 2) the regulation of general laws in exceptional circumstances, exemplified by the frequency of regulations in the Swiss Confederation and New Zealand, and research programs addressing public demands in China. This includes four aspects: conditions related to special powers, the spirit of data collection, oversight, and public health emergency situations.

          Keywords: State Power, Emergency Situation, Epidemic

---------------------------------------------------------------------------

Corresponding Author E-mail :       dome929@gmail.com