วารสาร HRintelligence ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2552

  ปฏิสัมพันธ์ระหว่างงานและครอบครัวของพยาบาลวิชาชีพ
  Work-Family Interaction of Registered Nurses

  เกษมสิษฐ์ แก้วเกียรติคุณ

บทคัดย่อ
          การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างงานกับครอบครัวของพยาบาลวิชาชีพ และเพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อปฏิสัมพันธ์ระหว่างงานกับครอบครัว ความพึงพอใจในการทำงาน และความพึงพอใจในครอบครัวของพยาบาลวิชาชีพ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณระหว่างเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน 2551 ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ในกลุ่มตัวอย่างที่เลือกโดยวิธีสุ่มแบบง่ายจากพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร จำนวน 576 คน และทำการวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้างด้วยโปรแกรม LISREL
          ผลการศึกษาพบว่า พยาบาลวิชาชีพมีระดับความขัดแย้งจากงานต่อครอบครัวสูงกว่าความขัดแย้งจากครอบครัวต่องาน และระดับปฏิสัมพันธ์ด้านบวกสูงกว่าปฏิสัมพันธ์ด้านลบ ตัวแบบสมการโครงสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างงานกับครอบครัวของพยาบาลวิชาชีพที่พัฒนาขึ้นเป็นโมเดลที่มีคุณภาพสูง เนื่องจากมีความสอดคล้องกลมกลืนของตัวแบบตามสมมติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และการประเมินความสามารถของตัวแปรสังเกตได้ที่ใช้วัดตัวแปรแฝงทุกตัวในตัวแบบมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาบ่งชี้ว่าทรัพยากรจากงานและทรัพยากรจากครอบครัวมีผลต่อการสนับสนุนจากงานต่อครอบครัวและการสนับสนุนจากครอบครัวต่องาน แต่มีผลต่อความขัดแย้งจากงานต่อครอบครัวและความขัดแย้งจากครอบครัวต่องานในทางผกผัน นอกจากนั้นยังพบว่าการสนับสนุนจากงานต่อครอบครัวและการสนับสนุนจากครอบครัวต่องานยังก่อให้เกิดความพึงพอใจในการทำงานและความพึงพอใจในครอบครัวของพยาบาลวิชาชีพ แต่ความขัดแย้งจากงานต่อครอบครัวและความขัดแย้งจากครอบครัวต่องานกลับส่งผลต่อความพึงพอใจในการทำงานและความพึงพอใจในครอบครัวของพยาบาลวิชาชีพในทางผกผัน อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษานี้กลับพบว่าอุปสงค์ของงานและอุปสงค์ของครอบครัวส่งผลต่อความขัดแย้งจากครอบครัวต่องานในทางผกผัน ซึ่งแตกต่างจากการศึกษาที่ผ่านมา

Abstract
            The purpose of this study was to examine work-family interaction, causal effects on work-family interaction, job satisfaction and family satisfaction in Thai registered nurses. The study was designed as quantitative research from October to November 2008. The 576 samples were simple random sampling from registered nurses working in hospitals under the jurisdiction of Medial Service Department, Bangkok Metropolitan Administration. The structural equation model was developed by LISREL program.
            The study revealed that registered nurses reported significantly greater work-family conflict than family-work conflict, and greater positive work-family interaction than negative work-family interaction. The work-family interaction model was a high quality model because the model was fit to empirical data and all observational variables were significantly related to latent variables. The work-family interaction model showed work and family resource favorably effect work-family facilitation and family-work facilitation in the supportive way, but inversely effect work-family conflict and family-work conflict. Moreover, work-family facilitation and family-work facilitation produced nurses’job and family satisfaction. But work-family conflict and family-work conflict inversely led to nurses’ job and family satisfaction. This study, however, found that work and family demand gave inverse effect to family-work conflict, which was different from previous studies.