วารสาร HRintelligence ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2552

  บทบาทของแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อภาวะจิตลักษณะของบุคลากรในองค์การที่บริหารจัดการโดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
  The Effect of the Sufficiency Economy on the Psychological Trait to the Employee in the Sufficiency Economy Management Organization

  ธีระศักดิ์ กำบรรณารักษ์, ทิพย์สุดา เมธีพลกุล, ทัณฑิกา เทพสุริยวงศ์, บุรชัย อัศวทวีบุญ

บทคัดย่อ
          การวิจัยเรื่อง “บทบาทของแนวคิดเศรษบกิจพอเพียงที่มีต่อภาวะจิตลักษณะของบุคลากรในองค์การที่บริหารจัดการโดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง” มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอบทบาทและแนวคิดเศรษบกิจพอเพียงในสังคมไทยตลอดจนการประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในองค์การ และเพื่อศึภษาภาวะจิตลักษณะของบุคคลที่ปฏิบัติงานในองค์การที่บริหารจัดการโดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเปรียบเทียบกับภาวะจิตลักษณะของบุคคลที่ปฏิบัติงานในองค์การที่บริหารจัดการโดยใช้แนวคิดอื่น
          กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรในองค์การที่บริหารจัดการโดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและบุคลากรในองค์การที่บริหารจัดการโดยใช้แนวคิดอื่น จำนวน 400 คน โดยผู้วิจัยได้รับแบบสอบถามคืนจำนวน 375 ชุด คิดเป็นร้อยละ 93.8
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย แบบสอบถามวัดการประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและ แบบสอบถามวัดภาวะจิตลักษณะ ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .813 และ .707 ตามลำดับ           สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ค่าความถี่ร้อยละ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทำการทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบว่า t (t-test) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า
          1. บุคลากรในองค์การที่บริหารจัดการโดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมีการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงทั้งในระดับบุคคลและระดับองค์การ มากกว่าบุคลากรในองค์การที่บริหารจัดการโดยใช้แนวคิดอื่น
          2. บุคลากรในองค์การที่บริหารจัดการโดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมีการประยุกต์ใช้เศรษบกิจพอเพียงด้านความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกัน และความพอเพียงโดยรวมมากกว่าบุคลากรในองค์การที่บริหารจัดการโดยใช้แนวคิดอื่น แต่ไม่พบความแตกต่างของทั้งสองกลุ่มในปัจจัยด้านความพอประมาณ
          3. บุคลากรในองค์การที่บริหารจัดการโดยใช้แนวคิดเศรษบกิจพอเพียงมีภาวะจิตลักษณะด้านการมุ่งอนาคต-ควบคุมตน การรับรู้ความสามารถของตนเองต่ำกว่าบุคลากรในองค์การที่บริหารจัดการโดยใช้แนวคิดอื่น แต่ไม่พบความแตกต่างของทั้งสองกลุ่มในภาวะจิตลักษณะด้านบุคลิกภาพแบบมาคิอาเวลเลียน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความเชื่อมั่นในอำนาจแห่งตน ด้านเหตุผลเชิงจริยธรรม และภาวะจิตลักษณะโดยรวม
          4. ปัจจัยแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงโดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะจิตลักษณะโดยรวม
          5. ภาวะจิตลักษณะด้านมุ่งอนาคต-ควบคุมตน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพอเพียงในระดับบุคคลความพอประมาณ การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว และปัจจัยรวมขอแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับความพอเพียงในระดับองค์การและความมีเหตุผล
          6. ภาวะจิตลักษณะด้านการรับรู้ความสามารถของตนเองมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพอเพียงระดับบุคคล ความพอประมาณ และปัจจัยรวม อีกทั้งยังมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความมีเตหุผล และการมีภูมิคุ้มกัน แต่ไม่พบความสัมพันธ์กับความพอเพียงในระดับองค์การ
          7. ภาวะจิตลักษณะด้านบุคลิกภาพแบบมาคิอาเวลเลียน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับปัจจัยด้านความพอเพียงระดับองค์การ ความพอประมาณ และปัจจัยรวม รวมถึงมีความสัมพันธ์กับความพอเพียงระดับบุคคล และความมีเหตุผล แต่ไม่พบความสัมพันธ์กับการมีภูมิคุ้มกัน
          8. ภาวะจิตลักษณะด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ไม่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยใดๆ ของแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
          9. ภาวะจิตลักษณะด้านความเชื่อมั่นในอำนาจแห่งตนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับทุกปัจจัยของแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
          10. ภาวะจิตลักษณะด้านเหตุผลเชิงจริยธรรม มีความสัมพันธ์กับความพอเพียงในระดับองค์การ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกัน และปัจจัยรวม แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับความพอเพียงระดับบุคคล
          11. ภาวะจิตลักษณะโดยรวม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับทุกปัจจัยของเศรษฐกิจพอเพียง

Abstract
            The purpose of this research is to present the role and concept of the sufficiency economy in Thai society and the application of this concept to organizations. Furthermore, this research will also study psychological traits and make comparison between personnel who work in sufficiency economy organizations and organizations which are managed by other concepts.
           The samples used are from 400 personnel employed by organizations which have embraced the sufficiency economy concept as well as other organizations the do not rely upon te sufficiency economy system. For 93.8% of the samples were obtained by 375 questionnaires distributed to these companies. The questionnaires consisted of 3 parts which are demographic information, assessment of sufficiency economy concept applications and measurement of psychological traits (reliabilities of these measurements in parts and 3 are .813 and .707 , respectively)
           Statistical analysis methods used in this study include frequency distribution, percentage, arithmetic mean, standard deviation, t-test analysis and Pearson product moment correlation. The results of statistical analysis are as follows:
           1. Personnel who worked in the sufficiency economy concept organizations apply th concept at individual and organizational levels more than personnel who work in non-sufficiency economy organizations.
           2. Personnel who work in the sufficiency economy concept organizations apply the sufficiency economy concept to rational factors, immunity factors and overall sufficiency economy factors more than personnel who work in non-sufficiency economy organizations. However, there are not significant differences between the two groups in the abstinence factor.
           3. Personnel who worked in the sufficiency economy concept organizations had less Future oriented-Self Control, Self efficacy psychological traits than personnel who work in other organizations. On the other hand, there were not significant differences between the two groups in Machiavellian personality, need for achievement, internal locus of control, ethical retionalization and overall psychological traits.
           4. There were positive relationships between overall sufficiency economy concept and overall psychological traits.
           5. There were positive relationships between future oriented-self control and individual levels of sufficiency economy, asstinence, immunity and overall sufficiency economy. In contrast to Future oriented-Self Control not correlated with organizational level of sufficiency economy and rational.
           6. Self efficacy associated positively with individual levels of sufficiency economy, abstinence and However, this was not the case with Self efficacy not correlated with organizational level of sufficiency economy.
           7. There were negative relationships between Machiavellian personality and organizational level of sufficiency economy abstinence and overall sufficiency economy. Furthermore, there were correlations with indivudual levels of sufficiency economy and rational. Nevertheless, these were not correlated with immunity.
           8. None of sufficiency economy factor correlated with the need for achievement.
           9. Internal locus of control correlated positively with all factors of sufficiency economy.
           10. There were positive relationships between ethical rationalization that related to these factors of sufficiency economy: organizational level of sufficiency economy, abstinence, rational, immunity and overall sufficiency economy except for individual levels of sufficiency economy.
           11. All factors of sufficiency economy had a positive correlation with overall psychological traits.