วันที่ได้รับต้นฉบับบทความ : 8 ตุลาคม 2567
วันที่แก้ไขปรับปรุงบทความ : 2 ธันวาคม 2567
วันที่ตอบรับตีพิมพ์บทความ : 3 ธันวาคม 2567
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบของการส่งเสริมพื้นที่ปลอดภัยทางจิตใจในที่ทำงานต่อความผูกพันของบุคลากรและการเป็นองค์กรแห่งความสุขของระบบราชการไทย ผลการวิจัย พบว่า บุคลากรภาครัฐไทยส่วนใหญ่มีพื้นที่ปลอดภัยทางจิตใจในที่ทำงานทั้งกับเพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน และทีมทำงานในระดับมาก ซึ่งพื้นที่ปลอดภัยทางจิตใจนั้นต่างเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างความผูกพันของบุคลากร และเมื่อบุคลากรมีความผูกพันย่อมนำไปสู่การเป็นองค์กรแห่งความสุขด้วยเช่นกัน ดังนั้น หน่วยงานภาครัฐจึงควรสร้างความตระหนักและกำหนดนโยบายในการสร้างพื้นที่ปลอดภัยทางจิตใจในที่ทำงานให้เป็นนโยบายหลักในด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรในองค์กร การเสริมสร้างทัศนคติที่เปิดกว้างต่อการรับฟังความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชา การส่งเสริมวัฒนธรรมการทำงานภายในทีมเป็นพื้นที่ปลอดภัยทางจิตใจผ่านการแสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอหรือสร้างสรรค์นวัตกรรมร่วมกันให้เกิดขึ้น ตลอดจนผู้บริหารส่วนราชการและผู้รับผิดชอบการบริหารและพัฒนาบุคลากรทุกแห่ง ควรกำหนดโจทย์การสร้างพื้นที่ปลอดภัยทางจิตใจในลักษณะระบบนิเวศพื้นที่ปลอดภัยทางจิตใจ เป็นนโยบายหลักในการบริหารงานองค์กรให้เกิดประสิทธิภาพต่อไป
คำสำคัญ :
พื้นที่ปลอดภัยทางจิตใจ, ความผูกพันของบุคลากร, องค์กรแห่งความสุข
|
Received : October 8, 2024
Revised : December 2, 2024
Accepted : December 3, 2024
Abstract
This research aims to investigate and analyze the impact of promoting psychologically safety in the workplace on employee engagement and the establishment of a happy organization within the Thai public sector. The findings indicate that most Thai government employees experience a high level of psychological safety with colleagues, supervisors, and teams. This psychological safety serves as a significant factor in fostering employee engagement, which in turn contributes to the creation of a happy organization. Consequently, public agencies should recognize and prioritize policies that promote psychologically safe workplaces as a core aspect of human resource management. This includes enhancing interpersonal relationships among staff, fostering an open attitude towards feedback from subordinates, promoting a team culture that encourages expression and collaboration in innovation, and establishing a systematic approach to creating an ecosystem of psychological safety as a fundamental policy for effective organizational management.
Keywords:
Psychological Safety, Employee Engagement, Happy Workplace
---------------------------------------------------------------------------
Corresponding Author E-mail : sunisa.mpa@gmail.com |