วารสาร HRintelligence ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 กรกฏาคม – ธันวาคม 2549

  ปัจจัยด้านนักเรียน ด้านครอบครัว และด้านโรงเรียนที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
  Effect of student factors, family factors, and school factors on the students’ academic achievement at Islamic Private schools in the three southern border provinces of Thailand

  เกษตรชัย และหีม

บทคัดย่อ
          การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 720 คน ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ประจำปีการศึกษา 2547 โดยการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกับปัจจัยด้านนักเรียน ปัจจัยด้านครอบครัว และปัจจัยด้านโรงเรียนด้วยการทดสอบไคสแควร์ และวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการทดสอบสัมประสิทธิ์ถดถอยโลจิสติก พบว่าการเรียนพิเศษ การสนับสนุนการเรียนของผู้ปกครอง การปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน บรรยากาศในชั้นเรียน และคุณภาพการสอนของครูส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งนักเรียนที่มีโอกาสจะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงเป็นนักเรียนที่เรียนพิเศษ (3.483 เท่า) ครอบครัวให้การสนับสนุนการเรียนในระดับมากและปานกลาง (2.028, 1.487 เท่า) เรียนในห้องเรียนที่มีบรรยากาศดี (1.914 เท่า) มีการปฏิสัมพันธ์กับครูในระดับมากและปานกลาง (5.942, 3.230 เท่า) และเรียนกับครูที่มีคุณภาพการสอนในระดับมาก (3.075 เท่า)

Abstract
            This study uses a statistical model for students’ academicac achievement at Islamic private schools in the three southern border provinces of Thailand. A total of 720 Mathayomsuksa 6 students at Islamic private schools in the academic year 2004 were interviewed to collect relevant data. Pearson’s chi-squared test was used to assess the associations between the outcome of academic achievement  and various student factors, family factors, and school factors determinants. Multivariate analyses were performed to investigate independent associations between the predictor variables and the outcome using a logistic regression method. We found that the association with the outcome of academic achievement was statistically significant for special study, parents’ education encouragement, interaction between teachers and students, classroom atmosphere, and teacher’s teaching quality. The opportunities of student for high academic achievement were student who special study (3.483 times), high and separate level of parents’ education encouragement (2.028, and 1.487 times), study in good classroom atmosphere (1.914 times), high and separate level of interaction between teachers and students (5.942 and 3.230 times), and study with high teacher’s teaching quality (3.075 times).